MBA Gossip

  • ข้าวผัดหมู - *เครื่องปรุง* 1. ข้าวสวย ¾ ถ้วยตวง 2. หมูสับ 50 กรัม 3. หมูแฮมหั่นเป็นเส้นฝอย 3 แผ่น 4. หมูยอหั่นเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า 1 ช้อนโต๊ะ 5. กระเทีย...
    7 ปีที่ผ่านมา
  • ปวดหลัง - * อาการปวดหลังร่วมกับแขนขาชาไม่มีแรง* กลั้นปัสสาวะและอุจจาระไม่ได้ ซึ่งลักษณะอาการดังกล่าวเป็นไปได้ว่าไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ ทางที่ดีควรรีบปรึก...
    7 ปีที่ผ่านมา
  • เพื่อนแพง - พุทธศักราช 2476 นาข้าวชูรวงทองเหลืองอร่ามเต็มท้องทุ่งบ้านสร้าง อำเภอหนึ่งในจังหวัดปราจีนบุรี เสียงควบขี่ไอ้เปลี่ยว ควายคู่ใจของ ไอ้ลอ (ศุกลวัฒน์ คณารศ)...
    8 ปีที่ผ่านมา
Custom Search
วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การสร้าง Brand

เมื่อตลาดยอมรับสินค้าตัวใดตัวหนึ่งจนถือว่าแจ้งเกิดสำเร็จ การ Leverage หรือการได้รับประโยชน์จากทรัยพากรที่ทุ่มเทไปจะเกิดขึ้น ทั้งนี้ไม่ใช่มองเฉพาะลูกค้า (Customer) เท่านั้นเพราะผลประโยชน์จะตกสู่เจ้าของ / ผู้ถือหุ้น (Owners) และพนักงานเอง (Employees) อีกด้วย นั่นคือต้องมองให้เห็นว่าการสร้าง Brand ได้ดีต่อผู้บริโภคนั้นทุกฝ่ายในองค์กรจะได้ผลประโยชน์ตามไปด้วย เราต้องคำนึงถึง “เสาหลัก 3 เสา” นั่นคือ
- Available คือสินค้า / บริการจะต้องหาซื้อได้มีจำหน่ายในสถานที่, เวลาที่ถูกต้อง ขายให้กับลูกค้าถูกคนถูกตัว
- Awareness ต้องทำให้กลุ่มเป้าหมายรู้จักในชื่อจากสื่อต่าง ๆ จากกิจกรรมทั้งหมด ซึ่งมักจะใช้ IMC เป็นตัวนำเราต้องทำอย่างต่อเนื่องและมีการประเมินผลเป็นระยะเพื่อให้สามารถ ปรับแก้ไขกิจกรรมทั้งหลายเพื่อให้มี Awareness สูงสุด
- Protection เนื่องจากภาวะการแข่งขันในปัจจุบันสูงเห็นได้ว่า การ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ของสินค้ามีให้เราเห็นเสมอ นั่นเป็นเพราะขาดการป้องกันหรือ Protection ซึ่งกว่าจะรู้ก็สายเกินไป

ผู้บริหารจะต้องหมั่นดูแล 3 เสาหลักที่ว่านี้สม่ำเสมอ สำหรับผู้เข้าอบรมที่เป็นเอเจนซี่จะต้องรู้จักเสนอแนะเรื่องพวกนี้ให้ลูกค้า พร้อมด้วย

โมเด็ล แมงมุม 6 ขา (Brand Code)
          Brand Code คือ โมเด็ลที่แจกแจงให้สามารถเข้าใจภาพของการสร้าง Brand ชัดเจนจำง่ายขึ้น โดยให้ตัวแมงมุมหรือแกนหลักของ Brand อยู่ตรงกลางและมีแขนขา 6 มุม นั่นคือ

- Product / Benefit ตัวสินค้าหรือประโยชน์ที่ลูกค้าได้รับ
- Positioning ภาพในสมองของผู้บริโภค
- Style รูปแบบนำเสนอทั้ง “ภาพ” และ “ลักษณ์” ซึ่งรวมเอาสิ่งที่จับต้องได้และสิ่งที่เป็นความรู้สึกจากการใช้สินค้านั้น
- Mission เป็นภารกิจของการสร้าง, รักษา, เสริมแรงของ Brand จะต้องถูก Brief ให้ทุกฝ่ายทุกส่วนทุกระดับทราบเพื่อให้ก้าวพร้อมไปในทางทำนองเดียวกัน ทุกคนมีส่วนรับผิดชอบใน Brand
- Vision ผู้บริหารจะต้องเปิดสมองกว้างแล้วก้าวทันสถานการณ์ โลกเราต้องการท่านที่ก้าวนำสถานการณ์แต่หาได้ไม่ง่ายนัก Vision ที่ดีเป็นสิ่งที่จะนำองค์กรไปได้ดีที่สุดโดยใช้ Brand ที่ดีเป็นเครื่องมือตัวหนึ่ง
- Values Brand จะต้องมีคุณค่าที่แท้จริงที่ต่อเนื่องเกิดขึ้นอย่างประทับใจ คุณค่านี้คืออาวุธที่สำคัญที่สุด โดยเฉพาะคุณค่าทางจิตใจซึ่งคู่แข่งก็อปปี้ไม่ได้ แต่ก็ประมาณไม่ได้เพราะถ้าคู่แข่งมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่องในขณะที่สินค้า เบอร์หนึ่งไม่รู้จักปรับตัวก็จะ “ออกโฉนด” โดย “ถอน น.ส.3” จากเจ้าตลาดเบอร์หนึ่งเดิมได้ ยกตัวอย่างแชมพู “2 in 1”

บัญญัติ 10 ประการสำหรับ Brand ที่มีอนาคต
- จะต้องสร้างความเป็น “Brand” ที่ดีให้เกิดในสมองของผู้บริโภคให้ได้
- Brand นั้นจะต้องโดดเด่นมีความแตกต่างในสาระสำคัญ
- จะต้องทำให้ “Brand” ของเราเข้าถึงจิตใจผู้บริโภคหลักให้ได้ เทียบได้กับเป็นเพื่อนสนิทที่มีของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
- “Brand” ที่ถูกสร้างขึ้นมาดีจะถือเสมือนเป็นทรัพย์สินที่มีค่าที่สุดขององค์กร
- ผู้บริหารจะต้องรู้จักใช้ “Brand” ที่มีอนาคตเป็นแรง “ขับ” บริษัทไปข้างหน้า
- “Brand” ที่ถูกสร้างให้มีอนาคตจะมีบทบาทในตลาดที่แจ่มชัด
- “Brand” ที่ว่านี้จะเป็นตัวสนับสนุนที่มีอำนาจในการสร้างสรรค์กิจกรรมต่าง ๆ ต่อผู้บริโภค
- “Brand” ที่มีอนาคตจะถือเป็นพันธมิตรสนับสนุนที่ก้าวเดินร่วมไปกับ Brand อื่น ๆ ที่เรามีอยู่
- “Brand” ที่มี่อนาคตจะเสมือนมี “เกราะ” ป้องกันตัวเองไม่ให้ถูกรุกราน
- “Brand” ที่มีอนาคตจะถูกใช้เป็นพาหนะสำหรับถ่ายทอดคุณค่าทั้งหมดสู่บริโภค

ฺBreakingnews