MBA Gossip

  • ข้าวผัดหมู - *เครื่องปรุง* 1. ข้าวสวย ¾ ถ้วยตวง 2. หมูสับ 50 กรัม 3. หมูแฮมหั่นเป็นเส้นฝอย 3 แผ่น 4. หมูยอหั่นเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า 1 ช้อนโต๊ะ 5. กระเทีย...
    7 ปีที่ผ่านมา
  • ปวดหลัง - * อาการปวดหลังร่วมกับแขนขาชาไม่มีแรง* กลั้นปัสสาวะและอุจจาระไม่ได้ ซึ่งลักษณะอาการดังกล่าวเป็นไปได้ว่าไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ ทางที่ดีควรรีบปรึก...
    7 ปีที่ผ่านมา
  • เพื่อนแพง - พุทธศักราช 2476 นาข้าวชูรวงทองเหลืองอร่ามเต็มท้องทุ่งบ้านสร้าง อำเภอหนึ่งในจังหวัดปราจีนบุรี เสียงควบขี่ไอ้เปลี่ยว ควายคู่ใจของ ไอ้ลอ (ศุกลวัฒน์ คณารศ)...
    8 ปีที่ผ่านมา
Custom Search
วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

Basic Methods of Setting Price

วิธีการขั้นพื้นฐานในการตั้งราคา (Basic Methods of Setting Price) นิยมกันอยู่ทั่วไป
3 วิธีคือ
1. วิธีการตั้งราคาโดยยึดต้นทุนเป็นเกณฑ์
2. วิธีการตั้งราคาโดยยึดความต้องการของตลาดเป็นเกณฑ์
3. วิธีการตั้งราคาโดยยึดการแข่งขันเป็นเกณฑ์
1. วิธีการตั้งราคาโดยยึดต้นทุนเป็นเกณฑ์ วิธีปฏิบัติมี 2 แบบคือ
1.1 ตั้งราคาโดยคิดต้นทุนบวกกำไร
ราคาขายต่อหน่วย = ต้นทุนทั้งหมด + กำไรที่ต้องการ

จำนวนการผลิต วิธีนี้จะใช้ได้ต้องแน่ใจว่าจำนวนผลิตต้องเท่ากับจำนวนจำหน่าย ผู้ขายจึงจะมีกำไรตามที่ต้องการ
สำหรับพ่อค้าคนกลาง อาจจะบวกกำไรกับต้นทุนได้หลายลักษณะ เช่น
(กำไร)
- ราคาขายต่อหน่วย = ต้นทุนต่อหน่วย + 10% ของราคาขาย
(กำไร)
- ราคาขายต่อหน่วย = ต้นทุนต่อหน่วย + 10% ของราคาทุน
1.2 วิธีการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน
จุดคุ้มทุน (Break-Even Point) เป็นจุดที่แสดงว่าปริมาณ ณ จุดของการผลิต หรือการจำหน่าย รายได้รวมจะเท่ากับต้นทุนรวมพอดี
สูตร จุดคุ้มทุน = ต้นทุนคงที่ทั้งหมด
ราคาขายต่อหน่วย  ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย
2.วิธีการตั้งราคาโดยยึดความต้องการของตลาดเป็นเกณฑ์การพิจารณาตั้งราคา
โดยยึดความต้องการของตลาดเป็นเกณฑ์นั้น สามารถจำแนกได้เป็นลักษณะย่อย ๆ
ดังนี้
2.1 การตั้งราคาในตลาดผูกขาด

2.2 การตั้งราคาในตลาดที่มีการแข่งขันอย่างสมบูรณ์

2.3การตั้งราคาในตลาดที่มีการแข่งขันน้อยรายระดับราคาที่เหมาะสมของสินค้า
ในตลาดทั้ง 3 ประเภทอาศัยแนวความคิดเดียวกัน คือ ผู้ผลิตต้องพยายามผลิต และขายในปริมาณที่ทำให้เกิดกำไรสูงสุด โดยสรุปได้ว่า ระดับราคาที่เหมาะสม อยู่ที่ปริมาณการผลิตที่ทำให้ต้นทุนเพิ่มเท่ากับรายได้ส่วนเพิ่ม แต่ราคาจะต่างกัน ตามลักษณะเส้นอุปสงค์ของตลาดแต่ละประเภท

2.4 การตั้งราคาในตลาดที่มีความแตกต่างกันในด้านความต้องการซึ่งระดับราคา จะแตกต่างตามกรณี เช่น
- ลูกค้ามีมากกว่า 1 กลุ่ม และแต่ละกลุ่มมีความต้องการสินค้าแตกต่างกัน กลุ่มใด มีความต้องการและความจำเป็นมาก ราคาจะสูงกว่ากลุ่มอื่น
- ลูกค้าแต่ละกลุ่มอยู่ห่างไกลกันทำให้ต้นทุนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ สำหรับแต่ละ กลุ่มเป้าหมายแตกต่างกันไปด้วย
- ช่วงเวลาที่ขายสินค้าแตกต่างกัน ระดับราคาสินค้าที่จำหน่ายในแต่ละช่วง เวลาจะไม่เท่ากัน เช่น รถรับ-ส่งสองแถว เป็นต้น
3. วิธีการตั้งราคาโดยยึดการแข่งขันเป็นเกณฑ์
การตั้งราคาโดยมุ่งพิจารณาที่การแข่งขัน เป็นวิธีการที่นักการตลาดเห็น
ความสำคัญของคู่แข่งขันมากกว่าความสำคัญของความต้องการของตลาดและ
ต้นทุน ลักษณะ ราคาเช่นนี้อาจเกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งเพื่อเอาชนะ
คู่แข่งขัน ระดับราคา ไม่จำเป็นต้องเท่าเทียมกับคู่แข่งขัน อาจสูงกว่าหรือต่ำกว่า
ก็ได้ ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนถึงการตั้งราคาในลักษณะนี้ได้แก่

3.1 การกำหนดราคาตามคู่แข่งขัน
3.2 การกำหนดราคาโดยยื่นซองประมูล
1. ปัจจัยภายใน
2. ปัจจัยภายนอก
1. ปัจจัยภายใน
1. วัตถุประสงค์ขององค์การ (Company Objective) องค์การหรือบริษัทจะเป็นผู้กำหนดเป้าหมายและนโยบายในการดำเนินกิจการ แล้วจึงกำหนดราคาเพื่อให้ สอดคล้องกัน

2. ลักษณะและประเภทของสินค้า (Character of Product) เช่น สินค้าเกษตรกรรมนอกฤดูจะขายราคาแพงกว่าปกติมาก

3. ต้นทุนจะเป็นตัวกำหนดราคาขั้นต่ำสุด
2. ปัจจัยภายนอก
1. คำนึงถึงอุปสงค์ (Demand) ของตลาดว่ามีความต้องการเสนอซื้อสินค้ามาก
เท่าใดและอุปสงค์ ของสินค้านั้นมีความยืดหยุ่นต่อราคาเป็นอย่างไร
2. สภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน
3. กฎหมายและรัฐบาล
4. จรรยาบรรณในการประกอบธุรกิจ
5. สภาพการแข่งขัน
6. คำนึงถึงพ่อค้าคนกลาง ผู้ผลิตตั้งราคาให้เขาสามารถขายได้
7. ผู้บริโภค

วัตถุประสงค์ในการกำหนดราคา
แบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. พิจารณาด้านกำไร (Profit Oriented Objectives)
2. พิจารณาด้านการขาย (Sales Oriented Objectives)
3. เพื่อรักษาเสถียรภาพของราคา (Stabilize Price Objectives)
1. วัตถุประสงค์ในการกำหนดราคาโดยพิจารณาด้านกำไร
วัตถุประสงค์ในการกำหนดราคาโดยพิจารณาด้านกำไรนั้นหมายความว่า ใช้กำไรเป็นตัวกำหนด หรือหลักในการพิจารณาว่าราคาควรอยู่ระดับใดแบ่ง
ได้ 2 อย่างคือ
1.1 เพื่อได้ตอบแทนตามเป้าหมาย (Target Return) คือเป็น การตั้งเป้าหมายไว้ก่อนว่าต้องการกำไรเป็นจำนวนเงินคงที่เท่าใด อาจคิดเป็นจำนวนเงินหรือคิดเป็นกำไรเป็นร้อยละเท่าใดจากเงินลงทุน หรือร้อยละราคาขาย แล้วจึงคำนวณว่าจะตั้งราคา ณ ระดับใดจึงจะ ได้กำไรตามเป้าหมาย

1.2 เพื่อได้ผลตอบแทนสูงสุด (Maximize Profit) คือการกำหนดราคาเพื่อ ให้ได้กำไรสูงสุดนั้น ในทางเศรษฐศาสตร์จะพิจารณาตั้งราคาตรงจุดที่
ต้นทุนเพิ่มต่อหน่วย = รายได้เพิ่มต่อหน่วยคือ
Marginal Cost (MC) = Marginal Revenue (MR)
2. วัตถุประสงค์ในการกำหนดราคาโดยพิจารณาด้านการขายแบ่งได้เป็น 3 อย่าง
คือ
2.1 เพื่อเพิ่มปริมาณการขาย (Increased Sales) คือการตั้งราคาให้ต่ำ แต่ต้องคำนึงด้วยว่าจะต้องไม่ต่ำกว่าต้นทุน และควรเป็นราคาที่ทำให้ขาย
ได้มาก ที่สุด

2.2 เพื่อรักษาสัดส่วนของการถือครองตลาด (Maintain Market Share) คือการตั้งราคาเพื่อให้กิจการดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ เพื่อให้ได้กำไรพอ สมควรแต่มียอดการจำหน่ายในสัดส่วนคงที่

2.3 เพื่อเพิ่มปริมาณการถือครองตลาด (Inereased Market Share) คือการตั้งราคาที่ทำให้ขยายส่วนถือครองตลาดให้สูงขึ้น คิดดึงเอา เปอร์เซ็นต์การถือครองตลาดของคู่แข่งขันมา วิธีการนี้อาจทำได้โดย การลดราคาสินค้าลง หรือที่เรียกว่าการตัดราคา
3. วัตถุประสงค์ในการกำหนดราคาโดยพิจารณาการรักษาเสถียรภาพของราคา
แบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ
3.1 เพื่อรักษาระดับราคาให้คงที่และไม่มีการพัฒนาด้านใดให้ดีขึ้น คงปล่อย ให้กิจการดำเนินไปเรื่อย ๆ ไม่เปลี่ยนแปลง และคงขายสินค้าราคาคงที่ตลอดไป อาจมีการเปลี่ยนแปลงบ้างแต่นาน ๆ ครั้ง

3.2 เพื่อรักษาระดับราคาให้คงที่ แต่พยายามพัฒนาปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ ให้ดีขึ้นและผู้บริหารจะต้องพยายามแข่งขันในด้านส่งเสริมการตลาดให้ดีขึ้นด้วย โดยคงราคาไว้ ณ ระดับเดิมเป็นการแข่งขันโดยใช้วิธีอื่นซึ่งไม่ตัดราคา

LEADERSHIP

1. L = LOVEรักความยุติธรรม หน้าที่การงาน ความก้าวหน้าของผู้ใต้บังคับบัญชา
2. E = EDUCATION & EXPERIENMECผู้นำต้องมีการศึกษาและประสบการณ์สูง
3. A = ADAPTABILITYความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อม
4. D = DECISVENESSมีความเชื่อมั่นในตัวเอง สามารถตัดสินปัญหาได้รวดเร็ว
5. E = ENTHUSIASMมีความตั้งใจในการปฏิบัติงานอย่างจริงจังและจริงใจ
6. R = RESPONSIBILITYมีความรับผิดชอบในผู้อื่นและรับผิดชอบงาน
7. SACRIFICE & SINCEREเสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
8. H = HARMORIZE
เสริมสร้างความสามัคคีและความเข้าใจอันดีต่อเพื่อนร่วมงาน
9. INTELLECTUAL CAPACITYมีความคิดริเริ่ม ฉลาด มีไหวพริบ ทันคนทันเหตุการณ์
10. P = PERSUASIVENESSความสามารถในการจูงใจคน มีทักษะในการสื่อสาร

Informal dependence

การเป็นผู้นำผู้บริหารองค์กรที่ไม่สามารถไปทำทุกเรื่องทุกอย่างในองค์กรด้วยตนเองได้ทั้งหมด เพราะองค์กรมีองค์ประกอบหลายส่วน หลายลักษณะ หลายขนาด หลายหน้าที่ ที่แตกต่างกัน แต่รวมกันทำหน้าที่ของมันเพื่อให้องค์กรขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายความสำเร็จ

"If you think you are the entire picture, you will never see the big picture." ถ้าคุณคิดว่าตัวคุณคือตัวภาพทั้งหมด คุณจะไม่มีวันมองเห็นภาพใหญ่ของภาพนั้น เป็นคำพูดของ John C. Maxwell ที่อธิบายให้ผู้นำผู้บริหารเข้าใจว่า เราไม่สามารถเป็นทุกอย่างในภาพใหญ่ได้ทั้งหมด เพราะภาพแต่ละภาพมีองค์ประกอบหลายส่วนที่มีรูปลักษณ์ ขนาด สีสันที่แตกต่างกันเข้ามารวมกันเป็นภาพใหญ่ ทำให้ภาพมีความลงตัว เกิดความสวยงาม หรือมีความน่าสนใจมากขึ้น 

กลองใบเดียว แม้มือกลองจะมีฝีมือในการตีกลองได้อย่างเชี่ยวชาญแต่ความไพเราะและความน่าสนใจของเสียงกลองที่เล่นอยู่คนเดียวไม่อาจสู้ความไพเราะของเสียงกลองที่เล่นพร้อมกับเครื่องดนตรีหลากหลายชนิดในวงดนตรี การเป็นผู้นำผู้บริหารคือการเป็นผู้นำการบรรเลงเพลงให้เสียงดนตรีที่ออกมาจากเครื่องดนตรีหลากชนิด หลายประเภท ต่างขนาดทั้งชิ้นใหญ่ชิ้นเล็กที่แตกต่างกันสามารถรวมกันเป็นเสียงเพลงบรรเลงที่ไพเราะและน่าสนใจยิ่ง

Robert L. Joss คณบดีของ STANFORD Graduate School of Business กล่าวว่าผู้นำผู้บริหารต้องรู้จักการพึ่งพาผู้อื่นอย่างไม่เป็นทางการ (Informal dependence) เป็นการอาศัยความช่วยเหลือจากบุคคลหลายๆคนที่ไม่มีตำแหน่งตามโครงสร้างการบริหารงานขององค์กร หรือเป็นการขอร้องไหว้วานให้ช่วยเหลือเป็นการส่วนตัว ซึ่งในหลายๆกรณีมีความสำคัญกว่า และมีอำนาจมากกว่า การอาศัยอำนาจตามตำแหน่งในโครงสร้างการบริหารองค์กรที่กำหนดให้งานของผู้นำผู้บริหารอยู่ในจุดสูงสุดขององค์กร

ความคิดหลัก (Key thoughts)

ความรับผิดชอบ ไม่ใช่อำนาจ (Responsibility not power)
ผู้นำผู้บริหารจำนวนมากเมื่อเข้าสู่ตำแหน่งมักคิดถึงอำนาจที่มากับตำแหน่งมากกว่าความรับผิดชอบที่มากับตำแหน่ง และมักใช้อำนาจที่มีคู่กับตำแหน่งไปในทางที่เกิดประโยชน์ต่อความสำเร็จของตนเองโดยขาดจิตสำนึกว่า การเป็นผู้นำหมายถึงการมีความรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตนที่มีผลทำให้เกิดทั้งผลดีและผลเสียต่อองค์กรและบุคลากร ความสำเร็จหรือความล้มเหลวที่เกิดขึ้นจากการใช้อำนาจของตน ทั้งทางตรงหรือทางอ้อมที่มีผลกระทบต่อองค์กรและบุคลากรในองค์กร เป็นความรับผิดชอบโดยตรงของผู้นำผู้บริหาร

ยุทธศาสตร์และความชัดเจน (Strategy and Specifics)
มีคำกล่าวว่า "A group needs a strategy" กลุ่มจำเป็นต้องมียุทธศาสตร์ หมายถึงเมื่อมีคนมากกว่าหนึ่งคนมารวมตัวกันเป็นกลุ่ม ถ้าต้องการให้คนในกลุ่มทำงานอย่างได้ผลและมีประสิทธิภาพ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมียุทธศาสตร์ เพราะถ้าไม่มียุทธศาสตร์กำกับการทำงาน คนในกลุ่มจะทำงานตามความพอใจของตนเอง การทำงานย่อมไม่เกิดผล และไม่มีประสิทธิภาพ Michael Dell ผู้ก่อตั้งและเป็นผู้บริหารสูงสุดของบริษัท Dell Inc. ที่ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์จำหน่ายทั่วโลกกล่าวว่า "You have to show that you know the way, even if you have no idea what to do." คุณต้องแสดงให้คนรู้ว่าคุณรู้จักทางที่จะไป แม้ว่าในขณะนั้นคุณยังไม่รู้ว่าคุณจะทำอะไร ผู้นำผู้บริหารจะต้องรู้ว่าตนเองกำลังจะนำองค์กรไปทางไหนก่อน แล้วถึงมากำหนดสิ่งที่ต้องทำเพื่อนำองค์กรให้เดินไปตามทิศทางนั้น Robert l. Joss ยกตัวอย่างเรื่องความชัดเจนในการบริหารคณะบริหารธุรกิจที่เขาเป็นคณบดีว่า ถ้าจะบอกว่าคณะบริหารธุรกิจของเราจะเป็นคณะที่ยิ่งใหญ่ ผู้ร่วมงานในคณะจะยังไม่รู้ชัดเจนว่าคณะของเราจะไปทางใด ยังไม่เกิด sense of direction ว่าคณะบริหารธุรกิจจะยิ่งใหญ่ได้อย่างไร เพราะเป็นคำพูดที่กว้างเกินไป แต่ถ้าเราพูดว่าคณะบริหารธุรกิจของเราจะใช้ยุทธศาสตร์ 3 Cs ใหม่ คือ a new Curriculum มีหลักสูตรการเรียนใหม่ a new Collaboration มีความร่วมมือใหม่ และ a new Campus มีวิทยาเขตใหม่ คนจะมองเห็นชัดเจนมากขึ้นว่ายุทธศาสตร์ 3Csใหม่จะนำให้คณะบริหารธุรกิจเป็นคณะที่ยิ่งใหญ่ได้
วันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ผลตอบแทนของปัจจัยการผลิต

ผลตอบแทนที่เจ้าของปัจจัยการผลิตจะได้รับจากการถือครองปัจจัยการผลิต 
ซึ่งจะได้มากหรือน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับความต้องการใช้และปริมาณของปัจจัยการผลิต
นั้นๆที่มีอยู่ในตลาดดังนี้ 

ผู้ที่ถือครองที่ดินและให้ผู้อื่นเช่า จะได้ผลตอบแทนอยู่ในรูปของ ค่าเช่า (rent) 

แรงงาน ผู้เป็นเจ้าของแรงงานจะได้รับผลตอบแทนอยู่ในรูปของ ค่าจ้างหรือเงินเดือน
(wage or salary) 

ทุน ผู้เป็นเจ้าของทุนจะได้รับผลตอบแทนอยู่ในรูปของ ดอกเบี้ย (interest) 

ผู้ประกอบการ ผู้ประกอบการจะได้รับผลตอบแทนอยู่ในรูปของ กำไร (profit) 

นอกจากนี้ เรายังสามารถแบ่งปัจจัยการผลิตในทางเศรษฐศาสตร์ 4 ชนิดดังกล่าว ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

ปัจจัยคงที่ (fixed factor) หมายถึงปัจจัยการผลิตประเภทที่ไม่เปลี่ยนแปลงตามปริมาณการผลิต นั่นคือ ไม่ว่าจะผลิตผลผลิตมากหรือน้อยเพียงใดก็จะใช้ปัจจัยการผลิตที่มีอยู่คงที่เท่านั้น โดยทั่วไปปัจจัยคงที่ได้แก่พวกทุนถาวร เช่น ที่ดิน อาคาร โรงงาน เครื่องจักร เครื่องมือ 

ปัจจัยผันแปร (variable factor) 
หมายถึงปัจจัยการผลิตประเภทที่แปรเปลี่ยนตามปริมาณการผลิต กล่าวคือ ถ้าผลิตปริมาณมากจะต้องใช้ปัจจัยการผลิตมาก ในทางกลับกัน ถ้าผลิตปริมาณน้อยก็จะใช้ปัจจัยการผลิตน้อย หรือถ้าไม่ผลิตเลยก็จะไม่ต้องใช้เลย โดยทั่วไปปัจจัยผันแปรได้แก่พวกทุนหมุนเวียน เช่น วัตถุดิบประเภทต่างๆ น้ำประปา ไฟฟ้า แรงงาน ฯลฯ
การผลิตกับการสร้างอรรถประโยชน์

จากความหมายของการผลิตดังกล่าว พอจะสรุปได้ว่าการผลิตเป็นการสร้างอรรถประโยชน์
หรือประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้กับปัจจัยการผลิตต่างๆ ก่อให้เกิดสินค้าและบริการเพื่อ
ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ 
คำว่า อรรถประโยชน์ (utility) หมายถึงความพอใจที่ผู้บริโภคได้รับจากการบริโภคสินค้าหรือ
บริการชนิดใดชนิดหนึ่ง ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง หรือเป็นวิสัยความสามารถของสินค้าและบริการที่จะตอบสนองความต้องการของมนุษย์ 
โดยทั่วไปการผลิตหรือการสร้างอรรถประโยชน์แบ่งออกเป็น 5 ประเภทดังนี้ 

1. การสร้างอรรถประโยชน์จากการแปรรูป (form utility) เป็นการสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจหรือความพอใจอันเนื่องจากการแปรรูปของปัจจัย
การผลิตหรือวัตถุดิบเพื่อให้เกิดเป็นสินค้า และบริการในรูปแบบต่างๆ เพื่อตอบสนอง
ความต้องการของผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด ได้แก่ การแปรรูป จากยางพาราเป็นยางรถยนต์ 
จากแป้งสาลีเป็นขนมประเภทต่างๆ จากเม็ดพลาสติกเป็นอุปกรณ์พลาสติก 
จากเหล็กและไม้เป็นเฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ 

2. การสร้างอรรถประโยชน์ทางด้านสถานที่ (place utility) เป็นการสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจหรือความพอใจอันเนื่องจากการเคลื่อนย้ายสินค้า
หรือปัจจัยการผลิตต่างๆจากที่หนึ่งไปยังอีก ที่หนึ่ง เพื่อบำบัดความต้องการให้ผู้บริโภค
มากขึ้นอย่างทั่วถึง ได้แก่ การขนส่งสินค้าจากผู้ผลิตมายังร้านค้าส่ง จากร้านค้าส่งมายัง
ร้านค้าปลีก และจากร้านค้าปลีกมายังผู้บริโภค หรือการขนส่งผู้โดยสารจากสถาน
ที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่ง ฯลฯ

3. การสร้างอรรถประโยชน์ทางด้านเวลา (time utility) เป็นการสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจหรือความพอใจอันเนื่องจากการแปรรูป
ปัจจัยการผลิตหรือ สินค้าและบริการให้มีอายุการใช้งาน นานขึ้น หรือให้ทันกับความต้องการใช้ของผู้บริโภค เช่น การถนอมอาหารเพื่อให้สามารถเก็บอาหารนั้นไว้บริโภคได้นานๆ การเสนอข่าวที่ทันต่อเหตุการณ์ของสื่อมวลชนแขนงต่างๆ การผลิตสินค้าและบริการที่สอดคล้องกับฤดูกาล เช่น ในฤดูร้อนควรมีการผลิตน้ำแข็งมาก
ขึ้น หรือในฤดูฝนควรมีการผลิต ร่มเพิ่มขึ้น เพื่อให้พอเพียงกับความต้องการที่สูงขึ้นในขณะนั้นๆ

4. การสร้างอรรถประโยชน์ทางด้านกรรมสิทธิ์ (possession utility)

เป็นการสร้าง ประโยชน์ทางเศรษฐกิจหรือความพอใจอันเนื่องจากการโอนกรรมสิทธิ์ความเป็น
เจ้าของในปัจจัยการผลิต หรือสินค้าและบริการต่างๆจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง โดยทั้งสองฝ่ายต่างยินยอมซึ่งกันและกัน เช่น การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์หรือตราสารทางการเงินประเภทต่างๆ ที่ดิน บ้าน ที่อยู่อาศัย รถยนต์ ฯลฯ 

5. การสร้างอรรถประโยชน์ทางด้านบริการ (service utility) เป็นการสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจหรือความพอใจอันเนื่องจากการให้บริการ
โดยตรงแก่ผู้บริโภค ซึ่งได้แก่ การให้บริการทางการแพทย์ การศึกษา การขนส่ง 
การธนาคาร การประกันภัย ฯลฯ

ในทางเศรษฐศาสตร์แบ่งระยะเวลาที่ใช้ในการผลิตออกเป็น 2 ระยะ คือ 

1. ระยะสั้น (short run) หมายถึงระยะเวลาซึ่งผู้ผลิตไม่สามารถจะเพิ่มหรือลดปัจจัยการผลิต
คงที่ได้ จะเปลี่ยนแปลงได้เฉพาะปัจจัยผันแปรเท่านั้น ผู้ผลิตจะต้องป้อนปัจจัยผันแปรให้พอเหมาะเต็มกำลังของปัจจัยคงที่ที่มีอยู่เพื่อให้ต้น
ทุนการผลิตต่ำที่สุด เพื่อผู้ผลิตจะได้รับกำไรสูงสุด 

2. ระยะยาว (long run) หมายถึงระยะเวลาที่ปัจจัยการผลิตทุกประเภทสามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ ปัจจัยการผลิตซึ่งเคยเป็นปัจจัยคงที่ในระยะสั้นสำหรับในระยะยาวแล้วปัจจัยเหล่านี้ จะสามารถแปรเปลี่ยนไปได้ นั่นคือ ในระยะยาวปัจจัยทุกประเภทจะเป็นปัจจัยผันแปรทั้งหมด 
จากที่กล่าวมา เราไม่สามารถจะชี้ชัดลงไปได้ว่าระยะเวลานานเท่าใดจึงจะเป็นการผลิตในระยะสั้น หรือระยะเวลานานเท่าไรจึงจะเป็นการผลิตในระยะยาว ดังนั้นการแบ่งระยะเวลาที่ใช้ในการผลิต ในทางเศรษฐศาสตร์จึงไม่ได้ใช้ระยะเวลาเป็นเกณฑ์ หลักเกณฑ์ที่ใช้ก็คือประเภทของปัจจัยการผลิตที่ใช้ในการผลิต กล่าวคือ ถ้าการผลิตดังกล่าวมีปัจจัยบางประเภทเป็นปัจจัยคงที่ การผลิตนั้นก็จะเป็นการผลิตในระยะสั้น แต่ถ้าปัจจัยการผลิตนั้นเป็นปัจจัยผันแปรทั้งหมด การผลิตนั้นก็จะเป็นการผลิต ในระยะยาว เนื่องจากในระยะสั้นมีทั้งปัจจัยคงที่และปัจจัยผันแปร ดังนั้นต้นทุนการผลิตก็จะมีทั้งต้นทุน คงที่และต้นทุนผันแปร ส่วนในระยะยาวก็จะมีแต่ต้นทุนผันแปร เนื่องจากมีแต่ปัจจัยผันแปรเท่านั้น

ลำดับขั้นในการผลิต

ปัจจุบันเราสามารถแบ่งลำดับขั้นในการผลิตออกเป็น 3 ประเภท คือ

1. การผลิตขั้นแรกหรือขั้นปฐมภูมิ (primary production)
 เป็นการผลิตที่ใช้ประโยชน์จากธรรมชาติโดยตรง วิธีการผลิตง่ายไม่ยุ่งยากซับซ้อน ใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ในการผลิตเพียงเล็กน้อย ผลผลิตที่ได้ส่วนใหญ่ไม่สามารถสนองความต้องการได้ทันที ต้องนำไปแปรสภาพก่อนจึงจะ สนองความต้องการได้ ตัวอย่างของกิจกรรมที่จัดเป็นการผลิตขั้นปฐมภูมิหรือขั้นแรกคือการเกษตรกรรม ได้แก่ การเพาะปลูก ทำนา ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ ประมง ป่าไม้ ฯลฯ หรืออุตสาหกรรมการขุดแร่ การ ทำเหมืองโดยใช้เครื่องมือง่ายๆ 

2. การผลิตขั้นที่สองหรือขั้นทุติยภูมิ (secondary production) เป็นการผลิตที่ต้อง อาศัยผลผลิตอื่นมาเป็นวัตถุดิบในการผลิต กรรมวิธีการผลิตมีความยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้น ต้องใช้เครื่องมือ และอุปกรณ์เพื่อประกอบการผลิตมากขึ้น ส่วนใหญ่เป็นการผลิตในด้านอุตสาหกรรม เช่น การผลิต อาหารกระป๋องต่างๆ การผลิตเหล็กเส้น เหล็กแผ่น การต่อเรือ การสร้างอาคารที่อยู่อาศัย ฯลฯ กิจการบางอย่างจะให้ผลผลิตที่สามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ได้ทันที เช่น โต๊ะ เก้าอี้ เตียง อาหารกระป๋อง และกิจการบางอย่างจะให้ผลผลิตซึ่งต้องนำไปผ่านการผลิตขั้นอื่นก่อนจึงจะใช้ประโยชน์ได้ เช่น เหล็กเส้น และเหล็กแผ่น เป็นต้น

3. การผลิตขั้นที่สามหรือขั้นตติยภูมิ (tertiary production) เป็นการผลิตในลักษณะการให้บริการด้านการขนส่ง การค้าส่ง การค้าปลีก การประกันภัย การธนาคาร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้ผลผลิตเคลื่อนย้ายจากการผลิตขั้นที่หนึ่งไปขั้นที่สอง และไปสู่ผู้บริโภคได้สะดวก รวดเร็ว มีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพดีขึ้น
ปัจจัยการผลิต (factors of production) หมายถึง สิ่งต่างๆที่ผู้ผลิตนำมาผ่านกระบวนการผลิต ขึ้นเป็นสินค้าหรือบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ในทางเศรษฐศาสตร์เราแบ่งปัจจัยการผลิตออกเป็น 4 ชนิด คือ
ที่ดิน (land) ซึ่งรวมถึงทรัพยากรธรรมชาติทุกประเภท ได้แก่ ที่ดิน ป่าไม้ น้ำ แร่ธาตุ ฯลฯ ทั้งที่อยู่บนดินและอยู่ใต้ดิน ที่ดินมีลักษณะที่ต่างไปจากปัจจัยการผลิตอื่นๆ คือ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เคลื่อนย้ายไม่ได้ มีปริมาณจำกัด 

แรงงาน (labor) หรือทรัพยากรมนุษย์ หมายถึงผู้ที่ทำงานให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจในการผลิตสินค้าหรือบริการ โดยอาศัยทั้งกำลังแรงกายและกำลังความคิด แต่ไม่รวมในด้าน ของความสามารถในการประกอบการของแต่ละบุคคล ในทางเศรษฐศาสตร์ การใช้แรงงานจะต้องเป็น การใช้แรงงานที่ได้รับค่าตอบแทนเป็นตัวเงินหรือสิ่งของอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ส่วนแรงงานที่ไม่ได้รับผลตอบแทนจะไม่ถือว่าเป็นแรงงานตามความหมายนี้ แรงงานหรือที่นิยมเรียกกันว่า กำลังแรงงาน (labor force) ในอีกความหมายหนึ่งก็คือกลุ่มคนที่อยู่ในวัยทำงานที่มีอายุตั้งแต่ 11 ปีขึ้นไป ซึ่งพร้อม และเต็มใจที่จะทำงานไม่ว่าจะมีงานให้ทำหรือไม่ก็ตาม แบ่งออกเป็น แรงงานที่มีทักษะ (skilled labor) ซึ่งเป็นแรงงานที่ได้รับการฝึกฝนอบรมมาเป็นอย่างดี เช่น แพทย์ วิศวกร สถาปนิก ฯลฯ กับ แรงงานที่ไม่มีทักษะ (unskilled labor) ซึ่งเป็นแรงงานที่ไม่ได้รับการฝึกฝนอบรมมาก่อน ส่วนใหญ่เป็นแรงงาน ที่ใช้กำลังกายเป็นหลัก เช่น กรรมกรแบกหาม คนงานรับจ้างทั่วไป ฯลฯ 

ทุน (capital) คือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเพื่อใช้อำนวยความสะดวกในกระบวนการผลิตสินค้าและบริการ หรือทุนคือการสะสมสินค้าในรูปของเครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์การผลิตต่างๆ ทุนในทางเศรษฐศาสตร์จะหมายถึงสินค้าประเภททุน ซึ่งจัดเป็นทุนที่แท้จริง (real capital) โดยไม่นับรวมเงินทุนซึ่งเป็นทุนที่เป็นตัวเงิน (money capital) เข้าไว้ในความหมายดังกล่าว โดยทั่วไปทุนแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 

1. ทุนถาวร (fixed capital) คืออุปกรณ์การผลิต เครื่องจักร เครื่องมือที่มีความคงทน ถาวร มีอายุการใช้งานยาวนาน เช่น โรงงาน ถนน สะพาน ทางรถไฟ เป็นต้น 

2. ทุนดำเนินงาน (working capital) คือทุนประเภทวัตถุดิบต่างๆซึ่งมีอายุการใช้งาน ค่อนข้างสั้น เป็นสิ่งที่ใช้แล้วหมดไป ต้องหามาทดแทนใหม่อยู่ตลอดเวลา เช่น น้ำมัน ไม้ ยาง เหล็ก เป็นต้น บางครั้งเรียกทุนประเภทนี้ว่าทุนหมุนเวียน (circulating capital) 

3. ทุนสังคม (social capital) เป็นทุนที่ไม่ได้ถูกนำมาใช้ในการผลิตโดยตรง เป็นตัว ช่วยเสริมให้การใช้ทุนทั้งสองประเภทข้างต้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น 
สวนสาธารณะ โรงเรียน โรงพยาบาล สนามกีฬา สระว่ายน้ำ เหล่านี้ล้วนเป็นทุนของประเทศโดยส่วนรวม มีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยอ้อม คือ ช่วยให้ความรู้ การรักษาสุขภาพอนามัย การพัฒนาในเรื่องของคุณภาพชีวิตของบุคคลที่อยู่ในสังคม 
ความสามารถในการประกอบการ (entrepreneurship) หมายถึงความสามารถในการดำเนินการวางแผน จัดการทางด้านธุรกิจการผลิตภายใต้ความเสี่ยงในระดับต่างๆ ผู้ประกอบการ (entrepreneur) จะเป็นผู้รวบรวมปัจจัยการผลิตต่างๆเพื่อทำการผลิตขึ้นเป็นสินค้าหรือบริการ และเป็นผู้ตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจว่าจะผลิตอะไร อย่างไร และเพื่อใคร

ฺBreakingnews