MBA Gossip

  • ข้าวผัดหมู - *เครื่องปรุง* 1. ข้าวสวย ¾ ถ้วยตวง 2. หมูสับ 50 กรัม 3. หมูแฮมหั่นเป็นเส้นฝอย 3 แผ่น 4. หมูยอหั่นเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า 1 ช้อนโต๊ะ 5. กระเทีย...
    7 ปีที่ผ่านมา
  • ปวดหลัง - * อาการปวดหลังร่วมกับแขนขาชาไม่มีแรง* กลั้นปัสสาวะและอุจจาระไม่ได้ ซึ่งลักษณะอาการดังกล่าวเป็นไปได้ว่าไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ ทางที่ดีควรรีบปรึก...
    7 ปีที่ผ่านมา
  • เพื่อนแพง - พุทธศักราช 2476 นาข้าวชูรวงทองเหลืองอร่ามเต็มท้องทุ่งบ้านสร้าง อำเภอหนึ่งในจังหวัดปราจีนบุรี เสียงควบขี่ไอ้เปลี่ยว ควายคู่ใจของ ไอ้ลอ (ศุกลวัฒน์ คณารศ)...
    8 ปีที่ผ่านมา
Custom Search
วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556

หลักการตลาดแบบ 4P และ แนวคิดในการทำการตลาดในรูปแบบ 4 C’s

หลักการตลาดแบบ 4P
การตลาดแบบ 4 P’s นั้นเป็นแนวคิดทางการตลาดที่ให้ความสำคัญกับมุมมองของผู้ผลิตเป็นหลัก ส่วนประสมการตลาด (Marketing Mix) แบบ 4P’s นั้นถูกนำไปขยายจนกลายเป็นกลยุทธ์ที่สร้างขึ้นเพื่อทำให้ผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายอยู่รอดเป็นหลัก หลักการคิดกลยุทธ์นั้นมีฐานความคิดดังต่อไปนี้

ด้านสินค้า (Product) โรงงานหรือผู้ผลิตนั้นคิดว่าควรจะผลิตสินค้าอะไรป้อนเข้าสู่ตลาด โดยที่สินค้าที่ผลิตขึ้นมานั้นจะเป็นสินค้าที่สามารถขายได้ และเพื่อที่จะทำให้กระบวนการผลิตดำเนินไปได้โดยไม่ติดขัด ไม่ขาดตอน

ด้านราคา (Price) การกำหนดราคาขาย จะถูกตั้งเพื่อให้ได้ราคาที่จะทำให้โรงงานผลิตสินค้าโดยไม่ขาดทุน ในขณะที่ผู้ขายสินค้านั้นก็ต้องคิดว่าควรจะบวกราคาเพิ่มเท่าไรถึงจะ ทำให้ตัวเองสามารถอยู่รอดได้

ด้านการจัดจำหน่าย (Place) ทั้งโรงงานและผู้ขายมองภาพว่ากระจายสินค้านั้นควรจะกระจายไปสู่จุดขายให้ได้มากที่สุดเพื่อที่จะทำให้ผู้บริโภคเห็นสินค้าและจะเข้ามาซื้อสินค้า

ด้านการส่งเสริมการขาย (Promotion) การสร้างกลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดนั้นจะเน้นที่การบอกกล่าวให้ผู้บริโภคได้รับรู้ว่าตอนนี้มีสินค้าอยู่ใดบ้างที่วางขายในตลาด การลด แลกแจก แถม นั้นถือได้ว่าเป็นเครื่องมือหลักที่ใช้กระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจซื้อ
แนวคิดในการทำการตลาดในรูปแบบ 4 C’s

ความต้องการของผู้บริโภค (Consumer Wants and Needs) แทนที่จะผลิตอะไรก็ได้ที่ขายได้ เราคงต้องผลิตอะไรที่ผู้บริโภคต้องการมากกว่า เพราะปลาที่เราเคยคิดว่าหย่อนเหยื่ออะไรไปก็จะฮุบเสียหมดนั้นได้เรียนรู้แล้วว่าพวกเขาควรจะฮุบเหยื่ออะไร และแบบไหน สินค้าที่ผลิตออกมานั้นควรจะสินค้าที่ผู้บริโภคจะซื้อใช้เพื่อแก้ปัญหาการอยู่รอดของพวกเขา (Consumer Solution) แทนที่จะเป็นการอยู่รอดของผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่าย

ต้นทุนของผู้บริโภค (Consumer’s Cost to Satisfy)
แนวคิดการตั้งราคาเพื่อให้ผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายอยู่รอดนั้นต้องเปลี่ยนไปเป็นการตั้งราคาโดยการพิจาราณาถึงต้นทุนของผู้บริโภคที่ต้องจ่ายเพื่อที่จะให้ได้สินค้ามาใช้ ซึ่งการตั้งราคานั้นต้องคำนวณถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ผู้บริโภคต้องจ่ายออกไปก่อนที่จะจ่ายเงินซื้อสินค้า ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายในเรื่องการเดินทาง ค่าจอดรถ ค่าเสียเวลา เป็นต้น

ความสะดวกในการซื้อ (Convenience to buy)
การกระจายสินค้าในทุกๆ จุดขายที่เป็นไปได้ โดยคิดว่าหากจุดขายสินค้ามีมากจะผู้บริโภคจะซื้อนั้นก็เป็นเรื่องที่หลงสมัยไปแล้ว ช่องทางการจัดหน่ายสมัยใหม่นั้นต้องคิดว่าจะเพิ่มความสะดวกในการซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภคได้อย่างไร เพราะในตอนนี้ผู้บริโภคจะเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะซื้อที่ไหน ซื้อมากเท่าไร และซื้อเวลาใด มากกว่าการซื้อตามช่องทางที่ถูกกาหนดขึ้นจากผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่าย

การสื่อสาร (Communication)
วิธีการสื่อสารนั้นแทนที่จะใช้สื่อเพื่อการกระตุ้นการตัดสินใจซื้อแบบในอดีตที่เคยประสบความสำเร็จ แต่วันนี้การสื่อสารต้องมองว่าทั้งสื่อและสารใดที่ผู้บริโภคจะรับฟัง การตลาดวันนี้ไม่ใช่ว่าผู้บริโภคจะยอมฟังในสิ่งที่เราต้องการจะพูดดังเช่นเดิม แต่วันนี้ผู้บริโภคเลือกที่จะฟังและไม่ฟัง เลือกที่จะเชื่อและไม่เชื่อ ดังนั้นการส่งเสริมการตลาดจึงควรหันมาให้ความสำคัญในเรื่องการสื่อสารมากกว่าการลดแลกแจก แถมแต่ให้ความสำคัญในการสร้างเรื่องราวสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ ผ่านสื่อที่ผู้บริโภครับฟังมากกว่า
 วรูม (Victor H.Vroom) เป็นนักจิตวิทยาในกลุ่มพุทธินิยม (Cognitive Psychology) ที่ศึกษาวิจัยการทำงานของคนในโรงงานอุตสาหกรรม และได้สร้างทฤษฎีความคาดหวังไว้ตั้งแต่ปี ค.ศ.1964 แม้คำอธิบายในทฤษฎีของวรูมอาจจะยังมีความไม่สมบูรณ์ แต่ก็พบว่าเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่ทำให้มีการวิจัยต่อเนื่องมาอีกมากในเรื่องแรงจูงใจในการทำงานของคนงานในโรงงานอุตสาหกรรม นักจิตวิทยาในกลุ่มพุทธินิยมนี้เชื่อในเรื่องของความคิดของบุคคลว่าเป็นส่วนสำคัญในการทำใหเกิดแรงจูงใจต่อพฤติกรรม หรือการกระทำ แม้จะมีเรื่องของผลรางวัลหรือสิ่งเร้าภายนอกตัวเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจคือความคิดของบุคคล นักจิตวิทยาบางคนในกลุ่มนี้ศึกษาเรื่องการวางแผน บางคนศึกษาเรื่องการตั้งเป้าหมาย แต่สำหรับวรูมจะเน้นศึกษาเรื่องความคาดหวัง
          คำอธิบายของวรูมเน้นใน 2 เรื่องด้วยกัน คือเรื่องค่านิยมในงานว่าทำงานแล้วคาดหวังว่าจะได้อะไร เช่น ทำงานให้ดี เพื่อหวังจะได้รับเงินเดือนเพิ่ม หรือบางคนหวังได้รับคำยกย่อง ในที่นี้เงินและคำยกย่องเป็นค่านิยม และอีกเรื่องที่เน้นคือแรงจูงใจซึ่งกำหนดทิศทางการกระทำเพื่อให้ได้ตามค่านิยมของตน คือคาดหวังว่าจะได้ตามค่านิยม เป็นแรงจูงใจให้บุคคลใช้ความพยายามกระทำให้สำเร็จ และความสำเร็จของงานเกิดจากความพยายามบวกกับความสามารถของตน จากคำอธิบายดังกล่าวนี้ หลายคนเห็นว่าวรูมเน้นที่สิ่งจูงใจจากภายนอก คือความคาดหวังที่จะได้รับรางวัล ได้รับการยกย่อง ได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้น ฯลฯ แต่ถ้ามองทัศนะของกลุ่มพุทธินิยม กลุ่มนี้จะกล่าวว่า ความคาดหวังซึ่งเป็นความคิดของบุคคล เป็นจุดสำคัญของแรงจูงใจ
          การศึกษาของวรูมนับว่าเป็นประโยชน์และเป็นจุดเริ่มต้นให้มีการศึกษาค้นคว้าเรื่องแรงจูงใจในการทำงานอีกมาก ตัวอย่างการศึกษาที่น่าสนใจ เช่น ในปี ค.ศ.1976 กาลเบรธ และคัมมิงส์ ได้นำวิธีการของเขาไปศึกษาการทำงานของคนงานคุมเครื่องจักรในโรงงานการผลิตเครื่องจักร พบว่าการที่คนงานทำงานสำเร็จได้ด้วยดีนั้น มีทั้งแรงจูงใจภายในและภายนอก แรงจูงใจภายนอกก็คือรางวัลหรือค่าตอบแทนเพิ่ม ส่วนแรงจูงใจภายในคือความรู้สึกพึงพอใจที่ได้รับความสำเร็จ และในปีเดียวกันนักวิจัยชื้อลอว์เลอร์และพอร์ตเตอร์ ได้นำวิธีการของวรูมไปศึกษากลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้จัดการฝ่ายบุคคลในองค์การ ได้พบปัจจัยที่ส่งผลสู่ความสำเร็จของงานเพิ่มเติมจากที่วรูมได้ทำการศึกษาไว้ โดยวรูมได้กล่าวถึงปัจัย 2 ตัว คือ ความพยายามกับความสามารถที่เมื่อผนวกกันเข้าก็ทำให้งานสำเร็จ แต่ลอว์เลอร์และพอร์ตเตอร์ได้พบจากการศึกษาวิจัยของเขาว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้คนงานทำงานสำเร็จ ประกอบด้วย ความพยายาม ความสามารถ และการรับรู้บทบาท คือการที่บุคคลรับรู้บทบาท ซึ่งได้แก่การเข้าใจงานในหน้าที่ของตน จะเป็นส่วนหนึ่งที่เป็นแรงจูงใจให้ทำงานสำเร็จ นอกจากนั้นลอว์เลอร์และพอร์ตเตอร์ ยังเสนอแนะไว้ในการศึกษาของเขาว่า ในการให้รางวัลแก่ผู้ปฏิบัติ ควรเป็นไปโดยสัมพันธ์สอดคล้องกับความพยายามที่ผู้ปฏิบัติงานได้ลงทุนลงแรงในงานนั้นๆ
          แนวคิดในทฤษฎีของวรูม สรุปได้ว่า แรงจูงใจในการทำงานของบุคคล เกิดจาความคิดของบุคคลในการตั้งความคาดหวังในสิ่งที่กระทำ ซึ่งความคาดหวังนั้นมักเป็นไปตามค่านิยมของตน ทำให้บุคคลพยายามทำให้ได้ หากสิ่งที่พยายามสอดคล้องกับความสามารถด้วย ก็จะเป็นแรงจูงใจที่เข้มข้นสำหรับบุคคล นอกจากนั้น ผลการศึกษาต่อเนื่องจากวรูมก็ช่วยสนับสนุนแนวคิดดังกล่าว และยังได้ข้อสรุปเพิ่มขึ้นจากการที่บุคคลได้เข้าใจบทบาทการทำงานของตนเป็นอย่างดี จึงเห็นได้ว่า แนวทางในการสร้างแรงจูงใจให้บุคคลทำงาน คือการสร้างความคาดหวัง การให้ตระหนักในค่านิยมต่องาน การใช้ความพยายามการเสริมสร้างความสามารถในงาน และการช่วยให้บุคคลเข้าใจบทบาทของตนในงานนั้นๆ
มาสโลว์ (Abraham H.Maslow) เป็นนักจิตวิทยากลุ่มมนุษย์นิยมทฤษฎีของเขาได้ชื่อว่าทฤษฎีลำดับความต้องการ โดยอธิบายว่ามนุษย์มีความต้องการเป็นลำดับขั้น ซึ่งพบว่าบุคคลมักดิ้นรนตอบสนองความต้องขั้นต่ำสุดก่อน เมื่อได้รับการตอบสนองแล้ว จึงแสวงหาความต้องการขั้นสูงขึ้นไปตามลำดับ ในยุคแรกๆ ที่มาสโลว์ทำการศึกษาเขาแบ่งความต้องการของมนุษย์เป็น 5 ลำดับ ลำดับ 1-4 เป็นความต้องการระดับต้น ลำดับที่ 5 เป็นความต้องการระดับสูง ในยุคต่อมามาสโลว์ ได้ทำการศึกษาเพิ่มเติมและแบ่งความต้องการลำดับที่ 5 ให้ละเอียดออกไปอีกเป็น 3 ลำดับ รวมใหม่ทั้งหมดเป็น 7 ลำดับขั้นของความต้องการ ดังต่อไปนี้



ภาพปิรามิดแสดงลำดับขั้นความต้องการ ตามแนวคิดของมาสโลว์ 7 ลำดับขั้น ลำดับ 1-4 เป็นความต้องการระดับต้น หรือระดับขาดแคลน ลำดับที่ 5-7 เป็นความต้องการระดับสูงหรือระดับสร้างความสมบูรณ์แบบให้ชีวิต
          จากภาพ อธิบายลำดับขั้นความต้องการตามแนวคิดของมาสโลว์ ได้ดังนี้
          ลำดับขั้นที่ 1 ความต้องการทางสรีระ (physical needs) คือความต้องการตอบสนองความหิวกระหาย ความเหนื่อย ความง่วง ความต้องการทางเพศ ความต้องการขับถ่าย ความต้องการมีกิจกรรมทางร่างกาย และความต้องการสนองความสุขของประสาทสัมผัส
          ลำดับขั้นที่ 2 ความต้องการความปลอดภัย (sefety needs) คือความต้องการการคุ้มครองปกป้องรักษา ความอบอุ่นใจ ความปราศจากอันตราย และต้องการหลีกเลี่ยงความวิตกกังวล
          ลำดับขั้นที่ 3 ความต้องการความเป็นเจ้าของ และความรัก (belongingness and love needs) คือความอยากมีเพื่อน มีพวกพ้อง มีกลุ่ม มีครอบครัว และมีความรัก ขั้นนี้จัดเป็นความต้องการทางสังคม
          ลำดับขั้นที่ 4 ความต้องการเป็นที่ยอมรับ ยกย่อง และเกียรติยศชื่อเสียง (esteem needs) คือความอยากมีชื่อเสียง มีหน้ามีตา มีคนยกย่องเลื่อมใส มีความเด่นดัง และต้องการความรู้สึกที่ดีของคนอื่นต่อตน
          ลำดับขั้นที่ 5 ความต้องการใฝ่รู้ใฝ่เรียน (need to know and understand) คื่อความอยากรู้ อยากเข้าใจ อยากมีความสามารถ อยากมีประสบการณ์
          ลำดับขั้นที่ 6 ความต้องการทางสุนทรียะ (aesthetic needs) ได้แก่ความต้องการด้านความดี ความงาม คุณธรรม และความละเอียดอ่อนทางจิตใจ
          ลำดับขั้นที่ 7 ความต้องการความสำเร็จ หรือความสมบูรณ์แบบในชีวิต (self actualization needs) ขั้นนี้ถือว่าเป็นความต้องการสูงสุดแห่งความเป็นมนุษย์ ซึ่งจะเกิดขึ้นนี้ได้ต้องปูพื้นฐานให้บุคคลได้ตอบสนองความต้องการของตนในลำดับขั้นที่ 1 เป็นลำดับมาจนถึงระดับสูง หรือสร้างความรู้สึก “พอ” ในความเป็นเขาเสียก่อน ซึ่งบุคคลประเภทนี้มักได้รับ ประสบการณ์สูงสุด คือได้รับประสบการณ์เข้มข้นบางประการด้วยตนเองจนตระหนักในสภาพความเป็นจริงแห่งชีวิต ซึ่งบางคนกล่าวว่าเข้าถึงปรัชญาชีวิต หรือสัจจธรรมแห่งชีวิต
          ความต้องการทั้ง 7 ลำดับขั้นตอนตามแนวคิดของมาสโลว์นั้น บุคคลจะกระทำการเพื่อสนองความต้องการลำดับแรกก่อน แล้วจึงดิ้นรนเพื่อสนองความต้องการถัดมาเป็นลำดับตัวอย่างพฤติกรรมของพนักงานในองค์การ เช่น ตราบใดที่ค่าแรงยังไม่พอกิน (ความต้องการขั้นที่ 1 ) หรือตนต้องเผชิญสถานการณ์เสี่ยงภัยในหน้าที่ (ความต้องการขั้นที่ 2) ในภาวะดังกล่าวนั้น พนักงานอาจยังไม่คำนึงถึงความรัก การยอมรับ การยกย่องและเกียรติยศชื่อเสียง (ความต้องการขั้นที่ 4) หรือจะยังไม่ดิ้นรนเพื่อใฝ่หาความรู้ ความดี ความงาม หรือความสมบูรณ์แบบส่วนตัว (ความต้องการขั้นที่ 5,6 และ 7) จึงเห็นได้ว่าคนบางคนกระทำในสิ่งที่สังคมไม่ยอมรับ เพื่อให้ความต้องการทางกาย ได้รับตอบสนอง เช่น เพื่อให้ท้องหายหิว เพื่อสนองความต้องการทางเพศ หรือเพื่อสะสมเงินทองเอาไว้ให้อบอุ่นใจว่าต่อไปภายหน้าจะได้มีกินมีใช้

การตั้งเป้าหมาย

การตั้งเป้าหมาย (goal settings) เป็นการกำหนดทิศทางและจุดมุ่งหมายปลายทางของการกระทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งของบุคคล จัดเป็นแรงจูงใจจากภายในของบุคคลผู้นั้น ในการทำงานธุรกิจที่มุ่งเพิ่มปริมาณและคุณภาพ ถ้าพนักงานหรือนักธุรกิจมีการตั้งเป้าหมายในการทำงาน จะส่งผลให้ทำงานอย่างมีแผนและดำเนินไปสู่เป้าหมายดังกล่าวเสมือนเรือที่มีหางเสือ ซึ่งในชีวิตประจำวันของคนเรานั้นจะเห็นว่ามีคนบางคนที่ทำอะไรก็มักประสบความสำเร็จหรือไม่สำเร็จดังกล่าวอาจจะมีหลายประการ แต่ปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่งซึ่งมีอิทธิพลมากต่อความสำเร็จในการทำงาน คือการตั้งเป้าหมายในการทำงานแต่ละงานไว้ล่วงหน้า ซึ่งเจ้าของกิจการหรือผู้บริหารงาน ควรสนับสนุนให้พนักงานทำงานอย่างมีเป้าหมาย ทั้งนี้เพื่อความเจริญก้าวหน้าขององค์การ และตัวของพนักงานเอง
           ที่กล่าวมาทั้งหมดในเรื่องที่มาของแรงจูงใจ ซึ่งได้แก่ ความต้องการ แรงขับ สิ่งล่อใจ การตื่นตัว การคาดหวัง และการตั้งเป้าหมาย จะเห็นได้ว่าค่อนข้างยากที่จะกล่าวอธิบายแต่ละเรื่องแยกจากกันโดยเอกเทศ ทั้งนี้เนื่องจากแต่ละเรื่องมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน ตัวอย่างเช่น ความต้องการทำให้เกิดภาวะขาดสมดุลภายในร่างกายหรือจิตใจ มนุษย์อยู่ในภาวะขาดสมดุลไม่ได้ ต้องหาทางสนองความต้องการเพื่อให้เข้าสู่ภาวะสมดุล ส่งผลให้เกิดแรงขับหรือแรงผลักดันพฤติกรรม ทำให้มนุษย์แสดงพฤติกรรมอย่างมีทิศทาง มุ่งไปสู่เป้าหมาย เมื่อบรรลุเป้าหมายแล้ว แรงผลักดันพฤติกรรมก็ลดลง ภาวะสมดุลก็กลับคืนมาอีกครั้งหนึ่ง จากคำอธิบายดังนี้จะเห็นได้ว่าที่มาของแรงจูงใจหลายเรื่องมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน


การคาดหวัง (expectancy) เป็นการตั้งความปรารถนาหรือการพยากรณ์ล่วงหน้าของบุคคลในสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปตัวอย่างเช่น การที่คนงานคาดหวังว่าพวกเขาจะได้รับโบนัสประจำปีสัก 4-5 เท่าของเงินเดือน การคาดหวังดังกล่าวนี้ส่งผลให้พนักงานดังกล่าวกระปรี้กระเปล่า มีชีวิตชีวา ซึ่งบางคนก็อาจจะสมหวัง และมีอีหลายคนที่ผิดหวังในชีวิตจริงของคนเราโดยทั่วไป สิ่งที่คาดหวังกับสิ่งที่เกิดขึ้นมักไม่ตรงกันเสมอไป ช่วงห่างระหว่างสิ่งที่คาดหวังกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ถ้าห่างกันมากก็อาจทำให้คนงานคับข้องใจ และเกิดปัญหาขัดแย้งอื่นๆ ตามมา เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารงานจึงควรระวังในเรื่องดังกล่าวที่จะต้องมีการสื่อสาร สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในกันและกัน การสร้างความหวังหรือการปล่อยให้พนักงานคาดหวังลมๆ แล้งๆ โดยที่สภาพความเป็นจริงทำไม่ได้ อาจจะก่อให้เกิดปัญหายุ่งยากที่คาดไม่ถึงในเวลาต่อไป ดังตัวอย่างที่เห็นได้จากการที่กลุ่มคนงานของบริษัทใหญ่บางแห่งรวมตัวกันต่อต้านผู้บริหารและเผาโรงงานเนื่องมาจากไม่พอใจที่ไม่ได้โบนัสประจำปีตามที่คาดหวังไว้ว่าควรจะได้
           การคาดหวังก่อให้เกิดแรงผลักดันหรือเป็นแรงจูงใจที่สำคัญต่อพฤติกรรมอีกส่วนหนึ่ง ในองค์การถ้าได้มีการกระตุ้นให้พนักงานทำงานโดยวางแผนและเป้าหมาย ตั้งระดับของผลงานตามที่ควรจะเป็น อาจเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยยกระดับมาตราฐานของผลงานของพนักงาน ซึ่งเมื่อได้ผลงานดีขึ้นผู้บริหารก็พิจารณาผลตอบแทนที่ใกล้เคียงกับสิ่งที่พนักงานคาดว่าควรจะได้ เช่นนี้นับว่าได้รับประโยชน์พร้อมกันทั้งฝ่ายเจ้าของกิจการและผู้ปฏิบัติงาน
การใช้กลยุทธ์เพื่อกระตุ้นการปฏิบัติงานของผู้ร่วมงานให้ไปสู่เป้าหมายที่ต้องการนั้นมิใช่ของใหม่ที่เพิ่งเริ่มเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้ ในสมัยโบราณก็มีการใช้วิธีการดังกล่าวทั้งกับมนุษย์ด้วยกันและกับสัตว์ที่จัดเป็น ผู้ร่วมงาน ด้วยเช่นกัน กลยุทธ์ที่นำมาใช้บางประการเป็นไปโดยทำให้ผู้ปฏิบัติเกิดความพอใจ สมัครใจที่จะทำ กลยุทธ์บางประการแม้จะได้ผลในการสร้างแรงกระตุ้นให้ทำงานได้มากขึ้น แต่ผู้ปฏิบัติอาจมีเจตคติทางลบต่อผู้บริหาร เพราะถูกเอารัดเอาเปรียบเกินไป หรือบุคคลภายนอกอาจมองโดยไม่ยอมรับนัก เพราะเอารัดเอาเปรียบกัน
ความสำคัญของการจูงใจในการทำงาน
           การทำความเข้าใจเรื่องความสำคัญของการจูงใจในการทำงานอาจโดยตั้งปัญหาถาม-ตอบ เกี่ยวกับพฤติกรรมของคนบางคนที่เราพบเห็นในชีวิตประจำวัน ตัวอย่างรายการปัญหา เช่น เพราะอะไรนักวิทยาศาสตร์บางคนจึงใช้เวลามากมายเหลือเกินอยู่ในห้องทดลองบางคนใช้เวลาส่วนใหญ่เกือบตลอดชีวิตของเขาทีเดียวเพื่อการทดลองนั้นๆ เพราะอะไรนักกีฬาบางคนจึงสู้ทนเหนื่อยยากกับการฝึกซ้อมซ้ำๆ ซากๆ เป็นเวลาแรมเดือน แรมปี ก่อนเข้าแข่งขันกีฬานัดสำคัญ เพราะอะไรคนบางคนจึงยอมอดทน เสียสละ ทำงานหนัก และใช้พลังทั้งหมดในตัวตลอดชีวิตของเขา เพื่อการค้นพบโลกอนาคตในบางลักษณะที่ยังไม่มีใครพบได้มาก่อน ในขณะที่คนบางคนทำในลักษณะเดียวกัน แต่เพื่อการค้นหาร่องรอยอดีตของโลกดึกดำบรรพ์ไม่สนใจใฝ่รู้ในโลกอนาคต เป็นต้น
           จากตัวอย่างปัญหาที่ยกมานี้ คำตอบต่อปัญหาดังกล่าวคือ เพราะพฤติกรรมเหล่านั้นมีสิ่งผลักดันหรือมีแรงจูงใจให้เกิดขึ้น คือ เป็นพฤติกรรมที่มีการจูงใจ พฤติกรรมที่เกิดจากการจูงใจจะเป็นพฤติกรรมที่มีความเข้มข้น จริงจัง ลงทุนลงแรง กระทำในสิ่งนั้นเพื่อให้ผลงานหรือผลการกระทำ บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ

การจูงใจช่วยเพิ่มพลังในการทำงานให้บุคคล
           พลัง (energy) เป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญต่อการกระทำหรือพฤติกรรมของมนุษย์ ในการทำงานใดๆ ถ้าบุคคลมีแรงจูงใจในการทำงานสูง ย่อมทำให้ขยันขันแข็ง กระตือรือร้น กระทำให้สำเร็จ ซึ่งตรงกันข้ามกับบุคคลที่ทำงานประเภท “เช้าชาม เย็นชาม” ที่ทำงานเพียงเพื่อให้ผ่านไปวันๆ

การจูงใจช่วยเพิ่มความพยายามในการทำงานให้บุคคล
           ความพยายาม (persistence) ทำให้บุคคลมีความมานะ อดทน บากบั่น คิดหาวิธีการนำความรู้ความสามารถและประสบการณ์ของตนมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่องานให้มากที่สุด ไม่ท้อถอยหรือละความพยายามง่ายๆ แม้งานจะมีอุปสรรคขัดขวาง และเมื่องานได้รับผลสำเร็จด้วยดีก็มักคิดหาวิธีการปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้นเรื่อยๆ

การจูงใจช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานของบุคคล
           การเปลี่ยนแปลง (variability) รูปแบบการทำงานหรือวิธีทำงานในบางครั้ง ก่อให้เกิการค้นพบช่องทางดำเนินงานที่ดีกว่าหรือประสบผลสำเร็จมากกว่า นักจิตวิทยาบางคนเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นเครื่องหมายของความเจริญก้าวหน้าของบุคคล แสดงให้เห็นว่าบุคคลกำลังแสวงหาการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ให้ชีวิต บุคคลที่มีแรงจูงใจในการทำงานสูง เมื่อดิ้นรนเพื่อจะบรรลุวัตถุประสงค์ใดๆ หากไม่สำเร็จบุคคลก็มักพยายามค้นหาสิ่งผิดพลาดแลยพยายามแก้ไขให้ดีขึ้นในทุกวิถีทาง ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการทำงานจนในที่สุดทำให้ค้นพบแนวทางที่เหมาะสมซึ่งอาจจะต่างไปจากแนวเดิม

การจูงใจในการทำงานช่วยเสริมสร้างคุณค่าของความเป็นคนที่สมบูรณ์ให้บุคคล
           บุคคลที่มีแรงจูงใจในการทำงาน จะเป็นบุคคลที่มุ่งมั่นทำงานให้เกิดความเจริญก้าวหน้า และการมุ่งมั่นทำงานที่ตนรับผิดชอบให้เจริญก้าวหน้า จัดว่าบุคคลผู้นั้นมีจรรยาบรรณในการทำงาน (work ethics) ผู้มีจรรยาบรรณในการทำงานจะเป็นบุคคลที่มีความรับผิดชอบ มั่นคงในหน้าที่ มีวินัยในการทำงาน ซึ่งลักษณะดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์ ผู้มีลักษณะดังกล่าวนี้มักไม่มีเวลาเหลือพอที่จะคิดและทำในสิ่งที่ไม่ดี
           จากที่กล่าวมาทั้ง 4 ประการ จะเห็นได้ว่า องค์การใดที่มีทรัพยากรบุคคลซึ่งมีแรงจูงใจในการทำงานสูง ย่อมส่งผลให้องค์การนั้นๆ บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ เจริญก้าวหน้า เพราะพนักงานดังกล่าวจะทุ่มเทพลังงานและความสามารถอย่างเต็มที่และโดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเพื่อให้ผลงานสำเร็จตามนโยบายและเป้าหมายของงาน นอกจากนั้นยังมีบุคคลอีกส่วนหนึ่งซึ่งเชื่อว่าการสร้างแรงจูงใจให้บุคคลมุ่งมั่นทำงานให้เจริญก้าวหน้า ยังช่วยเสริมสร้างความเป็นคนที่สมบูรณ์ให้แก่ผู้นั้น ช่วยให้ใช้ชีวิตอย่างมีความหมาย และช่วยสร้างคนให้ดีได้เพราะการทำงานเป็นหัวใจสำคัญส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ ทำให้ชีวิตมีคุณค่า

การจูงใจในการทำงาน

การเสริมสร้างให้คำทำงานได้เป็นอย่างดีนั้น นอกจากเพื่อให้เกิดพฤติกรรมการทำงานที่มุ่งเพิ่มปริมาณและคุณภาพแล้ว ยังเน้นบรรยากาศที่ผู้ปฏิบัติมีความสุขความพอใจและเต็มใจลงทุนลงแรง เพื่อให้ผลงานบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ การทำงานในลักษณะดังกล่าวคือการจูงใจในการทำงาน (work motivation) ซึ่งผู้ทำงานธุรกิจควรให้ความสำคัญและสนใจศึกษาเพื่อพัฒนางานให้เจริญก้าวหน้า ในที่นี้จะกล่าวถึงความหมายของการจูงใจ ความเป็นมาและความสำคัญของการจูงใจในการทำงาน ลักษณะและที่มาของแรงจูงใจ ทฤษฎีและการศึกษาเรื่องการจูงใจ และการประยุกต์ความรู้เรื่องการจูงใจไปใช้ในงานธุรกิจ
 ได้มีผู้ให้ความหมายของการจูงใจ ไว้มาก ในที่นี้จะยกตัวอย่าง 2-3 ความหมาย ดังนี้
           ไมเคิล ดอมแจน (Domjan 1996:199) อธิบายว่าการจูงใจเป็นภาวะในการเพิ่มพฤติกรรมการกระทำหรือกิจกรรมของบุคคล โดยบุคคลจงใจกระทำพฤติกรรมนั้นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ
          แอนนิต้า อี วูลฟอล์ค (Anita E.Woolfolk 1995 : 130) ได้ให้ความหมายของการจูงใจว่า การจูงใจเป็นภาวะภายในของบุคคลที่ถูกกระตุ้นให้กระทำพฤติกรรมอย่างมีทิศทางและต่อเนื่อง
           นิภา แก้วศรีงาม กล่าวว่า การจูงใจเป็นสภาวะที่กระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรมออกมา เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่ผู้จูงใจกำหนด
           จากคำอธิบายและความหมายดังกล่าว สรุปได้ว่าการจูงใจเป็นกระบวนการที่บุคคลถูกกระตุ้นจากสิ่งเร้า โดยจงใจให้กระทำหรือดิ้นรนเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์บางอย่างซึ่งจะเห็นได้ว่าพฤติกรรมที่เกิดจากการจูงใจ เป็นพฤติกรรมที่มิใช่เป็นเพียงการตอบสนองสิ่งเราปกติธรรมดา ลักษณะของการตอบสนองสิ่งเร้าปกติธรรมดาเช่น การขานรับเมื่อได้ยินเสียงเรียก การหันไปมองเมื่อมีคนเดินผ่านหน้า การยกหูโทรศัพท์เมื่อมีกริ่งดังขึ้น ตัวอย่างที่ยกมานี้เป็นการตอบสนองสิ่งเร้าที่ยังไม่จัดว่าเป็นการจูงใจ ที่จะจัดว่าเป็นพฤติกรรมที่เกิดจาการจูงใจ เช่น การที่เจ้าหน้าที่บัญชีพยายามทำบัญชีให้เรียบร้อยเพื่อต้องการคำชมจากหัวหน้างาน การที่พนักงานขายตั้งใจมาทำงานสม่ำเสมอไม่ขาดงานและตั้งใจทำยอดขายเพราะหวังจะได้รับความดีความชอบเป็นกรณีพิเศษ การที่ผู้จัดการฝ่าบุคคลตั้งใจทำงานชิ้นหนึ่งเป็นอย่างดี เพราะตระหนักในศักดิ์ศรีของตัวเอง ฯลฯ ตัวอย่าง 3 ประการนี้ จะเห็นได้ว่าพฤติกรรมมีความเข้มข้น มีทิศทาง มีเป้าหมายชัดเจนว่าต้องการไปสู่จุดใด จึงมิใช่พฤติกรรมทั่วๆ ไป ที่เกิดจากการตอบสนองสิ่งเร้าธรรมดา นอกจากนั้น พฤติกรรมการจูงใจที่เกิดขึ้น ยังเป็นผลเนื่องมาจากแรงผลักดัน หรือแรงกระตุ้นที่เรียกว่า แรงจูงใจ 
วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การสร้าง Brand

เมื่อตลาดยอมรับสินค้าตัวใดตัวหนึ่งจนถือว่าแจ้งเกิดสำเร็จ การ Leverage หรือการได้รับประโยชน์จากทรัยพากรที่ทุ่มเทไปจะเกิดขึ้น ทั้งนี้ไม่ใช่มองเฉพาะลูกค้า (Customer) เท่านั้นเพราะผลประโยชน์จะตกสู่เจ้าของ / ผู้ถือหุ้น (Owners) และพนักงานเอง (Employees) อีกด้วย นั่นคือต้องมองให้เห็นว่าการสร้าง Brand ได้ดีต่อผู้บริโภคนั้นทุกฝ่ายในองค์กรจะได้ผลประโยชน์ตามไปด้วย เราต้องคำนึงถึง “เสาหลัก 3 เสา” นั่นคือ
- Available คือสินค้า / บริการจะต้องหาซื้อได้มีจำหน่ายในสถานที่, เวลาที่ถูกต้อง ขายให้กับลูกค้าถูกคนถูกตัว
- Awareness ต้องทำให้กลุ่มเป้าหมายรู้จักในชื่อจากสื่อต่าง ๆ จากกิจกรรมทั้งหมด ซึ่งมักจะใช้ IMC เป็นตัวนำเราต้องทำอย่างต่อเนื่องและมีการประเมินผลเป็นระยะเพื่อให้สามารถ ปรับแก้ไขกิจกรรมทั้งหลายเพื่อให้มี Awareness สูงสุด
- Protection เนื่องจากภาวะการแข่งขันในปัจจุบันสูงเห็นได้ว่า การ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ของสินค้ามีให้เราเห็นเสมอ นั่นเป็นเพราะขาดการป้องกันหรือ Protection ซึ่งกว่าจะรู้ก็สายเกินไป

ผู้บริหารจะต้องหมั่นดูแล 3 เสาหลักที่ว่านี้สม่ำเสมอ สำหรับผู้เข้าอบรมที่เป็นเอเจนซี่จะต้องรู้จักเสนอแนะเรื่องพวกนี้ให้ลูกค้า พร้อมด้วย

โมเด็ล แมงมุม 6 ขา (Brand Code)
          Brand Code คือ โมเด็ลที่แจกแจงให้สามารถเข้าใจภาพของการสร้าง Brand ชัดเจนจำง่ายขึ้น โดยให้ตัวแมงมุมหรือแกนหลักของ Brand อยู่ตรงกลางและมีแขนขา 6 มุม นั่นคือ

- Product / Benefit ตัวสินค้าหรือประโยชน์ที่ลูกค้าได้รับ
- Positioning ภาพในสมองของผู้บริโภค
- Style รูปแบบนำเสนอทั้ง “ภาพ” และ “ลักษณ์” ซึ่งรวมเอาสิ่งที่จับต้องได้และสิ่งที่เป็นความรู้สึกจากการใช้สินค้านั้น
- Mission เป็นภารกิจของการสร้าง, รักษา, เสริมแรงของ Brand จะต้องถูก Brief ให้ทุกฝ่ายทุกส่วนทุกระดับทราบเพื่อให้ก้าวพร้อมไปในทางทำนองเดียวกัน ทุกคนมีส่วนรับผิดชอบใน Brand
- Vision ผู้บริหารจะต้องเปิดสมองกว้างแล้วก้าวทันสถานการณ์ โลกเราต้องการท่านที่ก้าวนำสถานการณ์แต่หาได้ไม่ง่ายนัก Vision ที่ดีเป็นสิ่งที่จะนำองค์กรไปได้ดีที่สุดโดยใช้ Brand ที่ดีเป็นเครื่องมือตัวหนึ่ง
- Values Brand จะต้องมีคุณค่าที่แท้จริงที่ต่อเนื่องเกิดขึ้นอย่างประทับใจ คุณค่านี้คืออาวุธที่สำคัญที่สุด โดยเฉพาะคุณค่าทางจิตใจซึ่งคู่แข่งก็อปปี้ไม่ได้ แต่ก็ประมาณไม่ได้เพราะถ้าคู่แข่งมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่องในขณะที่สินค้า เบอร์หนึ่งไม่รู้จักปรับตัวก็จะ “ออกโฉนด” โดย “ถอน น.ส.3” จากเจ้าตลาดเบอร์หนึ่งเดิมได้ ยกตัวอย่างแชมพู “2 in 1”

บัญญัติ 10 ประการสำหรับ Brand ที่มีอนาคต
- จะต้องสร้างความเป็น “Brand” ที่ดีให้เกิดในสมองของผู้บริโภคให้ได้
- Brand นั้นจะต้องโดดเด่นมีความแตกต่างในสาระสำคัญ
- จะต้องทำให้ “Brand” ของเราเข้าถึงจิตใจผู้บริโภคหลักให้ได้ เทียบได้กับเป็นเพื่อนสนิทที่มีของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
- “Brand” ที่ถูกสร้างขึ้นมาดีจะถือเสมือนเป็นทรัพย์สินที่มีค่าที่สุดขององค์กร
- ผู้บริหารจะต้องรู้จักใช้ “Brand” ที่มีอนาคตเป็นแรง “ขับ” บริษัทไปข้างหน้า
- “Brand” ที่ถูกสร้างให้มีอนาคตจะมีบทบาทในตลาดที่แจ่มชัด
- “Brand” ที่ว่านี้จะเป็นตัวสนับสนุนที่มีอำนาจในการสร้างสรรค์กิจกรรมต่าง ๆ ต่อผู้บริโภค
- “Brand” ที่มีอนาคตจะถือเป็นพันธมิตรสนับสนุนที่ก้าวเดินร่วมไปกับ Brand อื่น ๆ ที่เรามีอยู่
- “Brand” ที่มี่อนาคตจะเสมือนมี “เกราะ” ป้องกันตัวเองไม่ให้ถูกรุกราน
- “Brand” ที่มีอนาคตจะถูกใช้เป็นพาหนะสำหรับถ่ายทอดคุณค่าทั้งหมดสู่บริโภค
วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2556

การกำหนดนโยบายเงินปันผลในทางปฏิบัติ

แบบจำลองการจ่ายเงินปันผลจากกำไรส่วนที่เหลือ

หมายถึงการจ่ายเงินปันผล จากกำไรส่วนที่เหลือจากการลงทุนในโครงการลงทุนที่คาดว่าจะทำในอนาคต

ตัวอย่างที่ 1

บริษัทมี D/A = 40% มีกำไรสุทธิ 100 ล้านบาท ต้องการทำโครงการ A มูลค่า 50 ล้านบาท
วิธีคิด โครงการ A ใช้เงินทุนส่วนของหนี้สิน 40% = 0.4x50 = 20 ล้านบาท
โครงการ A ใช้เงินทุนส่วนของเจ้าของ 60% = 0.6x50 = 30 ล้านบาท
กำไรสุทธิ 100 ล้าน ลงทุน 30 ล้าน ดังนั้น จ่ายเงินปันผล = 100-30 = 70 ล้านบาท

ตัวอย่างที่ 2

บริษัทมี D/A = 40% มีกำไรสุทธิ 100 ล้านบาท ต้องการทำโครงการ A มูลค่า 200 ล้านบาท
วิธีคิด โครงการ A ใช้เงินทุนส่วนของหนี้สิน 40% = 0.4x50 = 80 ล้านบาท
โครงการ A ใช้เงินทุนส่วนของเจ้าของ 60% = 0.6x50 = 120 ล้านบาท
กำไรสุทธิ 100 ล้าน ลงทุน 120 ล้าน ยังขาดอีก 20 ล้านบาท ต้องออกหุ้นสามัญเพิ่ม 20 ล้านบาท

ข้อดี

บริษัทไม่ต้องออกหุ้นสามัญใหม่และค่าใช้จ่ายในการออกหุ้นสามัญน้อยที่สุด

ข้อเสีย

กรณีที่มีโครงการดีๆ มากเป็นแนวโน้มที่ดี แต่กลับ ไม่มีการจ่ายเงินปันผลและขายหุ้นสามัญเพิ่ม ทำให้เกิดสัญญาณที่ขัดแย้งกัน ทำให้ผู้ลงทุนบางกลุ่มไม่พอใจ

กำไร กระแสเงินสด และเงินปันผล

ในการจ่ายเงินปันผล ปัจจัยในเรื่อง กระแสเงินสด มีความสำคัญมากกว่า กำไร

กระบวนการจ่ายเงินปันผล

1. วันที่ประกาศจ่ายเงินปันผล
2. วันปิดสมุดพักโอนหุ้น
3. วันที่ผู้ซื้อหุ้นไม่มีสิทธิได้รับเงินปันผล - จะนับย้อนหลัง 4 วัน จากวันปิดสมุดพักโอนหุ้น เช่นปิดสมุด 12 ธันวาคม ผู้ที่ซื้อตั้งแต่วันที่ 9 จะไม่มีสิทธิรับเงินปันผล
4. วันจ่ายเงินปันผล

การนำเงินปันผลที่ได้รับมาลงทุนใหม่

  • Open market
  • New stock

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อนโยบายเงินปันผล


  • ข้อจำกัดในการจ่ายเงนปันผล
  • โอกาสในการลงทุน
  • ต้นทุนของแหล่งเงินทุนที่หาได้
  • ผลกระทบของนโยบายเงินปันผลต่อ ks

อัตราแลกเปลี่ยน (Exchange rate)

อัตราแลกเปลี่ยน (Exchange rate) คือ จำนวนหน่วยของเงินสกุลหนึ่งซื้อเงินสกุลหนึ่งได้ 1 หน่วย

การกำหนดราคาโดยตรง

หมายถึง การซื้อเงินสกุลต่างประเทศ 1 หน่วย ต้องใช้เงินในประเทศกี่หน่วย เช่น THB 31.50/USD หมายถึง 31.50 บาท เท่ากับ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ

การกำหนดราคาโดยอ้อม

หมายถึง เงินสกุลในประเทศ 1 หน่วย ซื้อเงินต่างประเทศได้กี่หน่วย เช่น USD 0.0317/THB หมายถึง 1 บาท เท่ากับ 0.0317 ดอลล่าร์สหรัฐ

การแลกเปลี่ยนเงินตราข้ามสกุล

หมายถึงการหาอัตราแลกเปลี่ยนของเงิน 2 สกุล โดยมีเงินสกุลที่ 3 เป็นตัวกลาง เช่น
1.6549 USD = 1GBP
6.4483 FRF = 1 USD
1 GBP = 1.6549 USD x 6.4483 FRF/USD = 10.6713 FRF
หรือ 1 FRF = 1/10.6713 = 0.0937 GBP

Cross rate = Dollars/Pound x Frances/Dollar = Frances/Pound

1. ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ 

  • หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึง เดือนสิงหาคม 1971 ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่
  • กำหนดเงิน USD ผูกติดกับทองคำและเงินสกุลอื่นๆและเงินสกุลอื่นๆ
  • มีปัญหาเพราะความต้องการเงินแต่ละสกุลเปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากการค้าขาดดุลเกินดุล และการเคลื่อนย้ายเงินทุน
2. ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว
  • อัตราแลกเปลี่ยนที่เป็นไปตามอุปสงค์และอุปทาน
  • อัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว ทำให้เกิด ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (Exchange Rate Risk)
  • IRR ของโครงการคืออัตราผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการนั้น
  • การคำนวณ IRR ใช้วิธีหาอัตราส่วนลด (อัตราผลตอบแทน) ที่ทำให้ NPV เท่ากับ 0
CF0 = CF1(1+IRR)1 +  CF2(1+IRR)2 + CF3(1+IRR)3 + ... + CFn(1+IRR)n

วิธีกดเครื่องคิดเลข

1. |CF|
2. |0| |ENTER| |DOWN| (ปีที่ 0)
3. |จำนวนเงิน| |ENTER| |DOWN| |DOWN| (ทำไปเรื่อยๆ สำหรับปีที่ 1,2,3,4...)
4. กด |IRR| |CPT| จะได้ IRR

การพิจารณาโครงการด้วย IRR

  • ต้องเลือกโครงการที่มี IRR สูงกว่าต้นทุนของเงินทุน
  • กรณีที่มีหลายโครงการ ต้องเลือกโครงการเดียว ให้เลือกโครงการที่ IRR สูงกว่า

เปรียบเทียบ NPV และ IRR

  • ผลของวิธี NPV ขึ้นอยู่กับอัตราผลตอบแทนที่กำหนด (ทำให้ PV ของเงินในอนาคตเปลี่ยนแปลง) หากเปลี่ยนแปลงอัตราผลตอบแทน ผลลัพธ์ก็เปลี่ยนแปลงได้
  • IRR คืออัตราส่วนลดที่ทำให้ NPV เท่ากับ 0 ผลของวิธี IRR จะไม่เปลี่ยนแปลง
  • หากเป็นโครงการที่อิสระต่อกัน เลือกได้หลายโครงการ สามารถเลือกโดยใช้ได้ทั้งสองวิธี
  • หากต้องเลือกโครงการใดโครงการหนึ่ง ให้เลือกวิธี NPV เพราะให้คำตอบได้ว่าผู้ลงทุนมั่งคั่งอย่างไร

วิธีอัตราผลตอบแทนของโครงการที่ปรับปรุงใหม่ (MIRR)

วิธีคิด
  1. วิธีนี้สมมติว่านำเงินผลตอบแทนที่ได้รับ ไปลงทุนต่อ จนถึงปีสุดท้าย โดยได้รับผลตอบแทนเท่ากับต้นทุนของเงินทุน
  2. นำผลที่คำนวณได้ตามข้อ 1 มารวมกันเป็นมูลค่า ณ ปีสุดท้าย เรียกว่า TV (Terminal Value)
  3. หาอัตราส่วนลดที่ทำให้ TV เท่ากับเงินลงทุนเริ่มแรกพอดี หมายความว่า ลงทุนไปปีแรก แล้วรอจนจบโครงการปีสุดท้ายจะได้เงินเท่ากับ TV จะต้องมีอัตราผลตอบแทนเป็นเท่าไหร่
ตัวอย่าง โครงการ S ระบะเวลาดำเนินการ 4 ปี ต้นทุนของเงินทุน 10%
ปีที่ กระแสเงินสด มูลค่าในปีสุดท้าย
0 -1000
1 500 500x(1+10%)3 = 665.50
2 400 400x(1+10%)2 = 484
3 300 300x(1+10%)1 = 330
4 100 100
Terminal Value (TV) 665.50+484+300 = 1579.50

กดเครื่องคิดเลข หา MIRR PV = -1000; FV = 1579.50; N = 4; CPT ; I/Y = 12.1% ตอบ

งบลงทุน

ระยะเวลาคืนทุน (PB)

PB = จำนวนปีก่อนคืนทุน + (กระแสเงินสดส่วนที่เหลือ/กระแสเงินสดทั้งปี)
เป็นการประเมินแบบง่ายๆ ว่า เมื่อใช้เงินลงทุนไปแล้วต้องใช้เวลากี่ปีจึงจะคืนทุน
เช่น ลงทุน 1000 บาท ได้ผลตอบแทนปีละ 200 บาท ระยะเวลาคืนทุนก็จะเท่ากับ 1000/200 = 5 ปี
ในกรณีที่เงินลงทุน มีเศษเหลือในปีสุดท้าย ให้ใช้การเทียบเป็นจำนวนเดือน
ตัวอย่าง
โครงการ S มีกระแสเงินสดดังนี้
ปีที่ 0 -1,000
ปีที่ 1 500
ปีที่ 2 400
ปีที่ 3 300
ปีที่ 4 100
จะเห็นว่า เมื่อสิ้นปีที่ 2 จะมีกระแสเงินสดรับ จากปีที่ 1 จำนวน 500 บาท และปีที่ 2 จำนวน 400 บาท รวม 900 บาท
ยังเหลือเศษอีก 1000-900 = 100 บาท

ในปีที่ 3 มีกระแสเงินสดรับ 300 บาท ในปีที่ 3 จึงใช้เวลาอีกเพียง 100/300 = 0.33 ปี

 วิธีแปลงเลขทศนิยมปี เป็นจำนวนเดือนเอาเศษคูณด้วย 12 จะได้จำนวนเดือน
0.33 x 12 = 3.96

ดังนั้น ระยะเวลาคืนทุน จึงเท่ากับ 2.33 ปี = 2 ปี 4 เดือน

ระยะเวลาคืนทุนโดยคิดเป็นมูลค่าปัจจุบัน (DPB)เป็นการคิดระยะเวลาคืนทุน คล้ายกับ PB แต่ เราจะใช้ PV ของกระแสเงินสดในอนาคตในการคำนวณ

ใช้ต้นทุนของเงินทุน WACC = 10%
ตัวอย่าง กระแสเงินสดสุทธิโครงการ S

ปี  กระแสเงินสด
ปีที่ 0  -1000
ปีที่ 1  500
ปีที่ 2  400
ปีที่ 3  300
ปีที่ 4  100

คำนวณ PV แล้ว หาก DPB
ปี กระแสเงินสด PV บวกเลข
ปีที่ 0 -1000 -1000 -1000
ปีที่ 1 500 500/(1+0.1)1 = 454.55 -1000 + 454.55 = -545.45
ปีที่ 2 400 400/(1+0.1)2 = 330.58 -545.45 + 330.58 = -214.87
ปีที่ 3 300 300/(1+0.1)3 = 225.39 -214.87 + 225.39 = 10.52 <--- คืนทุนแล้ว !!
ปีที่ 4 100 100/(1+0.1)4 = 68.30
ปีที่ 3 เหลือเศษ 214.87 บาท กระแสเงินสดปีที่ 3 = 225.39 จำนวนเดือน = (214.87/225.39)x12 = 11 เดือน
ตอบ 2 ปี 11 เดือน 

กำไรสุทธิจากการดำเนินงานหลังหักภาษี (NOPAT)

ความหมาย : กำไรที่บริษัทได้รับเมื่อไม่มีหนี้สิน และไม่มีสินทรัพย์ที่ไม่ได้ใช้ในการดำเนินงาน
ค่านี้บอกอะไร : ใช้พิจารณาผลการดำเนินงานของผู้บริหารและพนักงาน จากกำไรที่เกิดจากการดำเนินงานจริงๆ โดยไม่นำต้นทุนของเงินทุนมารวมด้วย
ข้อมูลเริ่มต้น : งบกำไรขาดทุน
สูตร : NOPAT = EBIT (1-Tax rate)
(EBIT = กำไรสุทธิก่อนดอกเบี้ยและภาษี)
วิธีจำสูตร : กำไรสุทธิก่อนดอกเบี้ยและภาษี มาหักส่วนที่เป็นภาษีออก

เงินทุนหมุนเวียนที่ใช้ในการดำเนินงานสุทธิ Net operating working capital (NOWC)

ความหมาย : เงินทุนหมุนเวียนที่ใช้ในการดำเนินงาน (operating working capital) หัก เจ้าหนี้และค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
ค่านี้บอกอะไร : บอกเราว่าบริษัทมีเงินทุนหมุนเวียนที่ใช้จ่ายได้จริงเท่าไหร่
ข้อมูลเริ่มต้น : งบดุล
สูตร : สินทรัพย์หมุนเวียน - หนีสินหมุนเวียนที่ไม่มีดอกเบี้ย
วิธีจำสูตร : เอาเฉพาะสินทรัพย์และหนี้สินระยะสั้นมาคิด

เงินทุนหมุนเวียนที่ใช้ในการดำเนินงานทั้งสิ้น Total Operating Capital

ความหมาย : เงินทุนหมุนเวียนที่ใช้ในการดำเนินงานทั้งหมด
ค่านี้บอกอะไร : บอกเราว่าบริษัทมีเงินทุนหมุนเวียนทั้งหมดเท่าไหร่
ข้อมูลเริ่มต้น : งบดุล, NOWC
สูตร : NOWC + สินทรัพย์ถาวร

กระแสเงินสดสุทธิ Net cash Flow NCF

ความหมาย : กระแสเงินสดที่ได้รับจริง (หากเป็นกำไรสุทธิ จะมีการคิดค่าเสื่อมราคา)
ค่านี้บอกอะไร : บอกเราว่าบริษัทมีกระแสเงินสดที่เป็นเงินสดจริงๆเท่าไหร่
ข้อมูลเริ่มต้น : งบกระแสเงินสด
สูตร : NI + Dep , Ni - รายได้ที่ไม่เป็นเงินสด + ค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้จ่ายเป็นเงินสด
วิธีจำสูตร : กำไรสุทธิ หักค่าเสื่อมราคา

กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน Operating Cash Flow (OCF)

ความหมาย : กระแสเงินสดที่ได้รับจริง (หากเป็นกำไรสุทธิ จะมีการคิดค่าเสื่อมราคา)
ข้อมูลเริ่มต้น : งบกระแสเงินสด
สูตร : NOPAT+ Dep
วิธีจำสูตร : NOPAT + ค่าเสื่อม

กระแสเงินสดอิสระ Free cash flow (FCF)

ความหมาย : กระแสเงินสดที่มีให้แก่ผู้ลงทุน หลังจากที่บริษัทได้ลงทุนในสินทรัพย์ถาวรและกันเงินไว้เป็นเงินทุนหมุนเวียนที่จำเป็นในการดำเนินงานแล้ว
ค่านี้บอกอะไร : เป็นเงินที่เหลือให้ผู้ลงทุน ใช้พิจารณามูลค่าหุ้นของกิจการ
ข้อมูลเริ่มต้น : งบกระแสเงินสด
สูตร : NOPAT- Net Investment in Operating Capital
วิธีจำสูตร : NOPAT หักค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน

Economic Value Added (EVA)

ความหมาย : การเพิ่มมูลค่าให้กับผู้ถือหุ้นจากการบริหารงานในรอบปีที่ผ่านมา
ค่านี้บอกอะไร : ประสิทธิภาพของผู้บริหาร
ข้อมูลเริ่มต้น : งบกระแสเงินสด
สูตร 1 : NOPAT - ต้นทุนการดำเนินกิจการหลังหักภาษี
สูตร 2 : EBIT(1-อัตราภาษี) - [(Total investor - supplid operating capital)x(อัตราต้นทุนการดำเนินกิจการหลังหักภาษี)]

MVA


ความหมาย : ผลต่างระหว่างมูลค่าตามราคาตลาดในส่วนของเจ้าของกับเงินทุนที่จัดหามาจากผู้ลงทุน
ค่านี้บอกอะไร : ความมั่งคั่งของผู้ลงทุน
ข้อมูลเริ่มต้น : ราคาหุ้นในตลาด ,งบดุล
สูตร 1 : (ราคาหุ้นในตลาด x จำนวนหุ้น) - ส่วนของเจ้าของ
วิธีจำสูตร : เอามูลค่าบริษัทในตลาดหุ้น ลบ ส่วนของเจ้าของ ตามบัญชี
การคำนวณการกู้เงินแบบผ่อนชำระเป็นรายงวด คล้ายกับการคำนวณเงินรายงวดอื่นๆ แต่จะให้ความสนใจเรื่องยอดหนี้ค้างชำระ ณ สิ้นปีที่ยังผ่อนหนี้ไม่หมด
วิธีคิดให้กดเครื่องคิดเลข 2 ครั้ง โดยครั้งแรก คำนวณหาจำนวนเงินรายงวด(PMT)ก่อน แล้วจึงใช้ PMT ที่ได้ไปหา FV ณ สิ้นปีที่โจทย์กำหนด
ตัวอย่าง สมมติว่า ท่านวางแผนจะกู้เงิน 400,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 12% ต่อปี ระยะเวลาที่กู้ 6 ปี ให้คำรวณหายอดหนี้ค้างชำระ ณ สิ้นปีที่ 2
กดเครื่องคิดเลขครั้งแรก
PV = 400,000;
I/Y = 12;
N = 6;
FV = 0;
CPT; PMT=-97,290.29;
จะได้เงินชำระรายงวด 97,290.29 บาท
ต่อมา โจทย์ถามยอดหนี้ค้างชำระ ณ สิ้นปีที่ 2 (หา FV ที่ N=2)

กดเครื่องคิดเลขครั้งที่ 2
PV = 400,000;
I/Y = 12;
N = 2;
PMT=-97,290.29;
CPT; FV=295,504.59;
ตอบ 295,504.59 บาท
วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ (External Analysis)

สภาพแวดล้อมภายนอกประกอบด้วย สภาพแวดล้อมทั่วไปและสภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน

* สภาพแวดล้อมทั่วไป (General Environment) เป็นสภาพแวดล้อมที่มีความสำคัญ แต่อาจจะไม่ใช่สิ่งแวดล้อมที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับองค์การโดยตรงแต่เป็นสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป มีตัวแบบในการพิจารณา คือ PEST Environment ได้แก่
สภาพแวดล้อมด้านการเมือง (Political Environment –P)
สภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจ (Economic Environment –E)
สภาพแวดล้อมด้านสังคม (Sociological Environment –S)
สภาพแวดล้อมด้านเทคโนโลยี (Technology Environment –T)


สภาพแวดล้อมทั่วไปสามารถส่งผลกระทบต่อองค์การได้ ยกตัวอย่างเช่น หากรัฐออกกฎหมายที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ  ก็จะส่งผลดีต่อโอกาสในการดำเนินงานขององค์การ  หรือการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่รวดเร็วอาจส่งผลให้สินค้ามีความล้าสมัยอย่างรวดเร็ว เป็นต้น

สภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน (Task Environment) ไมเคิล อี พอร์ตเตอร์ (Michael E.Poter ) ได้เสนอตัวแบบการวิเคราะห์สภาพการแข่งขัน  โดยใช้ตัวแบบที่ชื่อ The Five Compettive Force  ซึ่งจะทำให้เราทราบถึงสมรรถภาพคู่แข่งที่เข้ามาใหม่ ทราบความต้องการของลูกค้า  สามารถสร้างความร่วมมือกับผู้จัดส่งวัตถุดิบ  การระมัดระวังไม่ให้ลูกค้าหันไปให้ความสนใจสินค้าทดแทน  และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นตัวแบบที่ช่วยในการวิเคราะห์คู่แข่งได้เป็นอย่างดี

การวิเคราะห์คู่แข่งที่เข้ามาใหม่ (New Entrance) ผู้ที่เข้ามาใหม่มีความมุ่งหวังที่จะเข้ามามีส่วนร่วม  หรือมีส่วนแบ่งทางการตลาด  ดังนั้นจึงเป็นภาวะที่คุกคาม  ซึ่งจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอุปสรรคที่เข้ามาและภาวะการตอบโต้ขององค์การ  โดยสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อผู้ที่เข้ามาใหม่ ได้แก่

          Ecomies of Scale ความประหยัดที่เกิดจากการผลิตจำนวนมาก (Economies of Scale) ทำให้คู่แข่งต้องมีการผลิตที่มีขนาดใหญ่พอ  จึงจะสามารถต่อสู้กับกิจการเดิมได้

          ความแตกต่างของสินค้า Differentiation หรือ ขนาดของทุน Capital Requirement  เนื่องจากผู้ที่เข้ามาใหม่จะต้องแบกภาระต้นทุนที่สูงมากในด้านต่าง ๆ เป็นต้น  เหล่านี้เป็นตัวอย่างของอุปสรรคสำหรับผู้ที่เข้ามาใหม่  ซึ่งนักบริหารจะต้องสร้างภาวะการตอบโต้  โดยอาศัยความได้เปรียบด้านอุปสรรคของผู้เข้ามาใหม่ในด้านต่าง ๆ

การวิเคราะห์ผู้ซื้อ (Buyer) ผู้บริหารในองค์การภาครัฐ และภาคเอกชน  จะต้องให้ความสำคัญกับลูกค้า  เนื่องจากองค์การจะต้องเผชิญกับอำนาจการต่อรองของลูกค้า  ในเรื่องของปริมาณ  คุณภาพ  และราคา

การวิเคราะห์ผู้จัดส่งวัตถุดิบ (Supplier) ผู้จัดส่งวัตถุดิบจะมีความสำคัญเนื่องจากองค์การจะต้องเผชิญกับพลังการต่อรองของผู้จัดส่งวัตถุดิบเช่นเดียวกับลูกค้า  ดังนั้นผู้บริหารทั้งองค์การภาครัฐและองค์การภาคเอกชน  จะต้องปรับกลยุทธ์เพื่อรับกับพลังการต่อรองนั้น

การวิเคราะห์สินค้าทดแทน (Substitute) การมีสินค้าหรือบริการทดแทนทำให้องค์การต่าง ๆ จะต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพของสินค้า  ราคา  และบริการที่นำเสนอให้กับลูกค้า  เนื่องจากการละเลยความสำคัญดังกล่าวจะทำให้องค์การเสียเปรียบต่อคู่แข่งได้

การวิเคราะห์คู่แข่ง (Rival) คู่แข่งมีความสำคัญอย่างยิ่งที่นักบริหารจะต้องคำนึงถึง   เนื่องจากนักบริหารจะต้องใช้กลยุทธ์เพื่อสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง  การละเลยหรือไม่ให้ความสำคัญกับคู่แข่งจะหมายถึงความพ่ายแพ้

โดยสรุปแล้วการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกหรือสภาพแวดล้อมภายนอกนี้จะทำให้ทราบถึงโอกาสหรืออุปสรรคทางธุรกิจขององค์การ

โอกาส : การผสมผสานระหว่างเหตุการณ์ เวลา สถานที่ ที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นประโยชน์ต่อองค์การ มาทำให้องค์การมีสมรรถนะที่จะดำเนินการบางอย่างที่เหนือกว่าคู่แข่ง
อุปสรรค : เหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และถ้าเกิดขึ้นก็จะทำความเสียหายให้แก่องค์การ
การวิเคราะห์ภายในขององค์การนั้น  จะทำให้ทราบถึงจุดอ่อนและจุดแข็งขององค์การ  ช่วยให้ประเมินอดีตและแนวโน้มในปัจจุบัน  การวิเคราะห์ภายในสามารถทำได้โดยการวิเคราะห์ปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ (Critical success factor) การวิเคราะห์ (Value chain) และวิเคราะห์กระบวนการหลัก (Core business process) ซึ่งจะทำให้องค์การมีความสามารถหลักที่โดดเด่น (Core competency)

การวิเคราะห์ปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ (Critical success factor) สามารถทำได้โดยการวิเคราะห์ลักษณะของกิจการ  ตำแหน่งทางการแข่งขัน  สภาพแวดล้อมทั่วไป  และการพัฒนาองค์การ

การวิเคราะห์ห่วงโซ่ค่านิยม (Value chain) เป็นการพยายามเชื่อมโยงกิจกรรมหลัก และกิจกรรมย่อยขององค์การ  โดยการพยายามจัดกิจกรรมย่อยให้สนับสนุนกิจกรรมหลัก  เพื่อจะสร้างคุณค่าที่สนองตอบกับค่านิยมของลูกค้า  โดยสายงานหลักจะทำหน้าที่ในการผลิตกิจกรรมพื้นฐาน ประกอบไปด้วย  การนำเข้าวัตถุดิบ  การผลิตสินค้าและบริการ  การตลาด  และการให้บริการลูกค้า  ส่วนสายงานสนับสนุนจะทำหน้าที่ในการจัดการทรัพยากรมนุษย์  การพัฒนาเทคโนโลยี  การการจัดซื้อวัตถุดิบ  เนื่องจากการวิเคราะห์ห่วงโซ่ค่านิยม  จะทำให้องค์การได้รับรู้ถึงค่านิยมของลูกค้าได้อย่างชัดเจน    ทำให้สามารถวิเคราะห์และเชื่อมโยงค่านิยมของลูกค้า  เข้าสู่กิจกรรมทุกกิจกรรมขององค์การ

การวิเคราะห์กระบวนการหลัก (Core business process) และระบบการดำเนินงาน เป็นกระบวนการสร้างคุณค่าที่เชื่อมโยงระหว่างผู้จัดหาวัตถุดิบ  องค์การ  และลูกค้าเข้าด้วยกัน  โดยมีกระบวนการหลักขององค์การ  เพื่อพัฒนาสินค้าและบริการ  และเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า

โดยสรุปแล้วการวิเคราะห์ปัจจัยภายในหรือสภาพแวดล้อมภายในนี้จะทำให้ทราบถึงจุดแข็งหรือจุดอ่อนทางธุรกิจขององค์การ

จุดแข็ง : ลักษณะหรือองค์ประกอบขององค์การที่มีสมรรถนะเหนือกว่า
จุดอ่อน : ลักษณะหรือองค์ประกอบขององค์การที่มีสมรรถนะด้อยกว่าเมื่อเทียบกับคู่แข่ง
การจัดการเชิงกลยุทธ์จะนำไปสู่การเพิ่มโอกาสของความสำเร็จและความล้มเหลวขององค์การได้อย่างไรนั้นมีหลักสำคัญดังนี้

          1. การจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นการกำหนดวิสัยทัศน์ ทิศทาง ภารกิจ และวัตถุประสงค์ขององค์การธุรกิจอย่างเป็นระบบ  ดังนั้นการจัดการเชิงกลยุทธ์จึงเป็นสิ่งที่กำหนดทิศทางขององค์การ  และช่วยให้นักบริหารปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม  การตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงนั้น  ทำให้นักบริหารสามารถกำหนดวัตถุประสงค์และทิศทางการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม  สอดคล้องกับสภาวะความเปลี่ยนแปลงได้

          2. การจัดการเชิงกลยุทธ์ยังนำไปสู่การจัดการความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น  เนื่องจากมีการเตรียมรับกับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงไว้แล้ว  ทำให้องค์การค้นหาแนวทางที่เหมาะสมที่สุดต่อองค์การ  ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยต่าง ๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้อง  ทั้งนี้เนื่องจากการจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นการกำหนดวิธีการหรือแนวทางในการดำเนินงานและกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์การ  เพื่อให้บรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ขององค์การที่ตั้งไว้

          3. การจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นการนำแนวทางในการดำเนินองค์การที่คิดค้นสร้างสรรค์ขึ้น  และนำมาประยุกต์ใช้เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย  ดังนั้นความคิดสร้างสรรค์จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับนักบริหาร

          4. การวางแผนกลยุทธ์เป็นหน้าที่หลักของนักบริหาร  เนื่องจากต้องวางแผนประยุกต์ใช้  และกำหนดทิศทางในการดำเนินงานขององค์การ  การจัดทำและปฏิบัติให้สอดคล้องตามแผนกลยุทธ์จึงมีความสำคัญโดยเฉพาะในระยะยาว  ดังนั้นความสามารถในการกำหนดกลยุทธ์ของนักบริหาร  และความสามารถในการควบคุมให้การปฏิบัติเป็นไปตามกลยุทธ์ที่วางไว้ได้  จะเป็นสิ่งสะท้อนศักยภาพและและสะท้อนของผู้บริหารได้เป็นอย่างดี

          5. การจัดการเชิงกลยุทธ์ทำให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน จะช่วยสร้างประสิทธิภาพและศักยภาพในการแข่งขันให้แก่ธุรกิจ  และเสริมสร้างการพัฒนาขีดความสามารถทางการบริหารของนักบริหาร  รวมทั้งช่วยเตรียมความพร้อมและพัฒนาบุคลากรที่อยู่ภายในองค์การ  เนื่องจากการพัฒนาเชิงกลยุทธ์จะต้องมีการสร้างความเข้าใจและแนวทางในการเตรียมพร้อม  เพื่อรับกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นของสภาพแวดล้อมและคู่แข่ง  นอกจากนี้แล้วการจัดการเชิงกลยุทธ์ยังช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในองค์การเข้าใจในภาพรวม  โดยเฉพาะเป้าหมายในการดำเนินงานทำให้สามารถจัดลำดับการดำเนินงานตามลำดับความสำคัญเร่งด่วนได้

          6. การจัดการเชิงกลยุทธ์ช่วยให้การทำงานเกิดความสอดคล้องในการปฏิบัติหน้าที่  เนื่องจากมีการกำหนดกลยุทธ์  การประยุกต์ใช้  และการตรวจสอบควบคุมไว้อย่างชัดเจน  ทำให้เกิดความเข้าใจตรงกันและเกิดความร่วมมือ  โดยเฉพาะความเข้าใจในวัตถุประสงค์ขององค์การ  อีกทั้งจะช่วยให้มีการจัดสรรทรัพยากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับการบริหารองค์การในส่วนต่าง ๆ
หมายถึงการกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) พันธกิจ (Mission) วัตถุประสงค์ (Objective) เป้าหมาย (Goal) ขององค์การในระยะสั้นและระยะยาว จากนั้นจึงวางแผนทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้องค์การสามารถดำเนินงานตามพันธกิจ  อันนำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้

          นอกจากนี้เนื่องจากสภาพแวดล้อมทางธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  ซึ่งอาจก่อให้เกิดโอกาส  หรืออุปสรรคแก่องค์การได้  องค์การจึงจำเป็นต้องพิจารณาสภาพแวดล้อมภายในขององค์การ  เพื่อหาจุดแข็งหรือจุดอ่อนในการที่จะสามารถหลีกเลี่ยงจากอุปสรรคหรือใช้ประโยชน์จากโอกาสที่มีอยู่นั้นได้  ดังนั้นการจัดการเชิงกลยุทธ์จึงเป็นการบริหารโดยคำนึงถึง

1. ลักษณะการดำเนินงานขององค์การ
2. ลักษณะธุรกิจในอนาคต
3. สภาพแวดล้อม
4. การจัดสรรทรัพยากร
5. การปฏิบัติงานให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์
แนวคิดที่สำคัญในการจัดการเชิงกลยุทธ์

          แนวคิดพื้นฐานที่สำคัญของการจัดการเชิงกลยุทธ์ คือการกำหนดภารกิจ  วัตถุประสงค์และเป้าหมายของกิจการทั้งในระยะสั้นและระยะยาว  โดยการจัดการเชิงกลยุทธ์และการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์จะมีผลต่อการดำเนินงานในระยะยาว

          ดังนั้นองค์การจึงต้องมีการวางแผนการทำกิจกรรมต่าง ๆ  เพื่อให้การดำเนินงานตามภารกิจบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้  ทั้งนี้เพื่อให้ตอบสนองต่อกระแสการเปลี่ยนแปลง  ซึ่งอาจจะเป็นอุปสรรคและบดบังโอกาสในการก้าวหน้าขององค์การได้

          ฉะนั้นองค์การจึงต้องพิจารณาถึงจุดแข็งที่มีอยู่แล้วนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์  และพิจารณาถึงจุดอ่อนขององค์การเพื่อหาแนวทางขจัดจุดอ่อนเหล่านั้นเสีย
ในแนวคิดด้านการจัดการเชิงกลยุทธ์นั้น จะมีความแตกต่างไปจากการจัดการโดยทั่วไป ซึ่งมักจะศึกษาถึงบทบาทหน้าที่ของผู้บริหาร  ตามกระบวนการหรือขั้นตอนต่าง ๆและเน้นหนักไปที่การจัดการและการบริหารภายในองค์การ  แต่การจัดการเชิงกลยุทธ์จะให้ความสำคัญกับปัจจัยต่าง ๆ โดยเฉพาะปัจจัยภายนอกองค์การ  หรือสภาวะแวดล้อมภายนอกด้านต่าง ๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการแข่งขัน  คำนึงถึงการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในระยะยาว  และสภาวะการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรม

          การจัดการกลยุทธ์ยังคำนึงถึงความความสำคัญของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์การ (Stakeholders) และการจัดการเชิงกลยุทธ์ยังทำหน้าที่ในการเชื่อมโยงประสานหน่วยต่าง ๆ ในองค์การให้สามารถบริหารจัดการเพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์การร่วมกัน
อัตราส่วนกำไร (profitability ratios) แสดงให้เห็นประสิทธิภาพของผู้บริหารในการควบคุมต้นทุนในด้านต่างๆ เพื่อก่อให้เกิดกำไร
4.1 อัตราส่วนกำไรขั้นต้น (gross profit) แสดงให้เห็นประสิทธิภาพของผู้บริหารในการควบคุมต้นทุนการผลิต
ถ้าอัตราส่วน gross profit เพิ่มมากขึ้น แสดงว่าผู้บริหารมีประสิทธิภาพในการควบคุมต้นทุนการผลิตให้ต่ำลงได้ ต้นทุนการผลิตคือ ต้นตุนที่เกิดจากของเสียระหว่างการผลิต เวลาการผลิต การซ่อมแซมเครื่องจักรและการบำรุงรักษา ซึ่งถ้าควบคุมต้นทุนการผลิตทั้ง 3 ตัวนี้ได้ จะทำให้กำไรขั้นต้นสูงขึ้น
4.2 Net Profit เป็นประสิทธิภาพของผู้บริหารในการควบคุมต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขายและในการบริหาร เพื่อทำให้กำไรสุทธิเพิ่มมากขึ้น
ถ้า Net Profit Margin สูง แสดงว่าผู้บริหารสามารถควบคุมต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขายและค่าใช้จ่ายในการบริหารให้ต่ำลงได้ ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขาย ต้นทุนส่วนใหญ่อยู่ที่สินค้าคงคลัง
ต้นทุนในการบริหารอยู่ที่ management เรื่องของการติดต่อสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพเรื่องของการใช้แรงจูงใจ เรื่องของการมีผู้บริหารระดับกลางมากเกินไป ดังนั้นจะต้องทำให้องค์กรแบนราบลง ซึ่งถ้าองกรแบนราบลงแล้วใช้ Empowerment แล้วจะทำให้สายบังคับบัญชาสั้นลง แต่ span of control (ขนาดของการควบคุม) ก็จะกว้างขึ้น จะทำให้ประหยัดต้นทุนในการบริหารได้
4.3 ROA หรือ ROE (Return on Assets ; Return on Equity) คือการใช้สินทรัพย์ทั้งหมดให้เกิดกำไรสุทธิ จะแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของผู้บริหารในการใช้สินทรัพย์เพื่อก่อให้เกิดกำไรสุทธิ
ถ้าอัตราส่วน ROA หรือ ROI สูงแสดงว่าผู้บริหารสามารถใช้สินทรัพย์ทั้งหมดให้เกิดกำไรสุทธิได้ดี จะทำให้ ROI กับROA สูงขึ้นได้ จะต้องให้มีกำไรมากๆซึ่งจะมีกำไรได้จะต้องมาก และใช้สินทรัพย์ให้น้อยลง
4.4 ROE--Return on Equity ประสิทธิภาพของผู้บริหารในการใช้ส่วนของผู้ถือหุ้นให้เกิดกำไรมากที่สุด หรือประสิทธิภาพของผู้บริหารในการตอบแทนผู้ถือหุ้นให้ได้มากที่สุด
การจะทำให้ ROE สูงขึ้นได้โดยการทำให้กำไรสุทธิสูงแต่ส่วนผู้ถือหุ้น (equity) ต่ำโดยการกู้มาลงทุน แต่จะกู้มากก็ไม่ได้เพราะจะกระทบกับ debt ratio และ TIE
วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การจัดสรรเงินทุนให้อยู่ในรูปของสินทรัพย์ถาวร

เพื่อก่อให้เกิดกำไร ถ้าจะจัดเงินทุนให้อยู่ในรูปสินทรัพย์ถาวร การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรเป็นการลงทุนที่ใช้เงินจำนวนมาก ระยะเวลาคืนทุนยาวนาน การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรต้องทำงบประมาณจ่ายลงทุน การตัดสินใจในงบประมาณจ่ายลงทุน ประกอบด้วยการวิเคราะห์ 2 ด้าน
1. การวิเคราะห์ผลตอบแทนที่คาดหวัง โดยการคำนวณ NPV IRR
2. การวิเคราะห์ผลตอบแทนที่ต้องการ โดยการคำนวณ WACC
การพิจารณางบการลงทุนในโครงการ จะทำได้โดยการคำนวณ cash flow แล้วนำมาประเมินการตัดสิน เวลาจะคำนวณเรื่องงบประมาณจ่ายลงทุน จะต้องคำนวณต้นทุนของเงินทุนก่อนและคำนวณผลตอบแทนที่ต้องการก่อน โดยคำนวณ WACC ออกมาก่อนว่าต้นทุนของเงินทุนเป็นเท่าไร แล้วเอาเงินนี้ไปลงทุนเสร็จแล้วได้รับผลตอบแทนที่คาดหวัง (expected rate) เป็นเท่าไร ผลตอบแทนที่คาดหวังนี้น่าจะมากกว่าผลตอบแทนที่ได้จากการคำนวณ WACC คือผลตอบแทนที่ได้สูงกว่าต้นทุนทางการเงินของเรา เราจึงยอมรับโครงการนั้น การคำนวณจะประกอบไปด้วยการทำ 3 ขั้นตอน
1. Initial Investment Outlay เป็นการคำนวณเงินลงทุนเริ่มต้นโครงการ เช่น เงินลงทุนซื้อสินทรัพย์ถาวรที่เป็นอาคาร ที่ดิน อุปกรณ์หรือเครืองจักร และเงินลงทุนหมุนเวียนสุทธิ NWC--Net Working Capital
2. Operating Cash flow เป็นการคำนวณกระแสเงินสดที่ได้จากการดำเนินงานตลอดอายุโครงการ โดยการคำนวณตามหลักบัญชี
3. Terminal Year Cash flows เป็นขั้นตอนปิดอายุโครงการ จะมีอยู่ในปีสุดท้ายปีเดียว โดยการคำนวณมูลค่าซากของโครงการ แล้วบวกกลับด้วย NWC ที่หักไว้ตั้งแต่ต้นในปีเริ่มโครงการแล้วเอา cash flow 5 ปีที่ได้ไปคำนวณหาวิธีการประเมินโครงการว่าจะยอมรับโครงการนี้หรือไม่ โดยการคำนวณ
PB--Payback Period เป็นการคำนวณระยะเวลาที่ธุรกิจลงทุนในสินทัพย์ถาวรแล้วได้รับผลตอบแทนกลับคืนมาเป็นจำนวนกี่ปี จึงจะเท่ากับเงินลงทุนที่จ่ายเริ่มแรก (เป็นวิธีการคำนวณที่ง่าย แต่มีข้อเสีย คือ ไม่ได้คำนึงถึงว่าหลังจากระยะเวลาคืนทุนแล้ว โครงการนั้นจะมีเงินสดเท่าไร) ส่วนใหญ่จะไม่ได้ใช้
NPV--Net Present Value คือมูลค่าปัจจุบันสุทธิ เป็นวิธีการประเมินโครงการโดยพิจารณาผลต่างระหว่างกระแสเงินสดที่ได้มาตลอดอายุโครงการ เมื่อคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันกับเงินลงทุนเมื่อเริ่มโครงการ
NPV คือผลต่างของกระแสเงินสดที่ได้รับตลอดอายุโครงการ คือปีที่ 1 2 3 4 เมื่อคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันแล้วเอามาลบกับปีที่ 0 ที่เราลงทุนเมื่อเริ่มโครงการไป คือผลต่างของกระแสเงินสดที่ได้รับตลอดอายุโครงการเมื่อคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันแล้ว กระแสเงินสดที่จ่ายเมื่อเริ่มต้นโครงการ โดยเราจะพิจารณายอมรับโครงการที่ NPV มีค่าเป็นบวกและปฏิเสธโครงการที่ NPV ที่มีค่าเป็นลบ
ถ้าโครงการที่มีวัตถุประสงค์เหมือนกันจำเป็นจะต้องเลือกเพียงโครงการเดียว ให้พิจารณาโครงการที่ NPV ที่มีค่าเป็นบวกสูงที่สุด
ถ้าโครงการที่มีวัตถุประสงค์ต่างกัน สามารถเลือกได้หลายโครงการ ให้พิจารณาโครงการที่ NPV มีค่าเป็นบวกทุกโครงการ แต่มีข้อแม้ว่าองค์กรจะต้องมีเงินลงทุนในแต่ละโครงการที่เพียงพอด้วย เช่น มี 10 โครงการที่ NPV มีค่าเป็นบวกแต่ต้องใช้เงินลงทุน 1000 ล้าน แต่มีเงินแค่ 100 ล้าน จะต้องหาโครงการที่เหมาะสมกับองค์กรใน 100 ล้านให้มากที่สุด
IRR--Internal Rate of Return คือผลตอบแทนภายในเป็นการประเมินโครงการโดยการพิจารณาอัตราดอกเบี้ยหรือผลตอบแทน ที่ทำให้กระแสเงินสดที่ได้รับในแต่ละปี ตลอดอายุโครงการเมื่อคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันแล้ว เท่ากับเงินสดเมื่อเริ่มต้นโครงการ จะยอมรับโครงการที่มีวัตถุประสงค์เหมือนกัน ให้เลือกโครงการที่มี IRR สูงที่สุด
ถ้าเป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ให้เลือกทุกโครงการที่ IRR มากกว่า WACC แต่ต้องมีเงินลงทุนเพียงพอด้วย
MIRR--Modified Internal Rate of Return อัตราผลตอบแทนที่ปรับปรุงแล้ว เป็นวิธีการคำนวณเช่นเดียวกับ IRR คือการคำนวณดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนที่ทำให้กระแสเงินสดที่ได้รับตลอดอายุโครงการ เมื่อคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันแล้วเท่ากับเงินลงทุนเมื่อเริ่มโครงการ แต่กระแสเงินสดที่ได้รับในแต่ละปีนำไปลงทุนต่อ โดยได้รับผลตอบแทนเท่ากับ WACC
MIRR จะมีอยู่ 2 ตัว ที่คิดเหมือนกัน คือจะหาอัตราผลตอบแทนที่ทำให้กระแสเงินสดที่ได้รับในแต่ละปี เท่ากับกระแสเงินสดที่ลงทุนเมื่อเริ่มโครงการแต่ว่ากระแสเงินสดที่ได้รับในแต่ละปี จะเอาไปลงทุนต่อ โดยได้รับผลตอบแทนเท่ากับ WACC เวลาจะตัดสินใจยอมรับโครงการให้เลือกโครงการที่ MIRR มีค่ามากกว่า WACC และมีค่าสูงสุด

ปัจจัยที่ทำให้มูลค่าของหุ้นสามัญในท้องตลาดสูงที่สุดมี 2 ปัจจัย
1. เงินปันผล เมื่อจ่ายเงินปันผลมากเท่าไรราคาของหุ้นสามัญก็จะสูงขึ้นเท่านั้น
2. ความเสี่ยง คือโอกาสที่จะสูญเสียบางอย่าง ในทางการเงินจะพิจารณาความเสี่ยงได้จาก ความปลอดภัยของเงินลงทุนกับอัตราผลตอบแทน ถ้าความปลอดภัยของเงินลงทุนน้อย แสดงว่ามีความเสี่ยงสูงเมื่อมีความเสี่ยงสูง อัตราผลตอบแทนต้องสูง ตามหลักการของ Trade off (high risk high return) ในทางตรงกันข้าม ถ้าความปลอดภัยมาก ความเสี่ยงก็จะน้อย ผลตอบแทนก็จะน้อย
Trade off มี 5 ปัจจัย
1. ประเภทของธุรกิจ ธุรกิจที่ต่างกันก็จะมีความเสี่ยงที่ต่างกันผลตอบแทนก็ต่างกัน
2. ขนาดของธุรกิจ ธุรกิจประเภทเดียวกันแต่มีขนาดต่างกัน ธุรกิจขนาดใหญ่ก็จะมีความเสี่ยงมากกว่าธุรกิจขนาดเล็ก
3. เทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่ใช้ในองค์กร ธุรกิจที่ลงทุนในทรัพย์สินถาวรมากเท่ไร ก็มีความเสี่ยงมากเท่านั้น เช่น ธุรกิจสายการบิน
4. การใช้ประโยชน์จากหนิ้สิน ถ้าใช้หนี้มาก ๆ จะมีความเสี่ยงสูง แต่จะทำให้มีเงินไปลงทุนในในสินทรัพมาก โอกาสที่จะทำก็มากตามไปด้วย
5. สภาพคล่อง องค์กรที่มีสภาพคล่องมาก ๆ ความเสี่ยงก็น้อย การมีสภาพคล่องมาก คือการมีสินทรัพย์หมุนเวียนมาก แต่ตัวที่ก่อให้เกิดกำไรคือสินทรัพย์ถาวร ดังนั้น การที่มีสภาพคล่องมากหมายความว่าเอาเงินไปลงทุนในสินทรัพย์สินทรัพย์หมุนเวียนมาก เหลือเงินลงทุนในสินทรัพย์ถาวรน้อย ทำให้โอกาสที่จะทำกำไรน้อยตามไปด้วย

การตัดสินใจลงทุน

1. นโยบายการจัดหาเงินทุนหมุนเวียน ทั้ง 3 แนวคิด
- แนวคิดขาดดุล
- แนวคิดเกินดุล
- แนวคิดสมดุล
2. การจัดการสินค้าคงเหลือ : ตามแบบจำลองปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด EOQ
- การกำหนดปริมาณการสั่งซื้อต่อครั้งที่ทำให้เกิดประหยัด
- การกำหนดจุดสั่งซื้อ
- การกำหนดระดับสินค้าคงเหลือเผื่อขาด
3. ความเสี่ยงและผลตอบแทน :
- ความเสี่ยงและผลตอบแทนจะมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน โดยการลงทุนใดที่มีความเสี่ยงสูง ผลตอบแทนที่ต้องการก็จะสูงตาม
- ความเสี่ยงของการลงทุนในหุ้นมี 2 ส่วนคือ ส่วนที่สามารถขจัดได้ และความเสี่ยงจากภาวะตลาด
- ความเสี่ยงที่เกิดจากการลงทุนในหลักทรัพย์สามารถทำให้ลดลงได้โดยการลงทุนในหลักทรัพย์มากชนิดหรือเพิ่มขนาดของ portfolio
- ความเสี่ยงจากภาวะตลาด เป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นและกระทบกับกับทุกกิจการโดยรวมอย่างเป็นระบบเช่นเกิดสงคราม ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ซึ่งไม่สามารถขจัดได้ด้วยการกระจายการลงทุน
4. การลงทุนในสินทรัพยไม่หมุนเวียน (สินทรัพย์ถาวร)
- การประเมินความคุ้มค่าของโครงการ หลังจากได้ประมาณกระแสเงินสดที่เกี่ยวข้องแล้ว
- วิธี NPV : มูลค่าปัจจุบันสุทธิ วิธี IRR : อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน
- ความเสี่ยงของโครงการ
1. ความเสี่ยงเอกเทศ : คำนึงเฉพาะตัวโครงการ
2. ความเสี่ยงของกิจการ : พิจารณาผลที่จะส่งถึงบริษัท แต่ถูกขจัดได้
3. ความเสี่ยงตลาด
การตัดสินใจหาเงินทุน
1. แหล่งเงินทุนจากเจ้าหนี้
- ข้อดีข้อเสียของการระดมเงินทุนระยะยาวจากเจ้าหนี้ (หุ้นกู้)
2. แหล่งเงินทุนจากส่วนของเจ้าของ : หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ
- ข้อดีข้อเสียของการออกหุ้นสามัญ
- ข้อดีข้อเสียของการออกหุ้นบุริมสิทธิ
- ลักษณะและข้อดีข้อเสียของหลักทรัพย์แปลงสภาพ
3. ข้อพิจารณาในการจัดหาเงินทุน
- ปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการตัดสินใจระดมเงินทุนระยะยาวจากส่วนของเจ้าของ
4. แนวคิดของต้นทุนเงินทุน
- ต้นทุนเงินทุนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก WACC
5. โครงสร้างเงินทุนที่เหมาะสม : การกำหนดสัดส่วนของหนี้สินระยะยาวและส่วนของเจ้าของ ที่ทำให้ราคาตลาดของหุ้นสามัญสูงสุด
- ปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการตัดสินใจเกี่ยวกับโครงสร้างเงินทุน
6. ความเสี่ยงของกิจการ
- ความเสี่ยงทางธุรกิจ : เกิดจากการดำเนินงานของธุรกิจนั้น ๆ
- ความเสี่ยงทางการเงิน : เกิดเพิ่มจากการตัดสินจัดหาเงินทุนโดยการกู้ยืม
7. การควบรวมกิจการ
- รูปแบบและลักษณะ
- มูลเหตุของการควบรวมกิจการ

financial system

ระบบการเงิน (financial system) เปรียบเสมือนระบบหมุนเวียนโลหิตของร่างกายที่สูบฉีดโลหิตไปยังอวัยวะต่าง ๆ เพื่อให้การทำงานของอวัยวะแต่ละส่วนเป็นปกติ ถ้าระบบหมุนเวียนโลหิตไม่ดี การทำงานของอวัยวะก็บกพร่อง ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบร่างกาย ระบบการเงินจะเกี่ยวกับสภาพคล่อง (liquidity) ในการดำเนินงาน เกี่ยวข้องกับการจัดการเงินสดหมุนเวียน ถ้าธุรกิจขาดเงินทุน อาจก่อให้เกิดปัญหาขึ้นทั้งโดยตรงและทางอ้อม โดยที่การจัดการทางการเงินจะมีหน้าที่สำคัญ 3 ประการ ดังต่อไปนี้ 

1. การพยากรณ์ (forecast) การศึกษา วิเคราะห์ การคาดกราณ์ การกำหนดทางเลือก และการวางแผนทางด้านการเงินของธุรกิจ เพื่อใช้ทรัพยากรทางการเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยนักการเงินสามารถใช้หลักการทางสถิติและแบบจำลองทางคณิตศาสตร์มาประยุกต์ การพยากรณ์ทางการเงิน จะอาศัยข้อมูลจากทั้งภายในและภายนอกองค์การ ตลอดจนประสบกราณ์ของผู้บริหารในการตัดสินใจ 

2. การจัดการด้านการเงิน (financial management) เกี่ยวข้องกับเรื่องการบริหารเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น รายรับและรายจ่าย การหาแหล่งเงินทุนจากภายนอก เพื่อที่จะเพิ่มทุนขององค์การ โดยวิธีการทางการเงิน เช่น การกู้ยืม การออกหุ้นหรือตราสารทางการเงินอื่น เป็นต้น 

3. การควบคุมทางการเงิน (financial control) เพื่อติดตามผล ตรวจสอบ และประเมินตวามเหมาะสมในการดำเนินงานว่าเป็นไปตามแผนที่กำหนดหรือไม่ ตลอดจนวางแนวทางแก้ไขหรือปรับปรุงให้การดำเนินงานทางการเงินของธุรกิจมีประสิทธิภาพ โดยที่การตรวจสอบและการควบคุมการทางการเงินของธุรกิจสามารถจำแนกออกเป็น 2 ประเภทดังต่อไปนี้ 

การควบคุมภายใน (internal control) 
การควบคุมภายนอก (external control) 
ระบบสารสนเทศด้านการเงิน (finalncial information system) เป็นระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นสำหรับสนับสนุนกิจกรรมทางด้านการเงินขององค์การ ตั้งแต่การวางแผน การดำเนินงาน และการควบคุมทางด้านการเงิน เพื่อให้การจัดการทางการเงินเกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยที่แหล่งข้อมูลสำคัญในการบริหารเงินขององค์การมีดังต่อไปนี้ 

1. ข้อมูลจากการดำเนินงาน (operatins data) เป็นข้อมูลที่ได้จากการปฏิบัติงานของธุรกิจ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการควบคุม ตรวจสอบ และปรับปรุงแผนการเงินขององค์การ 

2. ข้อมูลจากการพยากรณ์ (forecasting data) เป็นข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมและประมวลผล เช่น การประมาณค่าใช้จ่ายและยอดขายที่ได้รับจากแผนการตลาด โดยใช้เทคนิคและแบบจำลองการพยากรณ์ โดยที่ข้อมูลจากการพยากรณ์ถูกใช้ประกอบการวางแผน การศึกษาความเป็นไปได้ และการตัดสินใจลงทุน 

3. กลยุทธ์องค์การ (corporate strategy) เป็นเครื่องกำหนดและแสดงวิสัยทัศน์ ภารกิจ วัตถุประสงค์ แนวทางการประกอบธุรกิจในอนาคต เพื่อให้องค์การบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ โดยที่กลยุทธ์จะเป็นแผนหลักที่แผนปฏิบัติการอื่นต้องถูกจัดให้สอดคล้องและส่งเสิรมความสำเร็จของกลยุทธ์ 

4. ข้อมูลจากภายนอก (external data) ข้อมูลทางเศรษฐกิจและการเงิน สังคม การเมือง และปัจจัยแวดล้อมที่มีผลต่อธุรกิจ เช่น อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นต้น โดยข้อมูลจากภายนอกจะแสดงแนวโน้มในอนาคตที่ธุรกิจต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานกราณ์ 

การจัดการทางการเงิน

การจัดการทางการเงินก็คืออิสรภาพทางการเงิน ซึ่งถ้าเป็นบุคคลก็จะหมายถึงการมีทรัพย์สิน ไม่มีหนี้สิน มีเงินลงทุนที่ให้ดอกให้ผลไว้ใช้ยามที่เราไม่ได้ทำงานหรือเกษียณแล้ว
สำหรับธุรกิจ อิสรภาพทางการเงินหมายถึงการมีกระแสเงินสดพอเพียงให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างไม่ติดขัด และเป้าหมายสูงสุดคือการไม่มีหนี้สิน กิจการเจริญเติบโต สร้างรายได้อย่างสม่ำเสมอ สามารถจ่ายเงินปันผลคืนให้กับผู้ถือหุ้นในอัตราที่ดี
ในการจัดการการเงินของธุรกิจ มีงานหลักๆ อยู่ 3 อย่างคือ การจัดหาเงินลงทุนของธุรกิจ การวางแผนและวิเคราะห์การลงทุนของกิจการ และการจัดการสภาพคล่อง ซึ่งในการจัดการจะมีงานอื่นๆ อยู่ด้วย เช่น การวางแผนภาษี การวางนโยบายเทอมการขายที่ให้กับลูกค้า ฯลฯ
การจัดหาเงินลงทุนของธุรกิจหาได้จากแหล่งใหญ่ 2 แหล่งคือ เงินทุน (Owner's Equity) และเงินกู้ยืม (Debt) จะใช้แหล่งไหนก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและอัตราเงินปันผลตอบแทน หรืออัตราดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายให้กับเจ้าของเงิน
โดยทั่วไปกิจการจะใช้เงินกู้ยืมให้มากเท่าที่จะสามารถใช้ได้ เพราะต้นทุนถูกกว่า และดอกเบี้ยจ่ายถือเป็นค่าใช้จ่ายที่นำไปลดภาระภาษีได้ ในขณะที่การออกหุ้นเพื่อระดมทุนต้องสูญเสียการควบคุมบริษัทไปบางส่วน และเงินปันผลที่จ่ายให้กับผู้ถือหุ้น บริษัทไม่สามารถนำไปหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณเงินได้เพื่อเสียภาษีได้
อย่างไรก็ดี การกู้ยืมเงินส่วนใหญ่จะมีระยะเวลาที่สั้นกว่าการใช้เงินส่วนทุน และส่วนใหญ่ต้องใช้หลักประกัน ดังนั้นจึงต้องพิจารณาด้วยว่าแหล่งเงินทุนนั้นมีระยะเวลาเหมาะสมหรือไม่ ถ้าจะนำไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนก็สามารถใช้แหล่งเงินทุนระยะสั้นได้ แต่ถ้าจะใช้ในการลงทุนซื้อทรัพย์สิน เช่น ที่ดิน หรือสร้างโรงงาน ควรใช้แหล่งเงินทุนระยะยาว เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการขาดสภาพคล่องในภายหลัง กรณีถูกดึงเงินคืน กิจการที่เริ่มต้นใหม่ๆ การคืนทุนอาจจะใช้เวลานาน และอาจจะไม่มีทรัพย์สินไปใช้เป็นหลักประกัน จึงอาจจะยังไม่สามารถกู้ยืมเงินได้ ต้องใช้เงินส่วนทุนไปก่อน จนกว่าจะแข็งแกร่งขึ้น
แหล่งเงินทุนยังแบ่งได้เป็นแหล่งเงินทุนภายนอกและทุนภายใน ทุนภายนอกคือ การกู้ยืมหรือการออกหุ้นขาย ตามที่ได้กล่าวไปแล้ว ส่วนทุนภายใน จะเป็นแหล่งที่ไม่มีต้นทุนทางการเงิน แต่อาจจะมีต้นทุนแฝงทางด้านอื่น
กล่าวโดยกว้างๆ แหล่งเงินทุนภายในจะมาจากกำไร และประสิทธิภาพของการจัดการ โดยกำไรที่ได้จากการดำเนินงาน ถ้าไม่จ่ายเป็นเงินปันผลออกไป ก็นำไปใช้ในการขยายธุรกิจได้ รวมถึงการลดความต้องการเงินทุนหมุนเวียนลง เช่น ลดปริมาณสินค้าคงคลัง หรือที่เรียกกันว่าสต็อกสินค้า ลดระยะเวลาการผลิต ให้ผลิตเสร็จเร็วขึ้น เช่นที่ญี่ปุ่นทำการผลิตแบบ Just In Time คือไม่เก็บสต็อกเลย ผลิตเสร็จก็ส่งไปให้ลูกค้า หรือการเก็บหนี้ให้เร็วขึ้น (โดยไม่ให้เสียลูกค้า) หรือการขยายเวลาจ่ายชำระค่าสินค้าหรือวัตถุดิบให้กับเจ้าหนี้การค้า (โดยไม่ให้เสียเครดิต) เป็นต้น
หน้าที่หลักอย่างที่สองคือการวางแผนและวิเคราะห์การลงทุน ธุรกิจจะมีการเติบโตต้องมีการขยายการลงทุนเพื่อเป็นการขยายรายได้ ในการวิเคราะห์ว่าจะลงทุนในโครงการไหน ต้องพิจารณาเปรียบเทียบผลตอบแทนกับต้นทุนที่ลงไป โดยสามารถใช้วิธีคิดลดกระแสเงินสด (discounted cash flow) เปรียบเทียบกับเงินลงทุนที่ต้องใช้ในปัจจุบันได้ โดยคำนวณเป็นกระแสเงินสดสุทธิในปัจจุบันหรือ net present value ถ้ากระแสเงินสดสุทธิเป็นลบ ก็เลิกคิดที่จะลงทุนไปได้เลย ถ้าเป็นบวกและมีหลายโครงการให้เลือก ก็ต้องเลือกที่เป็นบวกมากที่สุด
วันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การบริหารการเสี่ยงภัย

การบริหารการเสี่ยงภัย หมายถึง กระบวนการวางแผนและประเมินผลความเสี่ยง โดยการเลือกภัยวิธีที่ดีสุด ในการจัดการความสูญเสีย และผลต่างๆที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขั้นตอนในการจัดการความเสี่ยงภัย มีดังนี้ คือ
1.           การวิเคราะห์ภัยที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย
2.           การหาวิธีการในการจัดการความเสี่ยงภัย
3.           การคัดเลือกวิธีการที่ดีที่สุด
4.           การปฏิบัติตามแผนหรือวิธีการที่ได้เลือกไว้
5.           ตรวจสอบและเปลี่ยนแปลงวิธีการให้เหมาะสมกับภัยที่เปลี่ยนแปลงไป
วิธีการจัดการความเสี่ยงภัย ทำได้หลายรูปแบบดังนี้
1. การหลีกเหลี่ยงความเสี่ยงภัย ( Risk avoidance ) ทำได้โดยการไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจกรรมหรืองาน ที่จะก่อให้เกิด ความเสี่ยงภัย นั้น เช่น กลัวเครื่องบินตก ก็ไม่ไปนั่งเครื่องบิน ไม่กล้านำเงินไปลงทุนธุรกิจ เพราะกลัวขาดทุน ก็นำเงินไปฝากธนาคาร หรือลงทุนในธุรกิจ ที่มีความเสี่ยงภัยน้อยกว่า อย่างไรก็ตามการหลีกเหลี่ยงความเสี่ยงภัยบางครั้งอาจให้ผลเสีย เพราะบางครั้งเราอาจปฏิเสธโครงการ ที่มีความเสี่ยงสูงแต่มีประโยชน์ต่อสังคมมาก เช่น โครงการโรงไฟฟ้าปรมาณู โรงงานอุตสาห-กรรมแร่สำคัญต่างๆ ที่มีความเสี่ยงภัย ต่อการเกิดมลภาวะเป็นพิษ แต่มีคุณประโยชน์ทางเศรษฐกิจสูง ดังนั้นในบางครั้งการจัดการการเสี่ยงภัย โดยวิธีนี้ควรเป็นวิธีสุดท้าย
 2. การลดความเสี่ยงภัย ( Risk Reduction ) ทำได้โดยอาจลดจำนวนครั้ง ( frequency ) หรือลดความรุนแรง (severity) ของการเกิดภัย ซึ่งทำได้ 3 วิธี คือ
·             การป้องกันการเกิดความเสียหาย ( Loss prevention ) โดยจะกระทำก่อนที่จะมีความเสียหายเกิดขึ้น เช่น การเปลี่ยนสายไฟ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่เก่า การติดป้ายห้ามสูบบุหรี่ในโรงงาน การตรวจสอบสภาพรถยนต์อยู่เสมอ การติดตั้งเครื่องดับเพลิง การติดตั้งสัญญาณการเตือนภัยกันขโมย เป็นต้น
·             การควบคุมความเสียหาย ( Loss control ) วิธีนี้จะทำการขณะ หรือ ภายหลังจากที่มีความเสียหายเกิดขึ้น ทั้งนี้เพื่อควบคุมความรุนแรงของความเสียหายนั้นหรือลดความเสียหายลง เช่น การที่พนักงานดับเพลิงทำการดับเพลิงอย่างทันท่วงที การติดตั้งเครื่องพ่นน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ การที่ผู้เจ็บป่วยรีบไปหาหมอรักษา เพื่อไม่ให้มีอาการหนักมากขึ้น เป็นต้น
·             การแยกทรัพย์สิน ( Separation ) วิธีนี้จะกระทำก่อนเกิดความเสียหาย เช่น การเก็บของมีค่าไว้คนละแห่ง เช่น บ้าน ธนาคาร การสร้างโรงงาน และโกดังไว้คนละแห่ง เมื่อเกิดไฟไหม้จะไม่เสียหายทั้งหมด หรือการแยกสินค้าไว้หลายๆโกดังเช่นกัน
 3. การรับการเสี่ยงภัยไว้เอง ( Risk retention ) คือ การที่เรายินยอมรับภาระความเสียหายไว้เองหากมีภัยเกิดขึ้น โดยจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม และอาจจะรับภาระนี้ไว้ทั้งหมด หรือบางส่วนก็ได้ การจัดการการเสี่ยงภัยวิธีนี้มีเหตุผล คือ
·             ภัยที่เกิดขึ้นนั้นก่อให้เกิดความเสียหายน้อยมาก พอที่จะรับภาระได้ เช่น ภัยที่เกิดจากปากกาสูญหายซึ่งราคาไม่แพง
·             ความเสี่ยงภัยนั้นไม่สามารถโอนไปให้ผู้อื่นได้ เช่น การที่ผู้ส่งออกหรือผู้ลงทุนในต่างประเทศต้องยอมรับความเสี่ยง ที่ทรัพย์สินของตนจะถูกรัฐบาลต่างประเทศยึด หรือ อายัด ด้วยสาเหตุต่างๆ
·             ได้พิจารณาแล้วว่า วิธีนี้เสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด
 4. การโอนความเสี่ยงภัย ( Risk Transfer ) เป็นวิธีการจัดการการเสี่ยงภัยที่นิยมมากในปัจจุบันนี้ โดยการโอนความเสี่ยงภัยที่จะ ก่อให้เกิด ความเสียหายทั้งหมด หรือ บางส่วน ไปให้บุคคลอื่นรับภาระแทน ซึ่งมีวิธีการกระทำได้ 2 วิธี
·             การโอนความเสี่ยงภัยไปให้ผู้อื่นที่ไม่ใช่การประกันภัย ( Non-insurance Transfer ) หมายถึง การโอนความเสี่ยงภัย ไปให้บุคคลอื่น ที่ไม่ใช่บริษัทประกันภัยโดยสัญญา ซึ่งในสัญญาบางประเภทคู่สัญญา จะได้รับการโอนความเสี่ยงภัย ในการปฏิบัติตาม สัญญานั้นไปด้วย เช่น การจ้างบริษัทมาทำความสะอาดภายนอกอาคารที่สูงๆ การทำสัญญาซื้อ- ขายสินค้าล่วงหน้าโดยการกำหนดราคา ที่แน่นอน ถึงแม้ว่าราคาจะเปลี่ยนแปลงก็ตาม ก็จะต้องซื้อ - ขายในราคาเดิม การให้มีการค้ำประกันการทำงานของพนักงาน
·             การโอนความเสี่ยงภัยในรูปของการประกันภัย ( Insurance Transfer ) หมายถึง การโอนความเสี่ยงภัยไปให้บริษัทประกันภัย ในรูปของการเอาประกันไว้กับบริษัทประกันภัย โดยการทำสัญญาประกันภัย ซึ่งบริษัทประกันภัยสัญญาว่าจะชดใช้ค่าเสียหาย ที่เกิดขึ้น แก่ผู้เอาประกันภัย สำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้น และได้รับการคุ้มครองตามสัญญาประกันภัยนั้น เช่น การทำประกันรถยนต์ เป็นการโอนความเสี่ยงภัยในความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับรถยนต์ไปให้บริษัทประกันภัย โดยสัญญาว่าหากรถยนต์เกิดอุบัติเหตุ เสียหาย บริษัทประกันภัยจะรับชดใช้ให้หรือ ซ่อมแซมให้ หรือ การทำประกันชีวิต โดยผู้เอาประกันเห็นว่า หากตัวเองประสบอันตรายถึงชีวิต จะทำให้ครอบครัวลำบาก จึงโอนความเสี่ยงภัยนี้ไปให้บริษัทประกันภัย โดยสัญญาว่า ถ้าผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตลงบริษัทจะชดใช้เงิน จำนวนหนึ่งให้กับครอบครัวเป็นการบรรเทา ในเรื่องของความเป็นอยู่ที่ขาดรายได้จากสามี ซึ่งเป็นความเสี่ยงภัยอันหนึ่งเช่นกัน


ฺBreakingnews