วิธีการแก้ปัญหาที่ถูกนำมาใช้เพื่อให้สามารถตอบสนองได้ตรงตามความต้องการของแต่ละกลุ่มคือ การแบ่งส่วนตลาด นั่นเองโดยจะได้ศึกษาในหัวข้อต่อไปนี้
2. เกณฑ์การแบ่งส่วนตลาด
3. เกณฑ์การแบ่งส่วนตลาดผู้บริโภค
4. เกณฑ์การแบ่งส่วนตลาดธุรกิจ
ความหมายของการแบ่งส่วนตลาด
การแบ่งส่วนตลาด (Market Segmentation) หมายถึง การแบ่งตลาดใหญ่ออกเป็นตลาดย่อย ๆ ตามคุณลักษณะบางประการหรือหลายประการของกลุ่มผู้ซื้อ ทั้งนี้ภายหลังจากการแบ่งส่วนตลาดแล้วจะได้กลุ่มผู้ซื้อที่มีลักษณะความต้องการเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันอยู่ในตลาดย่อยเดียวกัน
เนื่องจากการแบ่งส่วนตลาดมีจุดมุ่งหมายเพื่อแยกกลุ่มผู้ซื้อที่มีลักษณะความต้องการเหมือนกันให้อยู่ด้วยกัน ดังนั้นเกณฑ์ที่จะนำมาใช้ในการแบ่งส่วนตลาดจำเป็นต้องเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าผู้ซื้อที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันมีความต้องการที่เหมือนกัน หรืออย่างน้อยก็คล้ายคลึงกัน
เกณฑ์การแบ่งส่วนตลาดผู้บริโภค
ลักษณะทางภูมิศาสตร์ (Geographic Segmentation)
- ภูมิภาค แบ่งเป็นภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- ภูมิอากาศ แบ่งเป็น เขตร้อน เขตอบอุ่น เขตหนาว
- ความหนาแน่นของประชากร แบ่งเป็น เมือง ชานเมือง ชนบท
เกณฑ์การแบ่งส่วนตลาดธุรกิจ
ตลาดธุรกิจเป็นตลาดที่มีจำนวนผู้ซื้อในตลาดน้อยกว่าตลาดผู้บริโภค แต่ปริมาณการซื้อจะมากกว่า และผู้ซื้อในตลาดธุรกิจมักจะเป็นผู้ผลิต ผู้จำหน่าย องค์การต่าง ๆ เพราะฉะนั้นเกณฑ์การแบ่งส่วนตลาดของตลาดธุรกิจจะมีลักษณะที่แตกต่างไปจากเกณฑ์ที่ใช้แบ่งส่วนตลาดผู้บริโภค เกณฑ์การแบ่งส่วนตลาดธุรกิจประกอบด้วย
1. เกณฑ์ลักษณะของธุรกิจ อาจจะแบ่งย่อยเป็น
ประเภทของธุรกิจ (ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ผู้ค้าส่ง )
ขนาดของธุรกิจ (ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และ ขนาดเล็ก)
2. เกณฑ์การปฏิบัติงานของธุรกิจ อาจจะแบ่งย่อยเป็น
การใช้แรงงาน ( แรงงานคน เครื่องจักร คนและเครื่องจักร)
ลักษณะการนำไปใช้ (เป็นวัตถุดิบ เป็นชิ้นส่วนประกอบ เป็นอะไหล่)
3. วิธีการจัดซื้อ อาจจะแบ่งเป็น
จัดซื้อโดยเงินสด
จัดซื้อโดยการประมูล
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น