MBA Gossip

  • ข้าวผัดหมู - *เครื่องปรุง* 1. ข้าวสวย ¾ ถ้วยตวง 2. หมูสับ 50 กรัม 3. หมูแฮมหั่นเป็นเส้นฝอย 3 แผ่น 4. หมูยอหั่นเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า 1 ช้อนโต๊ะ 5. กระเทีย...
    7 ปีที่ผ่านมา
  • ปวดหลัง - * อาการปวดหลังร่วมกับแขนขาชาไม่มีแรง* กลั้นปัสสาวะและอุจจาระไม่ได้ ซึ่งลักษณะอาการดังกล่าวเป็นไปได้ว่าไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ ทางที่ดีควรรีบปรึก...
    7 ปีที่ผ่านมา
  • เพื่อนแพง - พุทธศักราช 2476 นาข้าวชูรวงทองเหลืองอร่ามเต็มท้องทุ่งบ้านสร้าง อำเภอหนึ่งในจังหวัดปราจีนบุรี เสียงควบขี่ไอ้เปลี่ยว ควายคู่ใจของ ไอ้ลอ (ศุกลวัฒน์ คณารศ)...
    8 ปีที่ผ่านมา
Custom Search
วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การจัดสรรเงินทุนให้อยู่ในรูปของสินทรัพย์ถาวร

เพื่อก่อให้เกิดกำไร ถ้าจะจัดเงินทุนให้อยู่ในรูปสินทรัพย์ถาวร การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรเป็นการลงทุนที่ใช้เงินจำนวนมาก ระยะเวลาคืนทุนยาวนาน การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรต้องทำงบประมาณจ่ายลงทุน การตัดสินใจในงบประมาณจ่ายลงทุน ประกอบด้วยการวิเคราะห์ 2 ด้าน
1. การวิเคราะห์ผลตอบแทนที่คาดหวัง โดยการคำนวณ NPV IRR
2. การวิเคราะห์ผลตอบแทนที่ต้องการ โดยการคำนวณ WACC
การพิจารณางบการลงทุนในโครงการ จะทำได้โดยการคำนวณ cash flow แล้วนำมาประเมินการตัดสิน เวลาจะคำนวณเรื่องงบประมาณจ่ายลงทุน จะต้องคำนวณต้นทุนของเงินทุนก่อนและคำนวณผลตอบแทนที่ต้องการก่อน โดยคำนวณ WACC ออกมาก่อนว่าต้นทุนของเงินทุนเป็นเท่าไร แล้วเอาเงินนี้ไปลงทุนเสร็จแล้วได้รับผลตอบแทนที่คาดหวัง (expected rate) เป็นเท่าไร ผลตอบแทนที่คาดหวังนี้น่าจะมากกว่าผลตอบแทนที่ได้จากการคำนวณ WACC คือผลตอบแทนที่ได้สูงกว่าต้นทุนทางการเงินของเรา เราจึงยอมรับโครงการนั้น การคำนวณจะประกอบไปด้วยการทำ 3 ขั้นตอน
1. Initial Investment Outlay เป็นการคำนวณเงินลงทุนเริ่มต้นโครงการ เช่น เงินลงทุนซื้อสินทรัพย์ถาวรที่เป็นอาคาร ที่ดิน อุปกรณ์หรือเครืองจักร และเงินลงทุนหมุนเวียนสุทธิ NWC--Net Working Capital
2. Operating Cash flow เป็นการคำนวณกระแสเงินสดที่ได้จากการดำเนินงานตลอดอายุโครงการ โดยการคำนวณตามหลักบัญชี
3. Terminal Year Cash flows เป็นขั้นตอนปิดอายุโครงการ จะมีอยู่ในปีสุดท้ายปีเดียว โดยการคำนวณมูลค่าซากของโครงการ แล้วบวกกลับด้วย NWC ที่หักไว้ตั้งแต่ต้นในปีเริ่มโครงการแล้วเอา cash flow 5 ปีที่ได้ไปคำนวณหาวิธีการประเมินโครงการว่าจะยอมรับโครงการนี้หรือไม่ โดยการคำนวณ
PB--Payback Period เป็นการคำนวณระยะเวลาที่ธุรกิจลงทุนในสินทัพย์ถาวรแล้วได้รับผลตอบแทนกลับคืนมาเป็นจำนวนกี่ปี จึงจะเท่ากับเงินลงทุนที่จ่ายเริ่มแรก (เป็นวิธีการคำนวณที่ง่าย แต่มีข้อเสีย คือ ไม่ได้คำนึงถึงว่าหลังจากระยะเวลาคืนทุนแล้ว โครงการนั้นจะมีเงินสดเท่าไร) ส่วนใหญ่จะไม่ได้ใช้
NPV--Net Present Value คือมูลค่าปัจจุบันสุทธิ เป็นวิธีการประเมินโครงการโดยพิจารณาผลต่างระหว่างกระแสเงินสดที่ได้มาตลอดอายุโครงการ เมื่อคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันกับเงินลงทุนเมื่อเริ่มโครงการ
NPV คือผลต่างของกระแสเงินสดที่ได้รับตลอดอายุโครงการ คือปีที่ 1 2 3 4 เมื่อคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันแล้วเอามาลบกับปีที่ 0 ที่เราลงทุนเมื่อเริ่มโครงการไป คือผลต่างของกระแสเงินสดที่ได้รับตลอดอายุโครงการเมื่อคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันแล้ว กระแสเงินสดที่จ่ายเมื่อเริ่มต้นโครงการ โดยเราจะพิจารณายอมรับโครงการที่ NPV มีค่าเป็นบวกและปฏิเสธโครงการที่ NPV ที่มีค่าเป็นลบ
ถ้าโครงการที่มีวัตถุประสงค์เหมือนกันจำเป็นจะต้องเลือกเพียงโครงการเดียว ให้พิจารณาโครงการที่ NPV ที่มีค่าเป็นบวกสูงที่สุด
ถ้าโครงการที่มีวัตถุประสงค์ต่างกัน สามารถเลือกได้หลายโครงการ ให้พิจารณาโครงการที่ NPV มีค่าเป็นบวกทุกโครงการ แต่มีข้อแม้ว่าองค์กรจะต้องมีเงินลงทุนในแต่ละโครงการที่เพียงพอด้วย เช่น มี 10 โครงการที่ NPV มีค่าเป็นบวกแต่ต้องใช้เงินลงทุน 1000 ล้าน แต่มีเงินแค่ 100 ล้าน จะต้องหาโครงการที่เหมาะสมกับองค์กรใน 100 ล้านให้มากที่สุด
IRR--Internal Rate of Return คือผลตอบแทนภายในเป็นการประเมินโครงการโดยการพิจารณาอัตราดอกเบี้ยหรือผลตอบแทน ที่ทำให้กระแสเงินสดที่ได้รับในแต่ละปี ตลอดอายุโครงการเมื่อคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันแล้ว เท่ากับเงินสดเมื่อเริ่มต้นโครงการ จะยอมรับโครงการที่มีวัตถุประสงค์เหมือนกัน ให้เลือกโครงการที่มี IRR สูงที่สุด
ถ้าเป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ให้เลือกทุกโครงการที่ IRR มากกว่า WACC แต่ต้องมีเงินลงทุนเพียงพอด้วย
MIRR--Modified Internal Rate of Return อัตราผลตอบแทนที่ปรับปรุงแล้ว เป็นวิธีการคำนวณเช่นเดียวกับ IRR คือการคำนวณดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนที่ทำให้กระแสเงินสดที่ได้รับตลอดอายุโครงการ เมื่อคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันแล้วเท่ากับเงินลงทุนเมื่อเริ่มโครงการ แต่กระแสเงินสดที่ได้รับในแต่ละปีนำไปลงทุนต่อ โดยได้รับผลตอบแทนเท่ากับ WACC
MIRR จะมีอยู่ 2 ตัว ที่คิดเหมือนกัน คือจะหาอัตราผลตอบแทนที่ทำให้กระแสเงินสดที่ได้รับในแต่ละปี เท่ากับกระแสเงินสดที่ลงทุนเมื่อเริ่มโครงการแต่ว่ากระแสเงินสดที่ได้รับในแต่ละปี จะเอาไปลงทุนต่อ โดยได้รับผลตอบแทนเท่ากับ WACC เวลาจะตัดสินใจยอมรับโครงการให้เลือกโครงการที่ MIRR มีค่ามากกว่า WACC และมีค่าสูงสุด

ปัจจัยที่ทำให้มูลค่าของหุ้นสามัญในท้องตลาดสูงที่สุดมี 2 ปัจจัย
1. เงินปันผล เมื่อจ่ายเงินปันผลมากเท่าไรราคาของหุ้นสามัญก็จะสูงขึ้นเท่านั้น
2. ความเสี่ยง คือโอกาสที่จะสูญเสียบางอย่าง ในทางการเงินจะพิจารณาความเสี่ยงได้จาก ความปลอดภัยของเงินลงทุนกับอัตราผลตอบแทน ถ้าความปลอดภัยของเงินลงทุนน้อย แสดงว่ามีความเสี่ยงสูงเมื่อมีความเสี่ยงสูง อัตราผลตอบแทนต้องสูง ตามหลักการของ Trade off (high risk high return) ในทางตรงกันข้าม ถ้าความปลอดภัยมาก ความเสี่ยงก็จะน้อย ผลตอบแทนก็จะน้อย
Trade off มี 5 ปัจจัย
1. ประเภทของธุรกิจ ธุรกิจที่ต่างกันก็จะมีความเสี่ยงที่ต่างกันผลตอบแทนก็ต่างกัน
2. ขนาดของธุรกิจ ธุรกิจประเภทเดียวกันแต่มีขนาดต่างกัน ธุรกิจขนาดใหญ่ก็จะมีความเสี่ยงมากกว่าธุรกิจขนาดเล็ก
3. เทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่ใช้ในองค์กร ธุรกิจที่ลงทุนในทรัพย์สินถาวรมากเท่ไร ก็มีความเสี่ยงมากเท่านั้น เช่น ธุรกิจสายการบิน
4. การใช้ประโยชน์จากหนิ้สิน ถ้าใช้หนี้มาก ๆ จะมีความเสี่ยงสูง แต่จะทำให้มีเงินไปลงทุนในในสินทรัพมาก โอกาสที่จะทำก็มากตามไปด้วย
5. สภาพคล่อง องค์กรที่มีสภาพคล่องมาก ๆ ความเสี่ยงก็น้อย การมีสภาพคล่องมาก คือการมีสินทรัพย์หมุนเวียนมาก แต่ตัวที่ก่อให้เกิดกำไรคือสินทรัพย์ถาวร ดังนั้น การที่มีสภาพคล่องมากหมายความว่าเอาเงินไปลงทุนในสินทรัพย์สินทรัพย์หมุนเวียนมาก เหลือเงินลงทุนในสินทรัพย์ถาวรน้อย ทำให้โอกาสที่จะทำกำไรน้อยตามไปด้วย

การตัดสินใจลงทุน

1. นโยบายการจัดหาเงินทุนหมุนเวียน ทั้ง 3 แนวคิด
- แนวคิดขาดดุล
- แนวคิดเกินดุล
- แนวคิดสมดุล
2. การจัดการสินค้าคงเหลือ : ตามแบบจำลองปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด EOQ
- การกำหนดปริมาณการสั่งซื้อต่อครั้งที่ทำให้เกิดประหยัด
- การกำหนดจุดสั่งซื้อ
- การกำหนดระดับสินค้าคงเหลือเผื่อขาด
3. ความเสี่ยงและผลตอบแทน :
- ความเสี่ยงและผลตอบแทนจะมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน โดยการลงทุนใดที่มีความเสี่ยงสูง ผลตอบแทนที่ต้องการก็จะสูงตาม
- ความเสี่ยงของการลงทุนในหุ้นมี 2 ส่วนคือ ส่วนที่สามารถขจัดได้ และความเสี่ยงจากภาวะตลาด
- ความเสี่ยงที่เกิดจากการลงทุนในหลักทรัพย์สามารถทำให้ลดลงได้โดยการลงทุนในหลักทรัพย์มากชนิดหรือเพิ่มขนาดของ portfolio
- ความเสี่ยงจากภาวะตลาด เป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นและกระทบกับกับทุกกิจการโดยรวมอย่างเป็นระบบเช่นเกิดสงคราม ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ซึ่งไม่สามารถขจัดได้ด้วยการกระจายการลงทุน
4. การลงทุนในสินทรัพยไม่หมุนเวียน (สินทรัพย์ถาวร)
- การประเมินความคุ้มค่าของโครงการ หลังจากได้ประมาณกระแสเงินสดที่เกี่ยวข้องแล้ว
- วิธี NPV : มูลค่าปัจจุบันสุทธิ วิธี IRR : อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน
- ความเสี่ยงของโครงการ
1. ความเสี่ยงเอกเทศ : คำนึงเฉพาะตัวโครงการ
2. ความเสี่ยงของกิจการ : พิจารณาผลที่จะส่งถึงบริษัท แต่ถูกขจัดได้
3. ความเสี่ยงตลาด
การตัดสินใจหาเงินทุน
1. แหล่งเงินทุนจากเจ้าหนี้
- ข้อดีข้อเสียของการระดมเงินทุนระยะยาวจากเจ้าหนี้ (หุ้นกู้)
2. แหล่งเงินทุนจากส่วนของเจ้าของ : หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ
- ข้อดีข้อเสียของการออกหุ้นสามัญ
- ข้อดีข้อเสียของการออกหุ้นบุริมสิทธิ
- ลักษณะและข้อดีข้อเสียของหลักทรัพย์แปลงสภาพ
3. ข้อพิจารณาในการจัดหาเงินทุน
- ปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการตัดสินใจระดมเงินทุนระยะยาวจากส่วนของเจ้าของ
4. แนวคิดของต้นทุนเงินทุน
- ต้นทุนเงินทุนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก WACC
5. โครงสร้างเงินทุนที่เหมาะสม : การกำหนดสัดส่วนของหนี้สินระยะยาวและส่วนของเจ้าของ ที่ทำให้ราคาตลาดของหุ้นสามัญสูงสุด
- ปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการตัดสินใจเกี่ยวกับโครงสร้างเงินทุน
6. ความเสี่ยงของกิจการ
- ความเสี่ยงทางธุรกิจ : เกิดจากการดำเนินงานของธุรกิจนั้น ๆ
- ความเสี่ยงทางการเงิน : เกิดเพิ่มจากการตัดสินจัดหาเงินทุนโดยการกู้ยืม
7. การควบรวมกิจการ
- รูปแบบและลักษณะ
- มูลเหตุของการควบรวมกิจการ

financial system

ระบบการเงิน (financial system) เปรียบเสมือนระบบหมุนเวียนโลหิตของร่างกายที่สูบฉีดโลหิตไปยังอวัยวะต่าง ๆ เพื่อให้การทำงานของอวัยวะแต่ละส่วนเป็นปกติ ถ้าระบบหมุนเวียนโลหิตไม่ดี การทำงานของอวัยวะก็บกพร่อง ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบร่างกาย ระบบการเงินจะเกี่ยวกับสภาพคล่อง (liquidity) ในการดำเนินงาน เกี่ยวข้องกับการจัดการเงินสดหมุนเวียน ถ้าธุรกิจขาดเงินทุน อาจก่อให้เกิดปัญหาขึ้นทั้งโดยตรงและทางอ้อม โดยที่การจัดการทางการเงินจะมีหน้าที่สำคัญ 3 ประการ ดังต่อไปนี้ 

1. การพยากรณ์ (forecast) การศึกษา วิเคราะห์ การคาดกราณ์ การกำหนดทางเลือก และการวางแผนทางด้านการเงินของธุรกิจ เพื่อใช้ทรัพยากรทางการเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยนักการเงินสามารถใช้หลักการทางสถิติและแบบจำลองทางคณิตศาสตร์มาประยุกต์ การพยากรณ์ทางการเงิน จะอาศัยข้อมูลจากทั้งภายในและภายนอกองค์การ ตลอดจนประสบกราณ์ของผู้บริหารในการตัดสินใจ 

2. การจัดการด้านการเงิน (financial management) เกี่ยวข้องกับเรื่องการบริหารเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น รายรับและรายจ่าย การหาแหล่งเงินทุนจากภายนอก เพื่อที่จะเพิ่มทุนขององค์การ โดยวิธีการทางการเงิน เช่น การกู้ยืม การออกหุ้นหรือตราสารทางการเงินอื่น เป็นต้น 

3. การควบคุมทางการเงิน (financial control) เพื่อติดตามผล ตรวจสอบ และประเมินตวามเหมาะสมในการดำเนินงานว่าเป็นไปตามแผนที่กำหนดหรือไม่ ตลอดจนวางแนวทางแก้ไขหรือปรับปรุงให้การดำเนินงานทางการเงินของธุรกิจมีประสิทธิภาพ โดยที่การตรวจสอบและการควบคุมการทางการเงินของธุรกิจสามารถจำแนกออกเป็น 2 ประเภทดังต่อไปนี้ 

การควบคุมภายใน (internal control) 
การควบคุมภายนอก (external control) 
ระบบสารสนเทศด้านการเงิน (finalncial information system) เป็นระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นสำหรับสนับสนุนกิจกรรมทางด้านการเงินขององค์การ ตั้งแต่การวางแผน การดำเนินงาน และการควบคุมทางด้านการเงิน เพื่อให้การจัดการทางการเงินเกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยที่แหล่งข้อมูลสำคัญในการบริหารเงินขององค์การมีดังต่อไปนี้ 

1. ข้อมูลจากการดำเนินงาน (operatins data) เป็นข้อมูลที่ได้จากการปฏิบัติงานของธุรกิจ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการควบคุม ตรวจสอบ และปรับปรุงแผนการเงินขององค์การ 

2. ข้อมูลจากการพยากรณ์ (forecasting data) เป็นข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมและประมวลผล เช่น การประมาณค่าใช้จ่ายและยอดขายที่ได้รับจากแผนการตลาด โดยใช้เทคนิคและแบบจำลองการพยากรณ์ โดยที่ข้อมูลจากการพยากรณ์ถูกใช้ประกอบการวางแผน การศึกษาความเป็นไปได้ และการตัดสินใจลงทุน 

3. กลยุทธ์องค์การ (corporate strategy) เป็นเครื่องกำหนดและแสดงวิสัยทัศน์ ภารกิจ วัตถุประสงค์ แนวทางการประกอบธุรกิจในอนาคต เพื่อให้องค์การบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ โดยที่กลยุทธ์จะเป็นแผนหลักที่แผนปฏิบัติการอื่นต้องถูกจัดให้สอดคล้องและส่งเสิรมความสำเร็จของกลยุทธ์ 

4. ข้อมูลจากภายนอก (external data) ข้อมูลทางเศรษฐกิจและการเงิน สังคม การเมือง และปัจจัยแวดล้อมที่มีผลต่อธุรกิจ เช่น อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นต้น โดยข้อมูลจากภายนอกจะแสดงแนวโน้มในอนาคตที่ธุรกิจต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานกราณ์ 

การจัดการทางการเงิน

การจัดการทางการเงินก็คืออิสรภาพทางการเงิน ซึ่งถ้าเป็นบุคคลก็จะหมายถึงการมีทรัพย์สิน ไม่มีหนี้สิน มีเงินลงทุนที่ให้ดอกให้ผลไว้ใช้ยามที่เราไม่ได้ทำงานหรือเกษียณแล้ว
สำหรับธุรกิจ อิสรภาพทางการเงินหมายถึงการมีกระแสเงินสดพอเพียงให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างไม่ติดขัด และเป้าหมายสูงสุดคือการไม่มีหนี้สิน กิจการเจริญเติบโต สร้างรายได้อย่างสม่ำเสมอ สามารถจ่ายเงินปันผลคืนให้กับผู้ถือหุ้นในอัตราที่ดี
ในการจัดการการเงินของธุรกิจ มีงานหลักๆ อยู่ 3 อย่างคือ การจัดหาเงินลงทุนของธุรกิจ การวางแผนและวิเคราะห์การลงทุนของกิจการ และการจัดการสภาพคล่อง ซึ่งในการจัดการจะมีงานอื่นๆ อยู่ด้วย เช่น การวางแผนภาษี การวางนโยบายเทอมการขายที่ให้กับลูกค้า ฯลฯ
การจัดหาเงินลงทุนของธุรกิจหาได้จากแหล่งใหญ่ 2 แหล่งคือ เงินทุน (Owner's Equity) และเงินกู้ยืม (Debt) จะใช้แหล่งไหนก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและอัตราเงินปันผลตอบแทน หรืออัตราดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายให้กับเจ้าของเงิน
โดยทั่วไปกิจการจะใช้เงินกู้ยืมให้มากเท่าที่จะสามารถใช้ได้ เพราะต้นทุนถูกกว่า และดอกเบี้ยจ่ายถือเป็นค่าใช้จ่ายที่นำไปลดภาระภาษีได้ ในขณะที่การออกหุ้นเพื่อระดมทุนต้องสูญเสียการควบคุมบริษัทไปบางส่วน และเงินปันผลที่จ่ายให้กับผู้ถือหุ้น บริษัทไม่สามารถนำไปหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณเงินได้เพื่อเสียภาษีได้
อย่างไรก็ดี การกู้ยืมเงินส่วนใหญ่จะมีระยะเวลาที่สั้นกว่าการใช้เงินส่วนทุน และส่วนใหญ่ต้องใช้หลักประกัน ดังนั้นจึงต้องพิจารณาด้วยว่าแหล่งเงินทุนนั้นมีระยะเวลาเหมาะสมหรือไม่ ถ้าจะนำไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนก็สามารถใช้แหล่งเงินทุนระยะสั้นได้ แต่ถ้าจะใช้ในการลงทุนซื้อทรัพย์สิน เช่น ที่ดิน หรือสร้างโรงงาน ควรใช้แหล่งเงินทุนระยะยาว เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการขาดสภาพคล่องในภายหลัง กรณีถูกดึงเงินคืน กิจการที่เริ่มต้นใหม่ๆ การคืนทุนอาจจะใช้เวลานาน และอาจจะไม่มีทรัพย์สินไปใช้เป็นหลักประกัน จึงอาจจะยังไม่สามารถกู้ยืมเงินได้ ต้องใช้เงินส่วนทุนไปก่อน จนกว่าจะแข็งแกร่งขึ้น
แหล่งเงินทุนยังแบ่งได้เป็นแหล่งเงินทุนภายนอกและทุนภายใน ทุนภายนอกคือ การกู้ยืมหรือการออกหุ้นขาย ตามที่ได้กล่าวไปแล้ว ส่วนทุนภายใน จะเป็นแหล่งที่ไม่มีต้นทุนทางการเงิน แต่อาจจะมีต้นทุนแฝงทางด้านอื่น
กล่าวโดยกว้างๆ แหล่งเงินทุนภายในจะมาจากกำไร และประสิทธิภาพของการจัดการ โดยกำไรที่ได้จากการดำเนินงาน ถ้าไม่จ่ายเป็นเงินปันผลออกไป ก็นำไปใช้ในการขยายธุรกิจได้ รวมถึงการลดความต้องการเงินทุนหมุนเวียนลง เช่น ลดปริมาณสินค้าคงคลัง หรือที่เรียกกันว่าสต็อกสินค้า ลดระยะเวลาการผลิต ให้ผลิตเสร็จเร็วขึ้น เช่นที่ญี่ปุ่นทำการผลิตแบบ Just In Time คือไม่เก็บสต็อกเลย ผลิตเสร็จก็ส่งไปให้ลูกค้า หรือการเก็บหนี้ให้เร็วขึ้น (โดยไม่ให้เสียลูกค้า) หรือการขยายเวลาจ่ายชำระค่าสินค้าหรือวัตถุดิบให้กับเจ้าหนี้การค้า (โดยไม่ให้เสียเครดิต) เป็นต้น
หน้าที่หลักอย่างที่สองคือการวางแผนและวิเคราะห์การลงทุน ธุรกิจจะมีการเติบโตต้องมีการขยายการลงทุนเพื่อเป็นการขยายรายได้ ในการวิเคราะห์ว่าจะลงทุนในโครงการไหน ต้องพิจารณาเปรียบเทียบผลตอบแทนกับต้นทุนที่ลงไป โดยสามารถใช้วิธีคิดลดกระแสเงินสด (discounted cash flow) เปรียบเทียบกับเงินลงทุนที่ต้องใช้ในปัจจุบันได้ โดยคำนวณเป็นกระแสเงินสดสุทธิในปัจจุบันหรือ net present value ถ้ากระแสเงินสดสุทธิเป็นลบ ก็เลิกคิดที่จะลงทุนไปได้เลย ถ้าเป็นบวกและมีหลายโครงการให้เลือก ก็ต้องเลือกที่เป็นบวกมากที่สุด

ฺBreakingnews