MBA Gossip

  • ข้าวผัดหมู - *เครื่องปรุง* 1. ข้าวสวย ¾ ถ้วยตวง 2. หมูสับ 50 กรัม 3. หมูแฮมหั่นเป็นเส้นฝอย 3 แผ่น 4. หมูยอหั่นเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า 1 ช้อนโต๊ะ 5. กระเทีย...
    7 ปีที่ผ่านมา
  • ปวดหลัง - * อาการปวดหลังร่วมกับแขนขาชาไม่มีแรง* กลั้นปัสสาวะและอุจจาระไม่ได้ ซึ่งลักษณะอาการดังกล่าวเป็นไปได้ว่าไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ ทางที่ดีควรรีบปรึก...
    7 ปีที่ผ่านมา
  • เพื่อนแพง - พุทธศักราช 2476 นาข้าวชูรวงทองเหลืองอร่ามเต็มท้องทุ่งบ้านสร้าง อำเภอหนึ่งในจังหวัดปราจีนบุรี เสียงควบขี่ไอ้เปลี่ยว ควายคู่ใจของ ไอ้ลอ (ศุกลวัฒน์ คณารศ)...
    8 ปีที่ผ่านมา
Custom Search
วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ตลาด (Market) มีพื้นฐานที่ประกอบด้วย


ตลาด (Market) มีพื้นฐานที่ประกอบด้วย1. Needs, wants, demands
- Needs (ความจำเป็น
)
เป็นอำนาจพื้นฐานที่กระตุ้นให้บุคคลเกิดความต้องการในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพื่อมาตอบสนองในสิ่งที่ขาดหายไป แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

Physical needs คือ ความต้องการทางร่างกาย เช่น ปัจจัย 4 (อาหาร ที่อยู่อาศัย เสื้อผ้า ยารักษาโรค) ความอบอุ่น ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
Social needs คือ ความต้องการทางสังคม เช่น การยอมรับ ความรักจากคนรอบข้าง
Individual needs คือ ความต้องการส่วนบุคคลซึ่งแตกต่างกัน เช่น ความต้องการศึกษาหาความรู้ การแสดงออกถึงความเป็นตัวของตัวเอง


- Wants (ความต้องการ)
คือ สิ่งที่สามารถตอบสนอง Need ได้ ซึ่งความต้องการของคนแต่ละคนจะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรม สังคม และบุคลิกภาพส่วนบุคคล

Demands (ความต้องการซื้อ
)
เป็นความต้องการในรูปของอำนาจในการซื้อ เนื่องจากมนุษย์มีความต้องการไม่จำกัด แต่มีเงินจำกัด เพราะฉะนั้นจึงต้องเลือกซื้อเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าและสามารถตอบสนองหรือสร้างความพึงพอใจสูงสุด
2. Products and servicesคือ สิ่งที่ผู้ผลิตหรือนักการตลาดนำเสนอแก่ตลาดเพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความสนใจ (attention) การซื้อ (acquisition) การใช้ (use) หรือการบริโภค (consumption) โดยผลิตภัณฑ์นั้นต้องสามารถตอบสนองความจำเป็นและความต้องการของผู้บริโภค แบ่งเป็น 6 ประเภท คือ
สินค้า (Goods) เช่นสินค้าบริโภคอุปโภคต่าง สินค้าที่ผลิตจากโรงงาน เป็นต้น
บริการ (Services) เช่น ธุรกิจเกี่ยวกับการเดินทาง ที่พัก สุขภาพ ร้านค้า ร้านอาหาร หรือ สิ่งบันเทิง ที่อำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวัน เป็นต้น
บุคคล (Persons) เช่น การอบรม ฝึกฝนทักษะ แรงงาน บุคลากร เป็นต้น
สถานที่ (Place)เช่น โรงแรม วัด สนามกีฬา เป็นต้น
องค์กร (Organizations) เช่น ธนาคาร ธุรกิจเอกชน องค์กรอิสระ เป็นต้น
แนวความคิด (Ideas) /Services (บริการ) คือ กิจกรรมหรือผลประโยชน์ที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลนำเสนอแก่บุคคลอื่น โดยเป็นสิ่งที่ไม่สามารถจับต้องได้ ตัวอย่างเช่น บริการเสริมสวย ซ่อมรถ ทำความสะอาด หรือ บริการรักษาความปลอดภัย เป็นต้น
3. คุณค่า/ มูลค่า/ ความพึงพอใจ
- คุณค่า(Value) = คุณค่าของผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคได้รับ
- มูลค่าของผลิตภัณฑ์ = จำนวนเงินที่จ่ายเพื่อซื้อผลิตภัณฑ์
- ความพึงพอใจของลูกค้า (Customer Satisfaction) เกิดขึ้นเมื่อ : คุณค่าที่ได้รับ > มูลค่าที่จ่าย
4. การแลกเปลี่ยน (Exchange)
Exchange (การแลกเปลี่ยน
)
คือ การกระทำที่ทำให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการจากบุคคลอื่น โดยการเสนอสิ่งอื่นเป็นการตอบแทน (เช่น เงิน สิ่งของ หรือคำสัญญา เป็นต้น
)
Transaction (การทำธุรกรรม
)
เป็นการทำการค้าระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย คือระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย โดยมีลักษณะดังนี้ ต้องมี 2 สิ่งที่มีคุณค่า

มีข้อตกลงหรือเงื่อนไข
มีระยะเวลาของการตกลง
มีสถานที่ในการตกลง
Relationships marketing (การสร้างความสัมพันธ์ทางการตลาด
)กระบวนการสร้าง รักษา และการเพิ่มสัมพันธภาพกับลูกค้า และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น พนักงาน ผู้ป้อนปัจจัยการผลิต ผู้กระจายสินค้า ผู้ค้าปลีก ธนาคาร รัฐบาล ชุมชน เป็นต้น
5. ตลาด/ตลาดเป้าหมาย
- ในความหมายของบุคคลทั่วไป ๆ
ตลาด : สถานที่ที่เป็นศูนย์กลางในการซื้อขาย
- ในความหมายของทางธุรกิจ
ตลาด : กลุ่มบุคคลที่คิดว่าจะซื้อสินค้า หรือความต้องการของผู้ซื้อกลุ่มหนึ่งที่มีอำนาจซื้อ
- ตลาดเป้าหมาย (Target Markets) : กลุ่มลูกค้าซึ่งผู้ขายเลือกที่จะเสนอขายสินค้า
ระบบการตลาด
องค์ประกอบสำคัญในระบบการตลาด คือ บริษัทและตลาด ซึ่งเชื่อมต่อกันด้วยการเคลื่อนย้ายของสิ่งสำคัญ 4 ประการ คือ
       1. สินค้าและบริการ
       2. การสื่อสารไปสู่ตลาด
       3. จำนวนเงินที่มาสู่บริษัท
       4. ข้อมูลที่บริษัทได้รับ
ซึ่งโดยรวมแล้ว การตลาด อาจหมายถึงการ “การสร้างคุณค่า(Value Creation)” เพราะว่าการตลาดที่ทันสมัยจะต้องเน้นการสร้างคุณค่าให้แก่ผู้บริโภค โดย เริ่มต้นจากการกำหนดคุณลักษณะ (Attributes) ของสินค้า สร้างจุดเด่น (Features) ให้สินค้า แปลจุดเด่นดังกล่าวให้เป็นคุณประโยชน์ (Benefits) ของสินค้า และต้องไม่จบอยู่แค่ตรงนี้ ต้องคิดต่อไปว่าจะให้คุณค่า (Value) อะไรแก่ผู้บริโภคจึงจะทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าสินค้าที่เรานำเสนอให้กับเขานั้นคุ้มกับต้นทุนชีวิตของเขา ไม่ว่าจะเป็นเงินที่เสียไป เวลาที่เสียไป และความพยายามที่ต้องเสียไป สินค้าใดที่มีคุณค่าไม่คุ้มต้นทุนชีวิตของลูกค้า สินค้านั้นย่อมไม่ยั่งยืนในสนามแข่งขันทางการตลาดหรือโลกของธุรกิจ
1. การวิเคราะห์-วิจัยตลาด หาโอกาสทางธุรกิจ เพื่อเข้าใจผู้ที่มีแนวโน้มจะเป็นลูกค้า และสิ่ง
ที่เขาต้องการ การทบทวนสถานะของธุรกิจ โดยการวิเคราะห์ตลาด และอุตสาหกรรม ในระดับมหภาค และจุลภาค

2. การวิเคราะห์ และ พัฒนากลยุทธ์การตลาด ที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ธุรกิจ ได้แก่ การวาง
เป้าประสงค์ของบริษัท การวิเคราะห์หน่วยธุรกิจ และประเมินโอกาสทางการตลาด การ
วางกลยุทธ์ทางการตลาด และผลิตภัณฑ์ การวิเคราะห์คู่แข่งและการวางตำแหน่งของ
ผลิตภัณฑ์

3. การกำหนดเป้ายอดขาย และเป้าหมายทางการตลาด
มีความเฉพาะเจาะจง (Be specific) วัตถุประสงค์จะต้องมเป้าหมายที่เน้นเฉพาะ

4. การเลือกตลาดเป้าหมาย โดยการแบ่งตลาดรวมเป็นส่วนๆ เพื่อระบุถึงกลุ่มเป้าหมายที่
น่าสนใจ ช่วยในการตัดสินใจในการวางตำแหน่งทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ market
positioning และ การวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า

5. พัฒนาส่วนประสมทางการตลาด โดยการวิเคราะห์ส่วนประสมคู่แข่งและแนวทางการทำ
ตลาดของคู่แข่ง การจัดทำกลยุทธ์ และยุทธวิธีในการกำหนดส่วนประสมทางการตลาดที่
ระบุ The “Four Ps” – product, price, place, promotion (seller viewpoint) P ทั้ง 4
ในมุมมองของผู้ขาย ได้แก่ ผลิตภัณฑ์/บริการ ราคา สถานที่/ช่องทางการจัดจำหน่าย และ
การส่งเสริมการขาย
The “Four Cs” – customer solution, cost, convenience, and
communication (customer viewpoint) หรือคือ 4 C (ค) ในมุมมองของลูกค้า
ได้แก่ (คลาย)การแก้ปัญหา (ค่าใช้จ่าย)ต้นทุนในการครอบครอง
ความสะดวกสบาย และ (คุย) การติดต่อสื่อสาร

6. การสื่อสารทางการตลาด คือการทำให้กลุ่มเป้าหมายรู้จัก/รับรู้และ
ตอบรับผลิตภัณฑ์/บริการของบริษัท

7. แผนปฏิบัติการและงบประมาณการตลาด ครอบคลุมการวาง
แผนการขาย

การบริหารความพยายามทางการตลาด ตั้งแต่การวิเคราะห์ตลาด จัดเตรียม
ข้อมูลที่มีประโยชน์ในการวางแผน ดำเนินการและการควบคุมทางการตลาด ควบคุมการ
ปฏิบัติการ ควบคุมกลยุทธ์ โดยการตรวจประเมินทางการตลาด (Marketing Audit)

Total Quality Management

การบริหารหรือวิธีการจัดการที่จะให้ได้มาซึ่งงานหรือบริการที่มีคุณภาพ ด้วยการร่วมมือร่วมใจกันของทุกคน ทุกระดับ
ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าที่ดีกว่าและเป็นการจัดระบบบริหาร
ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

การดำเนินโครงการ TQM  เปรียบเสมือนกับการสร้างบ้านคุณภาพ บ้านที่แข็งแรงย่อมต้องมีเสาที่มาค้ำยันตัวบ้านไว้ ซึ่งคือกิจกรรมต่าง ๆ ในโครงการนั่นเอง
TQM ก็เปรียบเสมือนกับเสาของบ้าน ยิ่งมีเสาที่แข็งแรงมาค้ำยันตัวบ้านไว้มากเท่าไร บ้านก็ยิ่งแข็งแรงมากขึ้นเท่านั้น
วัตถุประสงค์ทั่วไปของ TQM                  1. เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า
                2. เพื่อพัฒนาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในกิจกรรมทุกด้าน
                3. เพื่อความอยู่รอดขององค์กรและสามารถเจริญเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง ภายใต้ภาวการณ์แข่งขันที่รุนแรง
                4. เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของพนักงานทุกคน
                5. เพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น
                6. เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
แนวทางการส่งเสริม TQM  ภายในองค์กร
                1.  ผู้บริหารระดับสูงต้องมีศรัทธาและมีความเชื่อมั่นว่า TQM  จะสามารถช่วยปรับปรุงพัฒนาองค์กรได้อย่างยั่งยืน
                2.  นำ TQM มาเป็นนโยบายในการบริหารธุรกิจ และประกาศให้พนักงานทุกคนได้รับรู้
                3.  จัดตั้งหน่วยงานส่งเสริม TQM  เพื่อเป็นหน่วยงานหลักในการผลักดันการดำเนินงานต่าง ๆ ในกิจกรรม TQM   ให้เกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม
                4.  จัดตั้ง TQM  Steering   Committee   โดยมีกรรมการผู้จัดการเป็นประธาน เพื่อกำหนดนโยบาย, ผลักดันการดำเนินการ, ติดตามผลและแก้ปัญหาหลัก ๆ ในการทำกิจกรรม TQM
                5.  หาที่ปรึกษา (Consultant)  หากคิดว่าจำเป็น
                6.  กำหนด  Road Map ของการทำ TQM  และแผนงานหลัก
                7.  ดำเนินการฝึกอบรมตามแผนงานที่กำหนด
                8.  ดำเนินการลงมือปฏิบัติในกิจกรรมต่าง ๆ ของ TQM
                9.  ผู้บริหาระดับกลางตรวจสอบการปฏิบัติและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
                10.ผู้บริหารระดับสูงตรวจวินิจฉัย (Diagnosis)  ผลการดำเนินงาน TQM เป็นระยะๆ
                11.ประเมินผลงานประจำปี
1. ช่วยแนะนำส่งเสริมให้ปฏิบัติงานมีสมรรถภาพยิ่งขึ้น ให้ขวัญและกำลังใจในกาทำงาน
2. มอบหมายงานให้รับผิดชอบ ให้ทุกคนเรียนรู้งานและเข้าใจงาน สามารถปฏิบัติงานแทนกันได้ในบางกรณี
3. กระตุ้นให้ทุกคนปฏิบัติงานเพื่อความเจริญก้าวหน้าทั้งของตนเองและของหน่วยงาน
4. ช่วยแนะนำส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรมีความคิดสร้างสรรค์ สอนงานบุคคลหรือผู้ใต้บังคับบัญชา
5. ให้บุคลากรรู้จักสร้างชื่อเสียงให้กับองค์การ
6. พัฒนาบุคลากรด้วยการฝึกอบรม ให้เกิดมีความรู้ความเข้าใจ ความชำนาญ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถนำความรู้ไป
ใช้ในการปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี
7. นำไปศึกษาดูงานยังหน่วยงานต่าง ๆ ที่เป็นตัวอย่างที่ดี ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อนำมาประยุกต์และปรับปรุงงาน
ของตนเองให้ดียิ่งขึ้น เป็นการเพิ่มประสบการณ์ให้แก่บุคลากร
8. สนับสนุนให้บุคลากรมีโอกาสศึกษาต่อในหลักสูตรต่าง ๆ ที่สูงขึ้นตามที่ตนเองถนัด
9. มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น พิจารณาความดีความชอบ
เลื่อนระดับ เลื่อนตำแหน่ง ด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม ตามความสามารถ เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่บุคลากร
10. ปกครองบังคับบัญชาให้ความสำคัญแก่ทุกคนด้วยความยุติธรรมเสมอภาค
ทั้งการศึกษา การพัฒนาบุคคล และการฝึกอบรมล้วนแต่มีลักษณะที่สำคัญๆ คล้ายคลึงกัน และเกี่ยวข้องกันจนดูเหมือน จะแยกออกจากกันได้ยาก แต่ความเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างทั้งสามเรื่องดังกล่าว จะช่วยทำให้สามารถเข้าใจถึงลักษณะของ
กระบวนการฝึกอบรม ตลอดจนบทบาทและหน้าที่ของผู้รับผิดชอบจัดการฝึกอบรมเพิ่มมากขึ้น
               การศึกษาเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างมีระบบ เพื่อให้บุคคลมีความรู้ ทักษะ ทัศนคติในเรื่องทั่วๆไป อย่างกว้างๆ โดยมุ่งเน้นการสร้างคนให้มีความสมบูรณ์ เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมด้วยดี และสามารถปรับตัว ให้เข้ากับ สภาพแวดล้อมได้เป็นสำคัญ ถึงแม้ว่า การศึกษายุคปัจจุบันจะเน้นให้ความสำคัญแก่ตัวผู้เรียนเป็นหลัก (Student-Centered) ทั้งในด้านของการจัด เนื้อหาการเรียนรู้ ระดับความยากง่ายและเทคนิควิธีการเรียนรู้ เพื่อให้ตรงกับความสนใจ ความต้องการ ระดับสติปัญญา และความสามารถของผู้เรียนก็ตาม การศึกษาโดยทั่วไปก็ยังคงเป็นการสนองความต้องการของบุคคล ในการ เตรียมพร้อม หรือสร้างพื้นฐานในการเลือกอาชีพมากกว่า การมุ่งเน้นให้นำไปใช้ในการปฏิบัติงานใดงานหนึ่ง นอกจากนั้น การศึกษาเป็นเรื่องที่สามารถกระทำได้ตลอดชีวิต ( Lifelong Education) ไม่จำกัดระยะเวลาอีกด้วย
               ส่วนคำว่า การพัฒนาบุคคล นั้น นักวิชาการด้านการฝึกอบรมบางท่านเห็นว่าเกือบจะเป็นเรื่องเดียวกันกับการฝึกอบรม โดยกล่าวว่า การฝึกอบรม เป็นการเสริมสร้างให้เกิดการเรียนรู้ สำหรับบุคลากรระดับปฏิบัติการ เพื่อให้สามารถทำงานอย่างใด อย่างหนึ่งได้ตามจุดประสงค์เฉพาะอย่าง ในขณะที่การพัฒนาบุคคลนั้น มุ่งเสริมสร้างให้เกิดการเรียนรู้ในเรื่องทั่วๆไป อย่างกว้างๆ จึงเป็นการฝึกอบรมสำหรับบุคลากรระดับบริหารเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วบุคลากรทั้งสองระดับก็ต้องมีทั้งการฝึก
อบรมและการพัฒนาบุคลากรรวมๆกันไป เพียงแต่ว่าจะเน้นหนักไปในทางใดเท่านั้น
               ส่วน เด่นพงษ์ พลละคร เห็นว่าคำว่า การพัฒนาบุคคล เป็นคำที่มีความหมายกว้างมาก กล่าวคือ กิจกรรมใดที่จะ มีส่วน ทำให้พนักงานมีความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และทัศนคติที่ดีขึ้น สามารถที่จะปฏิบัติหน้าที่ ที่ยากขึ้นและมีรับผิดชอบ ที่สูงขึ้น ในองค์การได้แล้ว เรียกว่า เป็นการพัฒนาบุคคลทั้งนั้น ซึ่งหมายความรวมถึงการให้การศึกษาเพิ่มเติม การฝึกอบรม การสอนงาน หรือ การนิเทศงาน (Job Instruction) การสอนแนะ(Coaching) การให้คำปรึกษาหารือ(Counselling) การมอบหมาย หน้าที่ให้ ทำเป็นครั้งคราว(Job Assignment) การให้รักษาการแทน(Acting) การโยกย้ายสับเปลี่ยนหน้าที่การงานเพื่อให้โอกาสศึกษางาน
ที่แปลกใหม่ หรือการได้มีโอกาสศึกษาหาความรู้ และประสบการณ์จากหน่วยงานอื่น(Job Rotation ) เป็นต้น
               จากความหมายของการพัฒนาบุคคลดังกล่าวข้างต้น ทำให้เข้าใจได้ทันทีว่าการฝึกอบรมเป็นเพียงวิธีการหนึ่ง หรือ ส่วนหนึ่งของการพัฒนาบุคคลเท่านั้น เพราะการพัฒนาบุคคลเป็นเรื่องซึ่งมีจุดประสงค์และแนวคิดกว้างขวางกว่าการฝึกอบรม ดังที่มีผู้นิยามว่า การฝึกอบรม คือ " การพัฒนาบุคลากรให้มี ความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ ทัศนคติ ที่เหมาะสมในการปฏิบัติงาน จนกระทั่งเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการปฏิบัติงานไปในทิศทางที่ต้องการ "
               นอกจากนั้น การฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคคลนั้น เป็นเรื่องที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะเจาะจง เน้นถึงการเพิ่มประสิทธิภาพ ของงานซึ่งตัวบุคคลนั้นปฏิบัติอยู่ หรือจะปฏิบัติต่อไปในระยะยาว เนื้อหาของเรื่องที่ฝึกอบรมอาจเป็น เรื่องที่ตรงกับความต้องการ ของตัวบุคคลนั้นหรือไม่ก็ได้ แต่จะเป็นเรื่องที่มุ่งเน้นให้ตรงกับงานที่กำลังปฏิบัติอยู่หรือกำลังจะได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติ การฝึกอบรม จะต้องเป็นเรื่องที่จะต้องมีกำหนดระยะเวลาเริ่มต้น และสิ้นสุดลงอย่างแน่นอน โดยมีจุดประสงค์ให้เกิดการ เปลี่ยนแปลง พฤติกรรม ซึ่งสามารถประเมินผลได้จากการปฏิบัติงานหรือผลงาน (Performance) หลังจากได้รับการฝึกอบรม ในขณะที่การศึกษา เป็นเรื่องระยะยาว และอาจประเมินไม่ได้ในทันที
การศึกษาในบทก่อนได้ทราบแล้วว่าบริษัทสามารถใช้การวิเคราะห์ SWOT มาใช้ประโยชน์ในการประเมินสถานการณ์ของบริษัทได้อย่างไร ผลสรุปของการวิเคราะห์เพื่อกำหนดปัจจัยเชิงกลยุทธ์ (Strategic Factors) ทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกบริษัท  ยังสามารถนำมาใช้จัดทำกลยุทธ์ทางเลือกที่เป็นไปได้อีกมากมาย โดยการนำปัจจัยต่างๆ ทั้ง 4 อย่าง (จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค) มาจับคู่ในรูปของแมททริกซ์ ที่นิยมเรียกกันโดยทั่วไปว่า การจัดทำ”TOW Matrix” (TOWS เป็นคำเรียกอีกด้านหนึ่งของ SWOT นั่นเอง) ได้อีกด้วย
        TOWS Matrix จะแสดงให้เห็นว่า ปัจจัยภายนอกที่เป็น โอกาส และอุปสรรค ที่บริษัทกำลังเผชิญอยู่ สามารถนำมาจับคู่เพื่อให้สอดคล้องกับปัจจัยภายในที่เป็นจุดแข็ง และ จุดอ่อน ของบริษัท และเป็นการจัดทำกลยุทธ์ที่เป็นทางเลือก 4 ชุด ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการกำหนดแนวทางเพื่อกำหนดกลยุทธ์ต่างๆ   
   
การจัดทำ TOWS Matrix
        TOWS Matrix เป็นการจัดทำตาราง 9 ช่อง คือปัจจัยหลักสำคัญ 4 ช่อง ช่องกลยุทธ์ 4 ช่วง กับอีก 1 ช่อง บอกที่มาของปัจจัยว่าเป็นปัจจัยภายนอกหรือปัจจัยภายใน ช่องกลยุทธ์ 4 ช่อง ให้ชื่อว่า กลยุทธ์ SO กลยุทธ์ WO กลยุทธ์ ST และกลยุทธ์ WT ซึ่งเกิดขึ้นภายภายหลังจากการใส่ปัจจัยหลักสำคัญทั้ง 4 ช่องแล้ว
        สำหรับขั้นตอนการจัดทำประกอบด้วย 8 ขั้นตอน ดังนี้คือ
1. เขียนปัจจัยภายนอกที่เป็น โอกาส (O) ที่สำคัญที่สุดของบริษัท หรือ หน่วยธุรกิจโดยเลือกจากตาราง EFAS
2. เขียนปัจจัยภายนอกที่เป็น อุปสรรค (T) ที่สำคัญที่สุดของบริษัท หรือ หน่วยธุรกิจกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบันหรืออนาคต จากตาราง EFAS
3. เขียนปัจจัยภายในที่เป็น จุดแข็ง (S) ที่สำคัญที่สุดของบริษัท หรือ หน่วยธุรกิจโดยเลือกจากตาราง IFAS
4. เขียนปัจจัยภายในที่เป็น จุดอ่อน (W) ที่สำคัญที่สุดของบริษัท หรือ หน่วยธุรกิจโดยเลือกจากตาราง IFAS
 5. จับคู่ จุดแข็งภายใน (S) กับ โอกาสภายนอก (O) เพื่อรวมตัวเป็น กลยุทธ์ SO
6. จับคู่ จุดแข็งภายใน (S) กับ อุปสรรคภายนอก (T) เพื่อรวมตัวเป็น กลยุทธ์ ST
5. จับคู่ จุดอ่อนภายใน (W) กับ โอกาสภายนอก (O) เพื่อรวมตัวเป็น กลยุทธ์ WO
5. จับคู่ จุดอ่อนภายใน (W) กับ อุปสรรคภายนอก (T) เพื่อรวมตัวเป็น กลยุทธ์ TO
การจัดทำแมทริกซ์สรุปผลการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงกลยุทธ์  (Generating a strategic factors analysis summary (SFAS) matrix)
              แมทริกซ์สรุปผลการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงกลยุทธ์ หรือ “SFAS Matrix” เป็นตารางสรุปปัจจัยเชิงกลยุทธ์ของบริษัท โดยการรวม ปัจจัยภายนอก (External Factors) จากตาราง EFAS บทที่ 4 กับปัจจัยภายใน (Internal Factors) จากตาราง IFAS บทที่ 3 มารวมกัน มีจำนวนเกือบ 20 ปัจจัย ซึ่งมากเกินไปไม่เหมาะสมที่จะนำมาจัดทำกลยุทธ์ทั้งหมด และนี่ก็คือเหตุผลการจัดทำ SFAS Matrix 
              การจัดทำ SFAS Matrix เป็การจัดทำที่ต้องการให้ผู้ทำการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ลดจำนวนปัจจัย ที่เป็นจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาศ และอุปสรรคทั้งหมด ให้เหลือน้อยกว่า 10 ปัจจัย  ทำได้โดยหาความสำคัญหรือน้ำหนักที่มากที่สุดของแต่ละปัจจัย
               การจัดทำ SFAS Marix สามารถจัดทำตามลำดับขั้นตอนดังนี้
1         คอลัมน์ 1 ( ปัจจัยเชิงกลยุทธ์สำคัญ)  เลือกปัจจัยภายนอกที่สำคัญที่สุดจากตาราง EFAS และ
        เลือกปัจจัยภายในที่สำคัญที่สุดจากตาราง IFAS พร้อมระบุด้วยว่า เป็นปัจจัยอะไรเขียนใส่
       วงเล็บไว้ข้างหลัง
2.    คอลัมน์ 2 (น้ำหนัก) พิจารณาให้น้ำหนักความสำคัญใหม่ทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก  มากน้อย โดยกำหนดเป็นตัวเลขทศนิยมซึ่งมีค่าระหว่าง 1.0 (สำคัญมากที่สุด) จนถึง 0.0 (ไม่สำคัญ)  ผลรวมทั้งหมดจะเท่ากับ 1.0 ดังนั้นปัจจัยเชิงกลยุทธ์ที่ได้ให้ไว้ในตาราง EFAS และตาราง IFAS  บางทีอาจจะต้องปรับใหม่บางตัว
 3.    คอลัมน์ 3 (คะแนนประเมิน) ใส่คะแนนประเมินของแต่ละปัจจัย โดยพิจารณาว่าฝ่ายจัดการของบริษัทจะตอบสนองต่อปัจจัยนั้นได้อย่างไร คะแนนประเมินนี้อาจเท่าเดิมหรืออาจเปลี่ยนแปลงบ้าง
4.  คอลัมน์ 4 (คะแนนถ่วงน้ำหนัก)   คำนวณหาค่าคะแนนถ่วงน้ำหนักเช่นเดียวกับที่ทำกับตาราง EFAS และ IFAS      
5. คอลัมน์ 5 ( ช่วงระยะเวลา ) ช่วงระยะเวลาดังนี้คือ ระยะสั้น (น้อยกว่า 1 ปี) ระยะกลาว (1-3 ปี)หรือระยะยาว (3 ปี ขึ้นไป)
หลังจากนักวางแผนได้ตรวจสอบสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกบริษัทแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการจัดการเชิงกลยุทธ์ ซึ่งเป็นการตัดสินใจวางแผนกำหนดแนวทางดำเนินงานในระยะยาว เพื่อสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขัน จึงมักเรียกว่า การวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Strategic Planning) หรือ การวางแผนระยะยาว (Long-range planning) ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับ การกำหนดพันธกิจ วัตถุประสงค์ กลยุทธ์ และนโยบายบริษัท
           ในบทนี้จะได้กล่าวถึงการจัดทำกลยุทธ์ จะเริ่มจากการวิเคราะห์สถานการณ์ (Situation analysis) หรือเรียกอีกอย่างว่า การวิเคราะห์สวอท เป็นการจัดทำแมททริกซ์สรุปผลการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงกลยุทธ์ การทบทวนพันธกิจ และวัตถุประสงค์ และการจัดทำกลยุทธ์ทางเลือก โดยใช้ TOWS Matrix ตามลำดับ

การวิเคราะห์สถานการณ์ (Situational analysis : SWOT)
          เพื่อตรวจสอบหาโอกาสและข้อกำหนด จุดแข็ง และจุดอ่อนของบริษัท อันเป็นปัจจัยภายใน บางครั้งการวิเคราะห์สถานการณ์จึงเรียกว่า “SWOT   analysis” ซึ่งจะต้องทราบว่า “สภาพบริษัทปัจจุบันเป็นอย่างไร” และ “ ทิศทางการดำเนินงานของบริษัทต่อไปจะมุ่งไปทางใด”                                                                                                                  ซึ่งสามารถหาคำตอบได้จากการศึกษา จุดแข็ง จุดอ่อน โดยการเปรียบเทียบกับคู่แข่ง และตรวจสอบสภาพแวดล้อมภายนอก เพื่อหาโอกาสและอุปสรรค
1.       จุดแข็ง (Strengths) หมายถึง ข้อได้เปรียบของบริษัทหนือคู่แข่งขันที่บริษัทสามารถนำมาใช้ในการดำเนินงาน เช่น
-          ความได้เปรียบด้านต้นทุน
-          คุณภาพด้านผลิตภัณฑ์ดีกว่าคู่แข่ง
-          การบริหารบุคลากรที่ดี
-          รูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ลอกเลียนแบบได้ยาก
-          มีชื่อเสียงดี
-          พนักงานซื่อสัตย์และจงรักภักดี ฯลฯ
2.       จุดอ่อน (Weaknesses) หมายถึง สิ่งที่บริษัทยังขาดหรือมีแต่ด้อยกว่าของคู่แข่งขันหรืออยู่
        ในสภาพที่เสียเปรียบ อันเป็นปัญหาหรืออุปสรรคในการดำเนินงาน เช่น
-          การขาดทรัพยากรด้านการเงิน
-          ส่วนแบ่งตลาดน้อยกว่า
-          การขาดประสบการณ์ด้านการบริหารในอุตสาหกรรมนั้น
-          ชื่อเสียงไม่มี เพราะเป็นบริษัทใหม่
-          โครงสร้างขององค์การใหญ่ และเชี่ยงช้าเกินไป
-          ผู้บริหารไม่มีวิสัยทัศน์
-          การวิจัยและพัฒนา (R & D) ยังล้าหลัง ฯลฯ
 3.       โอกาส (Opportunities) หมายถึง ปัจจัยหรือสถานการณ์ภายนอก ที่มีส่วนช่วยให้บริษัทสามารถใช้ความพยายามเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ หรือมากกว่าที่มุ่งหวังไว้อย่างมาก โอกาสของบริษัทที่เป็นไปได้ เช่น
-          การเพิ่มบริการให้กับกลุ่มลูกค้ามากขึ้น
-          การขยายสายผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าที่มีขอบเขตกว้างขึ้น
-          การเพิ่มบริการให้กับกลุ่มลูกค้ามากขึ้น หรือการขยายเข้าสู่ตลาดใหม่
-          การนำความรู้ความชำนาญ หรือความรู้ด้านเทคโนโลยีของบริษัทมาใช้เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ฯลฯ
 4.       อุปสรรคหรือภัยคุกคาม (Threats) หมายถึง ปัจจัยภายนอกซึ่งอาจมีผลกระทบทำให้บริษัทประสบความล้มเหลว ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ เช่น
-          ความเป็นไปได้ที่คู่แข่งหน้าใหม่ที่มีพลังจะเข้ามาเป็นคู่แข่งในอนาคต
-          การเกิดสินค้าทดแทน ทำให้สูญเสียยอดขายไป
-          การเจริญเติบโตของตลาด มีอัตราชะลอตัวลง
-          อำนาจต่อรองของลูกค้าหรือผู้จัดจำหน่ายวัตถุดิบมีมากขึ้น
-          การเปลี่ยนแปลงที่เป็นผลร้าย ทางด้านประชากรศาสตร์ ฯลฯ
การจัดการเชิงกลยุทธ์คือ การพิจารณาหาสาเหตุว่าเพราะอะไรองค์การบางแห่งจึงประสบความสำเร็จมากกว่าอีกองค์กรหนึ่ง จากการศึกษาพบว่ามีปัจจัยสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ อุตสาหกรรมที่องค์กรนั้นๆ อยู่ ประเทศที่องค์กรนั้นอยู่ และปัจจัยภายในต่างๆ ขององค์กรนั้น เช่น ทรัพยากร ความสามารถ และกลยุทธ์ การศึกษาการจัดการเชิงกลยุทธ์นี้จะทำการศึกษาว่าเพราะเหตุใดองค์กรธุรกิจในอุตสาหกรรมบางประเภทจึงได้รับผลตอบแทนมากกว่าองค์กรธุรกิจในอุตสาหกรรมอื่น หรืออีกนัยหนึ่งทำไมอุตสาหกรรมบางแห่งจึงให้ผลตอบแทนที่ดีกว่อุตสาหกรรมอื่น นอกจากนี้ลักษณะประเทศก็มีอิทธิพลต่อความสำเร็จขององค์กรธุรกิจ  คือมีความเป็นสากลและโลกาภิวัฒน์มากน้อยเพียงใด จากการศึกษาต่อมาทำให้ทราบว่าทำไมบริษัทรถยนต์และอิเลกโทรนิกส์ที่ประสบความสำเร็จจึงมักจะตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น บริษัทด้านยาและเคมีภัณฑ์จึงตั้งอยู่ในอเมริกาและสวิสเซอร์แลนด์  นอกจากนี้ปัจจัยภายในองค์กรมีส่วนต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวขององค์กรด้วย  กลยุทธ์ที่ดีจะช่วยในการจัดการให้องค์กรสามารถอยู่รอดได้แม้จะมีผลตอบแทนที่ต่ำ เช่น กรณี Southwest Airline ที่ดำเนินการอยู่ในอุตสาหกรรมการบินที่กำลังตกต่ำ ซึ่งวามสำเร็จของ  Southwest Airline เป็นผลมาจากปัจจัยภายในบริษัทที่ทำให้ต้นทุนต่ำและมีความภักดีของลูกค้าสูง ในกรณีกลับกันก็ศึกษาว่าทำไมบางอุตสาหกรรมมีผลการดำนเนินงานดี ทั้งที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่ให้ผลตอบแทนที่ดี
        ดังนั้นการศึกษาเกี่ยวกับการจัดการเชิงกลยุทธ์มีความสัมพันธ์กับปัจจัยต่างๆ มากมาย ทั้งทางด้านปัจจัยภายนอกต่างๆ ขององค์กร ปัจจัยภายในด้านต่างๆ ขององค์กร การแข่งขันระหว่างองค์กรธุรกิจรวมทั้งแนวทางในการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับองค์กรธุรกิจ
การจัดการเชิงกลยุทธ์ประกอบด้วยองค์ประกอบพื้นฐาน 4 ขั้นตอน คือ
  1. การตรวจอบสภาพแวดล้อม (Environmental scanning)
  2. การจัดทำกลยุทธ์  (Strategy Formulation)
  3. การปฏิบัติตามกลยุทธ์ (Strategy implementation)
  4. การประเมินผลและการควบคุม (evaluation and control)
การจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management) หมายถึงชุดของการตัดสินใจและการ
ปฏิบัติการต่างๆ ทางด้านการจัดการซึ่งจะเป็นตัวกำหนดการดำเนินงานระยะยาวขององค์กร ประกอบด้วย การตรวจสอบสภาพแวดล้อม (environment scanning) ทั้งภายในและภายนอก การจัดทำกลยุทธ์ (Strategic formulation) ซึ่งแผนกลยุทธ์หรือแผนระยะยาว การปฏิบัติตามกลยุทธ์ (Strategy implementation) และการประเมินผลและการควบคุม (evaluation and control) การจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นการบริหารงานที่เกี่ยวข้องกับการวางแผน (planning) การจัดองค์การ (organizing) การอำนวยการ (directing) และการควบคุม (controlling) อันเกี่ยวกับการตัดสินใจและการปฏิบัติการทางด้านกลยุทธ์ของบริษัทหรืออีกนัยหนึ่ง การบริหารเชิงกลยุทธ์ (Strategic management) : เป็นขั้นตอนการบริหารและตัดสินใจเพื่อพัฒนาให้บรรลุภารกิจ (Mission) ขององค์กร  โดยสร้างความสามารถขององค์กรให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมทั้งภายนอกและภายใน
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ (Strategic Objectives) และยุทธศาสตร์ (Straegies)
                หมายถึง สิ่งที่องค์กรต้องการจะบรรลุ เช่นเดียวกับ ภารกิจ และวิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์มักกำหนดเป็นเชิงปริมาณ เพื่อให้การติดตามและการประเมินไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตัววัดที่กำหนดขึ้นเมื่อตั้งวัตถุประสงค์จึงเรียกว่า ดัชนีชี้วัด (Indicators) ซึ่งอาจมีได้หลายตัวและเมื่อเลือกตัวที่ “สำคัญ” ขึ้นมาพิจารณาก็จะกลายเป็น Key Performance Indicators หรือ KPIs
                ยุทธศาสตร์ (Strategies) คือการมุ่งเน้น หรือผลักดัน เพือให้องค์กรหรือกิจการได้บรรลุวัตถุประสงค์ วิธีการมุ่งเน้นหรือผลักดันทำได้โดยการจัดสรรทรัพยากร โดยมุ่งหวังให้งานที่มุ่งเน้นนั้น นำพาองค์กรหรือกิจการไปสู่ความสำเร็จ เช่น
  1. การมุ่งเน้นให้มีส่วนแบ่งตลาด (Market share) มากกว่าการคำนึงกำไร (Profit) ในระยะแรก
  2. เพิ่มกำลังการผลิต โดยพิจารณาเเครื่องจักรอัตโนมัติ หรือกึ่งอัตโนมัติ
  3. ให้ความสำคัญกับการพัฒนาธุรกิจ (Business Development) ทั้งในแง่ Product และ Market อย่างต่อเนื่อง

     เนื่องจากสภาวะการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้น รวมทั้งลักษณะขององค์กรที่จะต้องเปลี่ยนแปลงไปอนาคต และเงื่อนไขการแข่งขันใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น ทำให้ปัจจัยหรือสาเหตุของความสำเร็จขององค์กรธุรกิจที่เคยมีมาในอดีตจะเริ่มเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นผู้บริหารขององค์กรจำเป็นที่จะต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาตนเองตลอดเวลา การจัดการเชิงกลยุทธ์มีความสำคัญดังนี้
    1. การจัดการเชิงกลยุทธ์ เป็นการกำหนดวิสัยทัศน์ ทิศทาง ภารกิจ และวัตถุประสงค์ขององค์กรธุรกิจอย่างเป็น เพื่อให้องค์กรมีทิศทางและเป้าหมายที่ชัดเจน
    2. การจัดการเชิงกลยุทธ์ จะเป็นตัวกำหนดแนวทางในการดำเนินงานและกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร
    3. การจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นการนำวิธีการหรือแนวทางในการดำเนินงานที่ได้มาคิดค้นประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
    4. การจัดการเชิงกลยุทธ์ทำให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน
    5. การจัดการเชิงกลยุทธ์ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ขององค์กร

    หรืออีกนัยหนึ่งอาจสรุปได้ง่ายๆ ว่า การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์มีประโยชน์ (Benefits of stratefic management)  ดังนี้
    • เพื่อความอยู่รอดขององค์การ
    • เพื่อความได้เปรียบในการแข่งขันในระยะยาวขององค์การ
    • เพื่อสามารถเผชิญกับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้
    • เพื่อการมองเห็นอนาคตที่ชัดเจนขององค์การ
วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ตราสินค้า (Brand name)

ตราสินค้า หมายถึง ตรายี่ห้อของผลิตภัณฑ์เป็นตัวอักษรที่ตั้งขึ้นมาสำหรับสินค้าโดยเฉพาะเพื่อวัตถุประสงค์ทางการค้า
นอกจากตราสัญลักษณ์ (Logo) ของสินค้าแล้ว ตราสินค้าก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่มีผลต่อการสร้างผลิต-ภัณฑ์และมีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ซึ่งทั้ง 2 อย่างจะมีข้อแตกต่างกัน แต่จะมีข้อส่งเสริมซึ่งกันและกันสำหรับการสนับสนุนให้สินค้าแต่ละตัวนั้นสามารถเข้าไปครองใจของผู้บริโภคได้
ข้อแตกต่างของตราสัญลักษณ์ และตราสินค้า
ถ้าเป็น "ตราสัญลักษณ์" ไม่ควรมีอักษรเข้ามาเกี่ยวข้องในลวดลายกราฟิก (Graphic) ยกเว้นนำตัวอักษรตัวแรกของชื่อมาดัดแปลง เช่น แม็คโดแนล (McDonald) ที่ใช้ตัว M มาเล่นให้โดดเด่นอยู่เพียงตัวเดียว แต่ก็ยังใช้สีเป็นเอกลักษณ์ไปปรากฏอยู่ทุกที่ ซึ่งการใช้ชื่อบริษัทกำกับเพื่อให้ผู้คนจดจำย่อมเป็นสิ่งที่กระทำได้ แต่เมื่อเวลาผ่านไปเป็นระยะเวลานานพอสมควร กิจการยังไม่ถดถอย แต่กลับโตวันโตคืน ก็สามารถตัดชื่อหรือตัวอักษรกำกับออกไปจากตราสัญลักษณ์ได้
แต่ถ้าเป็นข้อความหรืออักษรชาติใดก็ตาม เราจะเรียกชื่อลักษณะนี้ว่า "ตราสินค้า" (Brand name)
ในยุคที่ผ่านมาจะมีการตั้งชื่อสินค้าในลักษณะอ้างสรรพคุณ แต่ทว่าในปัจจุบันนี้ทางกรมทรัพย์สินทางปัญญาไม่อนุญาตให้ทำเช่นนั้น ยกเว้นบริษัทที่จดทะเบียนก่อนที่จะออกกฎหมายนี้ เช่น "เบสท์ฟู้ด" (Best food) หมายถึง อาหารดีที่สุด "เทสต์ ช้อย" (Test Choice) หรือ "กู้ดช้อย" (Good Choice) เป็นต้น ซึ่งจะมีความหมายในเรื่องของทางเลือกอาหารการกินที่อร่อย

บางกลุ่มได้นำเอาชื่อเมืองที่เป็นผู้ให้กำเนิดสินค้ามาใช้เป็นตราสินค้า เช่น "โคโลญจ์" เป็นชื่อเมืองในเยอรมัน ซึ่งผลิตน้ำหอมกันทั้งเมือง หรือ เคเอฟซี เป็นตราสินค้าไก่ทอดจากรัฐเคนตั๊กกี้ในอเมริกา การที่ตราสินค้าของผลิตภัณฑ์ต่างๆ มาจากชื่อแหล่งกำเนิดนั้น นอกจากจะจดจำได้ง่ายแล้ว ยังสามารถบ่งบอกถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ได้อีกด้วยว่าเป็นของแท้แน่นอน
อย่างไรก็ตาม ยังมีชื่อผู้ให้กำเนิดสินค้าอีกมากรายที่นำชื่อและนามสกุลตนเองมาใช้เป็นตราสินค้า เนื่องจากง่ายและสะดวกซึ่งเป็นที่นิยมทำกันทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทยอีกด้วย แต่สำหรับตราสินค้าประเภทนี้ ก็ไม่ง่ายนักที่จะเป็นที่รู้จักของผู้บริโภคได้ง่ายๆ เรียกว่าออกมาในตลาด 100 ชื่อแล้วติดอันดับอยู่ในใจของผู้บริโภคเพียง 1 ชื่อก็ถือว่าคุ้มค่าแล้ว ตัวอย่างเช่น นายหลุยส์ วิตตอง เป็นผู้นำเกี่ยวกับสินค้ากระเป๋าและเครื่องหนังระดับโลก หรืออีกท่านหนึ่งก็คือ นายเวอร์ซาเช่ เป็นนักออกแบบแฟชั่นและเป็นผู้นำเรื่องเสื้อผ้า ตราสินค้าเหล่านี้ใช้ชื่อหรือนามสกุลของผู้ก่อตั้งมาออกแบบเป็นตัวไขว้หรือขมวดอักษรไว้ หรือใช้รูปแบบง่ายๆ รวมทั้งเป็นลายเซ็น ก็สามารถขายไปทั่วโลก ทำรายได้มหาศาล และกลับกลายเป็นสินค้าของผู้มีรสนิยมสูง

กลยุทธ์ตรายี่ห้อ

 ในการตั้งชื่อตรายี่ห้อผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิตและผู้ขายอาจทำได้ทั้งในลักษณะตั้งชื่อเฉพาะสำหรับผลิตภัณฑ์
แต่ละชนิดที่ขายหรืออาจใช้ชื่อยี่ห้อเดียวกันกับผลิตภัณฑ์ทุกชนิดที่ขายได้    ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าชื่อยี่ห้อนั้น ๆ ติดปาก
ผู้บริโภค   ชื่อเสียงมีอยู่แล้วในตลาด  และเหมาะสมกับชนิดผลิตภัณฑ์นั้น ๆ มากน้อยเพียงใด
  อาจจำแนกกลยุทธ์
ในการตั้งชื่อตรายี่ห้อได้ 7 ลักษณะคือ
          1.  Individual brand :   เป็นตรายี่ห้อเฉพาะของผลิตภัณฑ์ใดผลิตภัณฑ์หนึ่งที่ขาย     ถ้าผู้ขายมีผลิตภัณฑ์
               หลายชนิดก็ตั้งชื่อตรายี่ห้อของแต่ละผลิตภัณฑ์ให้แตกต่างกันไป  มักใช้กับสินค้าที่มีคุณภาพและรูปแบบ
               ต่าง ๆ กัน
          2.  A blanket family brand :   ผลิตภัณฑ์ทุกตัวใช้ชื่อเดียวกัน
          3.  Separate family brand :  เป็นตรายี่ห้อของผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเดียวกันใช้ชื่อเดียวกัน  ถ้าเป็นผลิตภัณฑ์
               แต่ละชนิดก็ตั้งชื่อตรายี่ห้อให้แตกต่างกันออกไป
          4.  Company name combined with individual product name : เป็นชื่อยี่ห้อที่เกิดจากชื่อกิจกรรมรวมกับ
               ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อแสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์มาจากกิจการใด เช่น นมยี่ห้อ ซีพี - เมจิก การตั้งชื่อตรายี่ห้อ
               แบบนี้จึงเป็นการบอก (generic name) ชื่อเสียงของกิจการไว้ในผลิตภัณฑ์ และป้องกันไม่ให้ชื่อตรายี่ห้อ
               ของผลิตภัณฑ์กลายเป็นชื่อยี่ห้อทั่วไป (gemeric name)
          5.  Brand Extension เป็นการตั้งชื่อผลิตภัณฑ์ใหม่ / ผลิตภัณฑ์ที่ปรับปรุงใหม่ โดยชื่อใหม่ตั้งขึ้นมาจากการ
               ขยายจากชื่อเดิม    เช่น   บรีส - เอกเซล  ซัลซิลทรีทเมนต์         ทำให้กิจการประหยัดต้นทุนในการแนะนำ
               ผลิตภัณฑ์ใหม่สู่ตลาด     และทำให้ผู้บริโภครู้จักผลิตภัณฑ์ใหม่ได้รวดเร็วขึ้น
          6.  Multi brand  เป็นการตั้งชื่อยี่ห้อใหม่ให้กับผลิตภัณฑ์ตัวเดิม   กิจการมักใช้กลยุทธ์นี้เมื่อผลิตภัณฑ์ที่ขาย
               ได้รับผลกระทบจากผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งขัน     ถ้าใช้ผลิตภัณฑ์ในชื่อเดิมแข่งขันจะกระทบถึงภาพลักษณ์
               ของผลิตภัณฑ์ กิจการจึงจำเป็นต้องใช้ยี่ห้อใหม่เข้ามาแข่งขันแทนเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาด
          7.  Brand Repositioning  เป็นการปรับเปลี่ยนตำแหน่งของผลิตภัณฑ์เมื่อปรับปรุงใหม่  ทั้งนี้เพื่อสร้างความ
               ซื่อสัตย์ในตรายี่ห้อ  Brand Loyalty   ให้กับผลิตภัณฑ์    เพื่อให้ได้ผลกิจการควรปรับเปลี่ยนทั้งผลิตภัณฑ์
               และภาพผลิตภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์  เช่น  การเปลี่ยนสูตรใหม่   หีบห่อใหม่   ทำให้ผลิตภัณฑ์ทันสมัยและมี
               ภาพลักษณ์ดีขึ้น
ผู้บริโภคส่วนใหญ่พึงพอใจที่จะซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีตรายี่ห้อมากกว่าผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีตรายี่ห้อ    ทั้งนี้เพราะ
ตรายี่ห้อทำให้ผู้บริโภคแน่ใจว่าได้ซื้อผลิตภัณฑ์ที่ต้องการถูกต้องแล้ว    และมั่นใจได้ในคุณภาพของผลิตภัณฑ์
ที่ซื้อภายใต้ยี่ห้อที่ระบุไว้นั้น   ตรายี่ห้อทำให้กระบวนการซื้อผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
กล่าวคือผู้บริโภคสามารถเปรียบเทียบซื้อผลิตภัณฑ์ที่ต้องการได้จากหลาย ๆ ยี่ห้อ        และสามารถเห็นความ
แตกต่างของผลิตภัณฑ์ในแต่ละยี่ห้อได้ชัดเจนยิ่งขึ้น      ทำให้การตัดสินใจซื้อง่ายและสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้นกว่า
การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีตรายี่ห้อ  
ผู้ขายเองก็พึงพอใจที่จะขายผลิตภัณฑ์ที่มีตรายี่ห้อมากกว่าผลิตภัณฑ์
ที่ไม่มีตรายี่ห้อเพราะขายได้ง่ายกว่า เมื่อผู้บริโภคระบุชื่อตรายี่ห้อของผลิตภัณฑ์ที่ต้องการซื้อ  ผู้ขายก็สามารถ
รับคำสั่งซื้อได้ทันที  ตรายี่ห้อของผลิตภัณฑ์ทำให้ผู้ขายสามารถตกแต่งและจัดวางผลิตภัณฑ์ที่ขายได้สวยงาม
มากขึ้น   และสามารถแยกส่วนตลาดของผลิตภัณฑ์ที่ขายออกจากกันได้ชัดเจน
         
ในส่วนของผู้ผลิตสามารถนำผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีตรายี่ห้อเข้าเสนอขายเข้าเสนอขาย   และแนะนำในตลาด
ผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ง่ายกว่าการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีตรายี่ห้อ   ผู้ผลิตสามารถทำให้ผลิตภัณฑ์ที่จะเสนอขาย
สู่ตลาดมีความหลากหลายแตกต่างจากผลิตภัณฑ์เดิม ๆ ที่มีขายอยู่แล้วในตลาดและสามารถตอบสนองความ
ต้องการของตลาดได้หลาย ๆ ส่วน ในเวลาเดียวกัน  เช่น   เมื่อต้องการขายผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกันแต่ละคนและ
ตลาดก็ผลิตสินค้าออกมาให้คุณภาพต่างกัน    ราคาต่างกันเพื่อส่วนตลาดที่ต่างกัน        โดยผู้บริโภคแต่ละส่วน
ตลาดสามารถเห็นความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ที่ซื้อได้อย่างชัดเจน              สังคมโดยรวมก็ได้รับประโยชน์จาก
ผลิตภัณฑ์ที่มีตรายี่ห้อเช่นกัน    กล่าวคือ    เมื่อผู้ผลิตต้องการเสนอผลิตภัณฑ์เพื่อขายในตลาดให้มีความหลาก
หลายมากขึ้น    ทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ขายต้องมีความแตกต่างชัดเจนจากผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งขันนั้น   ผู้ผลิตจำเป็น
ต้องคิดค้นและนำเสนอประโยชน์และรูปแบบใหม่ ๆ ของผู้บริโภคบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ มีคุณค่ามากขึ้น
กว่าเดิม


ลักษณะของตรายี่ห้อที่ดี
     จากความสำคัญดังกล่าว   จึงอาจสรุปถึงลักษณะของตรายี่ห้อที่ดีได้ดังนี้
          1.  ง่ายต่อการออกเสียง   และจำได้          2.  ช่วยแนะนำผลิตภัณฑ์ที่ขาย          3.  มีความหมายดี          4.  สร้างความแตกต่างให้ผลิตภัณฑ์          5.  เมื่อต้องการเพิ่มเติมผลิตภัณฑ์เข้ามาในสายผลิตภัณฑ์เดิมก็สามารถเพิ่มเติมจากยี่ห้อเดิมได้ง่าย          6.  สามารถนำไปจดทะเบียนคุ้มครองการลอกเลียนแบบได้          7.  มีความเป็นสากล พร้อมที่จะขยายตลาด
ความหมายของตรายี่ห้อ
          ตรายี่ห้อมีความหมายที่แตกต่างกัน 5 ลักษณะ   ดังนี้
          1. 
ตรายี่ห้อ (brand) หมายถึง  ชื่อ   เครื่องหมาย   สัญลักษณ์   หรือหลาย ๆ สิ่งรวมกัน   เพื่อระบุให้ความ
               เห็นแตกต่างของผลิตภัณฑ์จากแต่ละผู้ผลิตหรือผู้ขาย
          2. 
ชื่อยี่ห้อ (brand name)   หมายถึง   ส่วนของตรายี่ห้อที่สามารถอ่านออกเสียงได้          3.  เครื่องหมายยี่ห้อ (brand mark)  หมายถึง ส่วนหนึ่งของตรายี่ห้อที่มีลักษณะเจาะจงอาจเป็นสัญลักษณ์
               รูปแบบสี   ลักษณะและขนาดของตัวอักษรที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด     และไม่สามารถออกเสียงได้
          4. 
เครื่องหมายการค้า (trade mark)   หมายถึง   ส่วนหนึ่งของตรายี่ห้อที่ได้รับการคุ้มครองกฎหมายให้กับ
               ผู้ขายผลิตภัณฑ์        หมายรวมได้ทั้งส่วนของตรายี่ห้อที่ออกเสียงได้และออกเสียงไม่ได้
          5. 
สิทธิบัตร (copy right)     หมายถึง     สิทธิตามกฎหมายในการผลิตชื่อเผยแพร่หรือขายผลิตภัณฑ์ที่เป็น
               แนวคิด   ดนตรี   หรือวางศิลปะต่าง ๆ
ซัพพลายเออร์ (Supplier) คือ คนหรือองค์กรที่จัดหาสินค้าและบริการการค้นหาซัพพลายเออร์ที่ให้ราคาดี (ถูกกว่าของรายอื่น) เปรียบเสมือนหัวใจของความสำเร็จของธุรกิจ การต่อรองกับซัพพลายเออร์มักจะเกี่ยวข้องกับประเด็นหลักๆ อาทิ วิธีการชำระเงิน ราคาและมูลค่าที่จะต้องชำระ รวมทั้งความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้จากกระบวนการต่างๆ เช่น การจ่ายเงินล่าช้า ความผิดพลาด ยังไม่ได้รับสินค้าหรือได้รับช้ากว่ากำหนด เป็นต้น
Tip นี้จะบอกถึงวิธีการในการสร้างความสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับซัพพลายเออร์ ผ่านทางการต่อรอง การสร้างให้เกิดความร่วมมือ การทบทวนผลการดำเนินงานและประสิทธิภาพของการบริหารจัดการ

จุดเริ่มต้นคือ การเลือกซัพพลายเออร์ที่มีคุณภาพสามารถตอบสนอง
การจะบอกว่าซัพพลายเออร์รายไหนมีคุณภาพหรือไม่ จริงๆ แล้วมีวิธีการดูหลายวิธี และมีหน่วยงานหลายแห่งที่ทำหน้าที่รับรองคุณภาพของธุรกิจ แต่ที่นิยมใช้กันทั่วโลก และยอมรับว่าเป็นมาตรฐานที่เชื่อถือได้คือ องค์กรระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐาน (International Organization for Standardization : ISO) โดยเฉพาะ ISO 9000 กลุ่มมาตรฐานการบริหารจัดการเชิงคุณภาพที่ทั่วโลกรู้จัก ซึ่งครอบคลุมกระบวนการหลักทั้งหมดในการดำเนินธุรกิจ ได้แก่ กระบวนการติดตามและควบคุมเพื่อให้เกิดความมั่นใจต่อประสิทธิภาพ มีระบบบันทึกข้อมูลที่ดี กระบวนการตรวจสอบสินค้าที่เสียหาย พร้อมทั้งวิธีการแก้ไขถ้าจำเป็น กระบวนการตรวจสอบคุณภาพการทำงานระดับบุคคล และกระบวนการจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับปรับปรุงแก้ไขจุดอ่อน ข้อผิดพลาดอย่างต่อเนื่อง
นอกจากเรื่องของคุณภาพที่ต้องดูแล้ว ความสามารถในการตอบสนองต่อความต้องการของธุรกิจเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ควรนำมาพิจารณาประกอบกัน ยกตัวอย่าง ถ้าธุรกิจยึดถือความรวดเร็วของการบริการเป็นหัวใจหลักของการทำงาน เรื่องของการให้บริการด้วยต้นทุนที่ต่ำอาจจะไม่ใช่ปัจจัยสำคัญในการเลือกซัพพลายเออร์ก็ได้
วิธีการที่ใช้ทั่วไปเพื่อทำให้บริการของซัพพลายเออร์ตรงกับความต้องการของธุรกิจคือ การทำข้อตกลงของระดับการให้บริการ (Service Level Agreement : SLA) ด้วยข้อตกลงดังกล่าว ธุรกิจสามารถกำหนดเป้าหมาย และมาตรฐานการดำเนินงานที่เฉพาะเจาะจงร่วมกันกับซัพพลายเออร์ ซึ่งโดยทั่วไปมักจะครอบคลุมความรับผิดชอบหลักๆ ทางการค้าระหว่างกัน ได้แก่ การบริการที่จะได้รับและมาตรฐานการให้บริการดังกล่าว ระยะเวลาของการส่งมอบ หน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละฝ่าย รูปแบบการชำระเงิน การบริหารจัดการปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ การจ่ายค่าชดเชยกรณีเกิดการผิดพลาดหรือไม่เป็นไปตามสัญญา การรับประกันที่ระบุแนวทางการแก้ไข รวมทั้งข้อสรุปเพื่อคลี่คลายปมขัดแย้งและข้อเรียกร้องทางกฎหมายต่างๆ

ความอยู่รอดของซัพพลายเออร์บางครั้งส่งผลกระทบต่อความเป็นความตายของธุรกิจได้เหมือนกัน โดยเฉพาะถ้ามีซัพพลายเออร์เพียงรายเดียวที่พึ่งได้ ดังนั้น ธุรกิจเองอาจจะต้องทำในสิ่งที่คิดว่าน่าจะช่วยให้การทำงานของซัพพลายเออร์สะดวก รวดเร็ว และมีต้นทุนต่ำลง สิ่งที่ทำได้อาทิ
  • ประสานความร่วมมือในการกำหนดเวลาการผลิตให้สอดคล้องกับความเป็นไปได้ในการจัดส่งสินค้าและบริการ
  • ร่วมกันคิดหาวิธีการที่จะช่วยลดต้นทุนทั้งหมดจากขนาด และระยะเวลาของการสั่งซื้อแต่ละครั้ง
  • คำนึงถึงสินค้าและบริการรายการอื่นๆ ที่ต้องการเพิ่มเติมสำหรับซัพพลายเออร์จะสามารถจัดหามาได้
  • ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางกลยุทธ์ขององค์กร หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ของธุรกิจแก่ซัพพลายเออร์ล่วงหน้า เพื่อให้มีเวลาในการปรับตัว
  • วิเคราะห์ ทบทวนถึงประสิทธิภาพของการคาดการณ์ยอดขาย และการวางแผนความต้องการวัตถุดิบ นำไปแลกเปลี่ยนข้อมูลกับซัพพลายเออร์ ซึ่งบางครั้งจะช่วยให้ธุรกิจสามารถมีการวางแผนและคาดการณ์ยอดขายได้แม่นยำมากขึ้น
  • ใช้ระบบการสั่งซื้อที่สามารถควบคุมและติดตามจากซัพพลายเออร์ได้ ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกต่อการควบคุมทางการเงินภายในองค์กรและยังป้องกันความเข้าใจผิดที่อาจเกิดขึ้นระหว่างกัน
  • มีการชำระค่าสินค้าและบริการอย่างสม่ำเสมอ การจ่ายเงินช้าจะทำลายความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน รวมทั้งอาจทำให้ไม่ได้รับสิทธิพิเศษจากซัพพลายเออร์ได้ในอนาคต
แนวคิดทางการขาี่ยมุ่งที่การครอบครองตลาด หรือมีลูกค้าให้มากที่สุด เพื่อจะได้ขายสินค้าได้มากตามที่ต้องการ ก่อให้เกิดการแข่งขันด้วยรูปแบบต่าง ๆ ที่จะทำให้เป็นผู้ได้เปรียบด้านการขาย เช่น การใช้การโฆษณา วางแผนด้านการส่งเสริมการขายและการประชาสัมพันธ์ ใช้พนักงานติดต่อกับลูกค้าโดยตรง ถือได้ว่า ปัจจุบันแนวคิดทางการขายเน้นที่ลูกค้า คือมุ่งขายสินค้าและบริการให้ได้มากที่สุด และเน้นการแข่งขันซึ่งนับว่าจะทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นมีการการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยต่าง ๆ มาช่วยกิจการด้านการขาย เช่น นำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้ในรูปของพาณิชย์อิเล้กทรอนิกส์ (E-Commere) ในการศึกษาเกี่ยวกับแนวคิดทางการขาย สรุปได้ดังนี้
         1.  มุ่งความสำคัญที่ผลิตภัณฑ์และการขาย
         2.  ธุรกิจต้องพยายามสร้างผลิตภัณฑ์แล้วจึงหาวิธีการที่จะขายสินค้านั้น
         3.  กำหนดวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งความสำคัญที่ปริมาณการขาย
         4.  การวางแผนการทำงานอยู่ในระยะเวลาอันสั้น
         5.  เน้นการใช้พนักงานเป็นหลัก


งานขาย มีลักษณะเกี่ยวกับความสามารถในการชักจูงใจและโน้มน้าว หรือใช้ศิลปะการขายเป็นสำคัญ  ดังนั้น พนักงานขายจะต้องมีคุณสมบัติและความรอบรู้หลายประการ เช่น ด้านพื้นฐานการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับการขายโดยตรง ด้านจิตวิทยาในการปรับตัวเข้าหาลูกค้า การเตรียมตัวก่อนเข้าพบลูกค้า การปฏิบัติการภายหลังสิ้นสุดการขาย  ดังนั้น ผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญของการขายเป็นหลัก นอกจากกิจการจะมีสินค้าพร้อมเพื่อขาย มีลูกค้ามุ่งหวังเป็นเป้าหมายสำคัญในการขาย มีบุคลากรปฏิบัติการขาย ยังไม่เพียงพอสำหรับการสร้างเสริมการขายให้มีประสิทธิภาพ ต้องอาศัยศิลปะการขายที่นักขายเหล่านั้นนำมาใช้ในระหว่างการปฏิบัติการด้วย จึงจะบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้
วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ตราสินค้า

1.ชื่อของสินค้าควรจะเป็นชื่อง่ายๆ จุดประสงค์ข้อนี้เพื่อต้องการสามารถจำและเข้าใจง่าย เนื่องจากผู้บริโภค มีความสามารถในการจดจำที่จำกัด เหตุผลนี้ทำให้เห็นว่าทำไมชื่อตราสินค้าที่มีหลายพยางค์ จึงจำเป็นต้องตัดให้สั้นลง ตัวอย่างเช่นคำว่า เป๊ปซี่ -โคล่า ต้องตัดให้สั้นลง เหลือแค่คำว่า "เป๊ปซี่" หรือ จอนห์เลอวิส ก็เหลือแค่ "เลอวิส" เมื่อลูกค้าคุ้นเคยกับชื่อแล้วเขาก็จะจำได้ง่ายขึ้น
2.ชื่อตราสินค้าจะต้องมีความแตกต่าง เช่นชื่อ โกดัก หรืออดิดาส สามารถสร้างความแตกต่างทั้งในแง่ของการออกเสียง ตัวอักษรและคำที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดผลในการกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นและความสนใจของผู้บริโภคได้มากขึ้น
3.ชื่อตราสินค้าจะต้องมีความหมาย สังเกตได้ว่าการแปลความหมายชื่อตราสินค้าของผู้บริโภคนั้น จะต้องมีความเกี่ยวข้องกัน และเป็นการเพิ่มความเชื่อมั่นในสินค้าหรือบริการ เช่น FedEx ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการที่รวดเร็ว แบตเตอรี่ยี่ห้อ "Reliable" จะสื่อสารให้ผู้บริโภคทราบถึงความน่าเชื่อถือของสินค้าหรือบริการ นอกจากนั้นชื่อของสินค้า หรือบริการ ควรจะส่งเสริมภาพพจน์ในเชิงบวกด้วย เช่น ท็อปส์ ซุปเปอร์มาเก็ต ที่หมายถึงการคัดสรรเฉพาะสินค้าที่มีคุณภาพระดับท็อปๆ เท่านั้น เป็นต้น
4.ชื่อตราสินค้าจะต้องเกี่ยวข้องกับตัวสินค้าหรือบริการ เช่น ชื่อนาฬิกาไทเม็กซ์ ที่ส่งเสริมความหมายของความเป็นนาฬิกา หรือ "SCACARE" เป็นครีมที่ช่วยลดรอยแผลเป็นทำให้หน้าเรียบใสขึ้น
5.อารมณ์ช่วยกระตุ้นความสนใจและการเข้าถึงสินค้าได้เป็นอย่างดี สำหรับสินค้าบางประเภท โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มน้ำหอม ชื่อที่เร้าอารมณ์จะช่วยให้สินค้าประสบความสำเร็จ เช่นคำว่า Poison และ Opium เป็นต้น
6.ชื่อตราสินค้าควรจะได้รับการคุ้มครองทางกฎหมาย เพราะอาจถูกลอกเลียนแบบจากคู่แข่ง ดังนั้น จึงต้องมีการจดทะเบียนชื่อสินค้าให้ถูกต้องตามกฎหมาย
7.ระมัดระวังการสร้างสรรค์คำใหม่ นักการตลาดต้องพัฒนาคำใหม่ๆ ตลอดเวลา สำหรับชื่อตราสินค้านั้น ควรมีการส่งเสริมและทำให้เกิดความชัดเจนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เช่น "Kodak" "Esso" และ "Xerox" เป็นต้น
8.ควรหลีกเลี่ยงชื่อที่มีพยางค์มากเกินไป ในช่วงเวลาที่ผ่านมาชื่อตราสินค้าบางประเภทถูกปรับให้สั้นลง เช่น International Business Machines กลายเป็น IBM หรือ Imperial Chemicals Industries กลายเป็น ICI และ British Airways กลายเป็น BA เป็นต้น
9.การปรับปรุงชื่อสินค้าให้มีความหมายเป็นสากล เมื่อใดก็ตามที่ชื่อสินค้าขยายวงไปยังหลายพื้นที่ จะเกิดความแตกต่างทั้งในแง่ของภาษา และวัฒนธรรม ดังนั้นนักการตลาดควรคำนึงถึงปัจจัยนี้ด้วย ไม่ใช่มาแก้ปัญหาเรื่องชื่อสินค้าในภายหลัง ซึ่งยุ่งยากสำหรับนักการตลาดเป็นอย่างมาก
การจู่โจมซึ่งหน้า - เป็นการโจมตีแบบตรงๆ ที่ต้องมีการรวบรวมเอาสรรพกำลังและทรัพยากรในองค์กรทั้งหมดที่มีอยู่ โดยเฉพาะเม็ดเงินที่ถือเป็นทรัพยากรหลัก ทุกๆหน่วยงานในองค์กรของคุณจะต้องทำงานอย่างหนักเพื่อเตรียมตัวจู่โจม ตั้งแต่ฝ่ายการตลาดไปจนถึงฝ่ายผลิต และยังเกี่ยวข้องกับการโฆษณาที่เข้มข้นเพื่อประกอบกับการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่ได้มีการทุ่มเทพัฒนาขึ้นมาเพื่อเป็นอาวุธในการโจมตีคู่แข่งในส่วนที่เป็นจุดอ่อนโดยเฉพาะ บ่อยครั้ง ที่เป็นความพยายามที่จะ "ปลดปล่อย" กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย (ออกจากการครอบงำของสินค้าคู่แข่ง) แต่ในความเป็นจริงแล้ว กลยุทธ์แบบจู่โจมซึ่งหน้ามักจะพบเห็นได้ไม่บ่อยนัก เนื่องจากเหตุผลสองประการ หนึ่งก็คือ ต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูง ทรัพยากรที่มีคุณค่าหลายอย่างต้องถูกระดมมาใช้และสูญเสียไปในการทำสงคราม ข้อที่สอง กลยุทธ์แบบนี้มักจะไม่ประสบผลสำเร็จ ในกรณีที่ฝ่ายตั้งรับสามารถที่จะจัดหาทรัพยากรเพื่อมาสนับสนุนการฟื้นตัวได้ทันเวลา ข้อได้เปรียบทางกลยุทธ์ของฝ่ายบุกจะหมดไปในทันที ทำให้คุณจำเป็นจะต้องแข็งแกร่งกว่าคู่ต่อสู้ จริงๆแล้วก็มีตัวอย่างอยู่มากมายเช่นกัน (ทั้งการแข่งขันในเชิงธุรกิจและสงคราม) ที่ฝ่ายตั้งรับสามารถต้านทานผู้บุกรุกที่กล้าแข็งกว่าได้ ดังนั้นกลยุทธ์จะเหมาะสมกับการใช้ก็ต่อเมื่อ

- สินค้าในตลาดค่อนข้างเหมือนกัน
- มูลค่าของแบรนด์ต่ำ
- ความภักดีของลูกค่าต่ำ
- ความต่างของสินค้าไม่มาก
- คู่แข่งมีทรัพยากรจำกัด
- ผู้โจมตีมีทรัพยากรมาก
กลยุทธ์โอบล้อม (กลยุทธ์ตีโอบ) กลยุทธ์นี้ค่อนรู้จักกันดี แต่ไม่ชัดเจนนักในแง่ของการเป็นกลยุทธ์เชิงรุก การโอบล้อมคู่แข่งทำได้สองทางด้วยกัน หนึ่ง คุณต้องพัฒนากลุ่มผลิตภัณฑ์ที่เหมือนกับของคู่แข่ง และให้ผลิตภัณฑ์แต่ละตัวดึงเอาส่วนแบ่งการตลาดมาจากผลิตภัณฑ์ของคู่แข่ง, ปล่อยให้มันอ่อนแอ, ทำให้เสื่อมความนิยม และก็ถึงเวลาของการโอบล้อม ถ้ากระทำได้สำเร็จอย่างลับๆ จะช่วยหลีกเลี่ยงปัญหาความยุ่งยากได้มาก อีกด้านหนึ่งการโอบล้อมจะกระทำที่ตลาดเฉพาะกลุ่มแทนที่จะเป็นผลิตภัณฑ์ ผู้จู่โจมจะขยายกลุ่มตลาดที่จะค่อยๆโอบล้อมและครอบคลุมตลาดของคู่แข่ง การเข้ายึดพื้นที่ทีละเล็กละน้อยจะช่วยให้ได้ส่วนแบ่งการตลาดจากเป้าหมาย และกลยุทธ์โอบล้อมจะใช้ได้ในเงื่อนไขต่อไปนี้

- กลุ่มตลาดไม่ได้ถูกแบ่งอย่างชัดเจน
- ตลาดบางกลุ่มไม่ค่อยจะมีการแข่งขันมากนัก
- ผู้โจมตีมีทรัพยากรเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ค่อนข้างมาก
- ผู้โจมตีมีทรัพยากรเพียงพอที่จะใช้ในการดำเนินการกับกลุ่มตลาดหลายกลุ่มพร้อมๆกัน
- ผู้โจมตีมีโครงสร้างองค์กรแบบไม่รวมศูนย์

เขตการค้าเสรีอาเซียน

เขตการค้าเสรีอาเซียน (อังกฤษ: ASEAN Free Trade Area) หรือ อาฟต้า (AFTA) เป็นข้อตกลงทางการค้า สำหรับสินค้าที่ผลิตภายในประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมด

  1. เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนในฐานะที่เป็นฐานการผลิตที่สำคัญเพื่อป้อนสินค้าสู่ตลาดโลก โดยอาศัยการเปิดเสรีด้านการค้าและการลดภาษีและอุปสรรคข้อกีดขวางทางการค้าที่มิใช่ภาษี รวมทั้งการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภาษีศุลกากรเพื่อเอื้ออำนวยต่อการค้าเสรี
  2. กลไกการลดภาษีที่สำคัญของ AFTA คือระบบ CEPT (Common Effective Preferential Tariff Scheme) ซึ่งกำหนดให้ประเทศสมาชิกให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีศุลกากรแก่กันแบบต่างตอบแทน กล่าวคือ การที่จะได้สิทธิประโยชน์จากการลดภาษีของประเทศอื่นสำหรับสินค้าชนิดใด ประเทศสมาชิกนั้นจะต้องประกาศลดภาษีสำหรับสินค้าชนิดเดียวกันด้วย ทั้งนี้ CEPT ได้กำหนดให้สินค้าที่ได้รับประโยชน์จากการลดภาษีจะต้องมีสัดส่วนมูลค่าที่เกิดขึ้นในอาเซียน (ASEAN Local Content) อย่างน้อย 40% และสามารถคำนวณวัตถุดิบในอาเซียนแบบสะสม (Cumulative Rules of Origin) โดยกำหนดอัตราขั้นต่ำของวัตถุดิบเท่ากับ 20%

ฺBreakingnews