MBA Gossip

  • ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ - ปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวแบ่งออกเป็น 1ปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้ เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได ้เป็นสิ่งที่เกิดมาเมื่อคุณลืมตามองโลก ปัจจัยเสี่ยงดั...
    8 ปีที่ผ่านมา
  • ขนมฝอยทอง - ไข่เป็ด 5 ฟอง ไข่ไก่ 5 ฟอง น้ำตาลทราย 2 1/2 ถ้วยตวง น้ำลอยดอกมะลิ 1 1/2 ถ้วยตวง ไข่น้ำค้าง 2 ช้อนโต๊ะ น้ำมันพืช 1 ช้อนชา กรวยทองเหลืองหรือกรวยใบตอง ...
    8 ปีที่ผ่านมา
  • เพื่อนแพง - พุทธศักราช 2476 นาข้าวชูรวงทองเหลืองอร่ามเต็มท้องทุ่งบ้านสร้าง อำเภอหนึ่งในจังหวัดปราจีนบุรี เสียงควบขี่ไอ้เปลี่ยว ควายคู่ใจของ ไอ้ลอ (ศุกลวัฒน์ คณารศ)...
    9 ปีที่ผ่านมา
Custom Search
วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ความเสี่ยงกับการลงทุน

1.   ความเสี่ยงทั่วไป
ความเสี่ยงที่จะขาดทุนจากการลงทุนในระยะสั้น เนื่องจากในระยะยาวตลาดหุ้นส่วนใหญ่ย่อมมีมูลค่าสูงขึ้น แต่ในบางปีอาจจะเป็นปีที่ไม่ดีนัก อย่างที่ทราบกันดีในปี 2008-2009 ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลงอย่างถล่มทลาย โดยความผันผวนของตลาดหุ้นจะสูงขึ้นหากเป็นการลงทุนในระยะสั้นๆ เช่น ลงทุนรายวัน หรือ รายสัปดาห์ หากนักลงทุนมีกังวลกับความเสี่ยงแบบนี้มากถึงขั้นกลัวการลงทุน นั้นอาจทำให้เกิดความเสี่ยงทั่วไปแบบที่สองต่อไป
ความเสี่ยงที่การลงทุนจะไม่ถึงเป้าหมาย เป็นความเสี่ยงที่มาจาก การที่นักลงทุนเจอความผันผวนของราคาและการขาดทุนในระยะสั้นๆ จนอาจตัดสินใจไม่ลงทุนต่อเพราะกลัวว่า หากลงทุนแล้วจะขาดทุนมากขึ้น ซึ่งทำให้พลาดโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้นในการถือหุ้นระยะยาว

2.   ความเสี่ยงเฉพาะ
ความเสี่ยงของอุตสาหกรรม เป็นความเสี่ยงที่เกี่ยวกับกลุ่มอุตสาหกรรมที่ลงทุน ตัวอย่างเช่น การลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมไอที ความเสี่ยงแบบนี้อาจเกิดขึ้นได้เมื่อนักลงทุนส่วนใหญ่มีความเห็นว่าหุ้นใน กลุ่มไอทีมีราคาสูงเกินกว่าราคาที่ควรจะเป็น จึงมีการเทขายมากขึ้นจนทำให้ราคาหุ้นในกลุ่มนั้นตก ซึ่งนักลงทุนสามารถลดความเสี่ยงนี้ได้โดยการซื้อหุ้นในหลายๆ กลุ่มอุตสาหกรรม แทนการซื้อหุ้นในอุตสาหกรรมเดียว  
ความเสี่ยงเฉพาะของบริษัท ประกอบด้วยความเสี่ยงจากการดำเนินงานของบริษัท และความเสี่ยงจากราคา ความเสี่ยงจากการดำเนินงานของบริษัทจะรวมทุกปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความ สามารถในการทำกำไรของบริษัท ในขณะที่ความเสี่ยงจากราคานั้น จะขึ้นอยู่กับราคาหุ้นของบริษัทว่าแพงเกินไปหรือไม่ เมื่อเทียบกับผลการดำเนินงานของบริษัท นักลงทุนสามารถลดความเสี่ยงนี้ลงได้โดยการถือหุ้นหลายๆ ตัวแทนการถือหุ้นเพียงตัวเดียว
ความเสี่ยงทางด้านเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงปัจจัยต่างๆ เช่น อัตราเงินเฟ้อ อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ หรือ อัตราดอกเบี้ยนั้น จะทำให้ตลาดหุ้นมีโอกาสที่จะเกิดการผันผวนมากขึ้นโดยเฉพาะในระยะสั้น นักลงทุนสามารถลดความเสี่ยงนี้ได้โดยเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่เหมาะสมกับ ภาวะเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน เช่น หากดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้น การลงทุนในทั้งหุ้นและตราสารหนี้จะทำให้นักลงทุนได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการถือ ตราสารหนี้เพียงอย่างเดียว

ความเสี่ยงรายประเทศ การลงทุนในประเทศใดประเทศหนึ่งนั้น มักเผชิญกับความเสี่ยงเฉพาะของประเทศนั้นๆ  เช่น ความเสี่ยงทางการเมือง ความเสี่ยงจากนโยบายของรัฐบาล รวมไปถึงความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งนักลงทุนสามารถลดความเสี่ยงนี้ลงได้โดย ลงทุนในหลายๆ ประเทศหรือเลือกลงทุนในบริษัทที่มีกิจการอยู่ในหลายประเทศ
สินค้าคงคลัง หรือสินค้าคงเหลือ (Inventory) เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับธุรกิจ เพราะจัดเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนรายการหนึ่งซึ่งธุรกิจพึงมีไว้เพื่อให้การ ผลิตหรือการขาย สามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่น  การมีสินค้าคงคลังมากเกินไปอาจเป็นปัญหากับธุรกิจ ทั้งในเรื่องต้นทุนการเก็บรักษาที่สูง สินค้าเสื่อมสภาพ หมดอายุ ล้าสมัย ถูกขโมย หรือสูญหาย นอกจากนี้ยังทำให้สูญเสียโอกาสในการนำเงินที่จมอยู่กับสินค้าคงคลังนี้ไปหา ประโยชน์ในด้านอื่นๆ 
 แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าธุรกิจมีสินค้าคงคลังน้อยเกินไป ก็อาจประสบปัญหาสินค้าขาดแคลนไม่เพียงพอ (Stock out) สูญเสียโอกาสในการขายสินค้าให้แก่ลูกค้า เป็นการเปิดช่องให้แก่คู่แข่งขัน และก็อาจต้องสูญเสียลูกค้าไปในที่สุด นอกจากนี้ถ้าสิ่งที่ขาดแคลนนั้นเป็นวัตถุดิบที่สำคัญ การดำเนินงานทั้งการผลิตและการขายก็อาจต้องหยุดชะงัก ซึ่งอาจส่งผลต่อภาพลักษณ์ของธุรกิจในอนาคตได้ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการในการจัดการสินค้าคงคลังของตนให้อยู่ ในระดับที่เหมาะสม ไม่มาก หรือน้อยจนเกินไป เพราะการลงทุนในสินค้าคงคลังต้องใช้เงินจำนวนมาก และอาจส่งผลกระทบถึงสภาพคล่องของธุรกิจได้



  1. สินค้าคงคลัง หมายถึง หมายถึงวัสดุหรือสินค้าต่างๆ ที่เก็บไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในการดำเนินงาน อาจเป็นการดำเนินงานผลิต ดำเนินการขาย หรือดำเนินงานอื่น
สินค้าคงคลังแบ่งได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ คือ
  1. วัตถุดิบ (Raw Material) คือสิ่งของหรือชิ้นส่วนที่ซื้อมาใช้ในการผลิต
  2. งานระหว่างทำ (Work-in-Process) คือชิ้นงานที่อยู่ในขั้นตอนการผลิตหรือรอคอยที่จะผลิตหรือรอคอยที่จะผลิตใน ขั้นตอนต่อไป โดยที่ยังผ่านกระบวนการผลิตไม่ครบทุกขั้นตอน
  3. วัสดุซ่อมบำรุง (Maintenance/Repair/Operating Supplies) คือชิ้นส่วนหรืออะไหล่เครื่องจักรที่สำรองไว้เผื่อเปลี่ยนเมื่อชิ้นส่วนเดิม เสียหรือหมดอายุการใช้งาน
  4. สินค้าสำเร็จรูป (Finished Goods) คือปัจจัยการผลิตที่ผ่านทุกกระบวนการผลิตครบถ้วนพร้อมที่จะขายให้ลูกค้าได้
ถ้าหากไม่มีสินค้าคงคลัง การผลิตอาจจะไม่ราบรื่น โดยทั่วไปฝ่ายขายค่อนข้างพอใจหากมีสินค้าคงคลังจำนวนมากๆ เพราะให้ความรู้สึกมั่นใจว่าอย่างไรก็มีสินค้าให้พอขาย แต่หน้าที่ของสินค้าคงคลังคือ รักษาความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน ทำให้เกิดการประหยัด ต่อขนาด (Economy of Scale) เพราะการสั่งซื้อจำนวนมากๆ เป็นการลดต้นทุน และคลังสินค้าช่วยเก็บสินค้าปริมาณมากนั้น 

ฺBreakingnews

  • นโยบายการตั้งราคาแบ่งออกเป็น - - นโยบายราคาเพียงราคาเดียว (One Price Policy) เป็นการเสนอขายสินค้า หรือบริการในราคามาตรฐานเดียวกัน ไม่ว่าจะซื้อมากหรือน้อยก็ตาม เช่น ราคาน้ำมัน...
    5 ปีที่ผ่านมา
  • การจัดการเชิงกลยุทธ์ - 1. เป็นการกำหนดกรอบหรือทิศทางการทำงานขององค์กรให้ชัดเจน โดยการเขียนวัตถุประสงค์ของ องค์กรไว้อย่างเป็นระบบ ซึ่งจะทำให้เลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู...
    5 ปีที่ผ่านมา
  • BCG Matrix - BCG Matrix ผลิตภัณฑ์ที่มีปัญหา (Question Mark) เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการเจริญเติบโตของยอดขายสูง แต่ส่วนครองตลาดเปรียบเทียบต่ำ โดยส่วนใหญ่มักจะเป็นผลิตภัณ...
    8 ปีที่ผ่านมา
  • แนวข้อสอบเทคโนโลยีชีวภาพ - แนวข้อสอบเทคโนโลยีชีวภาพ * 1. ข้อใดหมายถึงลักษณะทางพันธุกรรม ก. ลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่ควบคุมโดยยีน ข. ลักษณะซึ่งถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปยังรุ่นต่อไป ค...
    8 ปีที่ผ่านมา