MBA Gossip

  • ข้าวผัดหมู - *เครื่องปรุง* 1. ข้าวสวย ¾ ถ้วยตวง 2. หมูสับ 50 กรัม 3. หมูแฮมหั่นเป็นเส้นฝอย 3 แผ่น 4. หมูยอหั่นเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า 1 ช้อนโต๊ะ 5. กระเทีย...
    7 ปีที่ผ่านมา
  • ปวดหลัง - * อาการปวดหลังร่วมกับแขนขาชาไม่มีแรง* กลั้นปัสสาวะและอุจจาระไม่ได้ ซึ่งลักษณะอาการดังกล่าวเป็นไปได้ว่าไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ ทางที่ดีควรรีบปรึก...
    7 ปีที่ผ่านมา
  • เพื่อนแพง - พุทธศักราช 2476 นาข้าวชูรวงทองเหลืองอร่ามเต็มท้องทุ่งบ้านสร้าง อำเภอหนึ่งในจังหวัดปราจีนบุรี เสียงควบขี่ไอ้เปลี่ยว ควายคู่ใจของ ไอ้ลอ (ศุกลวัฒน์ คณารศ)...
    8 ปีที่ผ่านมา
Custom Search
วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2556

การกำหนดนโยบายเงินปันผลในทางปฏิบัติ

แบบจำลองการจ่ายเงินปันผลจากกำไรส่วนที่เหลือ

หมายถึงการจ่ายเงินปันผล จากกำไรส่วนที่เหลือจากการลงทุนในโครงการลงทุนที่คาดว่าจะทำในอนาคต

ตัวอย่างที่ 1

บริษัทมี D/A = 40% มีกำไรสุทธิ 100 ล้านบาท ต้องการทำโครงการ A มูลค่า 50 ล้านบาท
วิธีคิด โครงการ A ใช้เงินทุนส่วนของหนี้สิน 40% = 0.4x50 = 20 ล้านบาท
โครงการ A ใช้เงินทุนส่วนของเจ้าของ 60% = 0.6x50 = 30 ล้านบาท
กำไรสุทธิ 100 ล้าน ลงทุน 30 ล้าน ดังนั้น จ่ายเงินปันผล = 100-30 = 70 ล้านบาท

ตัวอย่างที่ 2

บริษัทมี D/A = 40% มีกำไรสุทธิ 100 ล้านบาท ต้องการทำโครงการ A มูลค่า 200 ล้านบาท
วิธีคิด โครงการ A ใช้เงินทุนส่วนของหนี้สิน 40% = 0.4x50 = 80 ล้านบาท
โครงการ A ใช้เงินทุนส่วนของเจ้าของ 60% = 0.6x50 = 120 ล้านบาท
กำไรสุทธิ 100 ล้าน ลงทุน 120 ล้าน ยังขาดอีก 20 ล้านบาท ต้องออกหุ้นสามัญเพิ่ม 20 ล้านบาท

ข้อดี

บริษัทไม่ต้องออกหุ้นสามัญใหม่และค่าใช้จ่ายในการออกหุ้นสามัญน้อยที่สุด

ข้อเสีย

กรณีที่มีโครงการดีๆ มากเป็นแนวโน้มที่ดี แต่กลับ ไม่มีการจ่ายเงินปันผลและขายหุ้นสามัญเพิ่ม ทำให้เกิดสัญญาณที่ขัดแย้งกัน ทำให้ผู้ลงทุนบางกลุ่มไม่พอใจ

กำไร กระแสเงินสด และเงินปันผล

ในการจ่ายเงินปันผล ปัจจัยในเรื่อง กระแสเงินสด มีความสำคัญมากกว่า กำไร

กระบวนการจ่ายเงินปันผล

1. วันที่ประกาศจ่ายเงินปันผล
2. วันปิดสมุดพักโอนหุ้น
3. วันที่ผู้ซื้อหุ้นไม่มีสิทธิได้รับเงินปันผล - จะนับย้อนหลัง 4 วัน จากวันปิดสมุดพักโอนหุ้น เช่นปิดสมุด 12 ธันวาคม ผู้ที่ซื้อตั้งแต่วันที่ 9 จะไม่มีสิทธิรับเงินปันผล
4. วันจ่ายเงินปันผล

การนำเงินปันผลที่ได้รับมาลงทุนใหม่

  • Open market
  • New stock

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อนโยบายเงินปันผล


  • ข้อจำกัดในการจ่ายเงนปันผล
  • โอกาสในการลงทุน
  • ต้นทุนของแหล่งเงินทุนที่หาได้
  • ผลกระทบของนโยบายเงินปันผลต่อ ks

อัตราแลกเปลี่ยน (Exchange rate)

อัตราแลกเปลี่ยน (Exchange rate) คือ จำนวนหน่วยของเงินสกุลหนึ่งซื้อเงินสกุลหนึ่งได้ 1 หน่วย

การกำหนดราคาโดยตรง

หมายถึง การซื้อเงินสกุลต่างประเทศ 1 หน่วย ต้องใช้เงินในประเทศกี่หน่วย เช่น THB 31.50/USD หมายถึง 31.50 บาท เท่ากับ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ

การกำหนดราคาโดยอ้อม

หมายถึง เงินสกุลในประเทศ 1 หน่วย ซื้อเงินต่างประเทศได้กี่หน่วย เช่น USD 0.0317/THB หมายถึง 1 บาท เท่ากับ 0.0317 ดอลล่าร์สหรัฐ

การแลกเปลี่ยนเงินตราข้ามสกุล

หมายถึงการหาอัตราแลกเปลี่ยนของเงิน 2 สกุล โดยมีเงินสกุลที่ 3 เป็นตัวกลาง เช่น
1.6549 USD = 1GBP
6.4483 FRF = 1 USD
1 GBP = 1.6549 USD x 6.4483 FRF/USD = 10.6713 FRF
หรือ 1 FRF = 1/10.6713 = 0.0937 GBP

Cross rate = Dollars/Pound x Frances/Dollar = Frances/Pound

1. ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ 

  • หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึง เดือนสิงหาคม 1971 ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่
  • กำหนดเงิน USD ผูกติดกับทองคำและเงินสกุลอื่นๆและเงินสกุลอื่นๆ
  • มีปัญหาเพราะความต้องการเงินแต่ละสกุลเปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากการค้าขาดดุลเกินดุล และการเคลื่อนย้ายเงินทุน
2. ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว
  • อัตราแลกเปลี่ยนที่เป็นไปตามอุปสงค์และอุปทาน
  • อัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว ทำให้เกิด ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (Exchange Rate Risk)
  • IRR ของโครงการคืออัตราผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการนั้น
  • การคำนวณ IRR ใช้วิธีหาอัตราส่วนลด (อัตราผลตอบแทน) ที่ทำให้ NPV เท่ากับ 0
CF0 = CF1(1+IRR)1 +  CF2(1+IRR)2 + CF3(1+IRR)3 + ... + CFn(1+IRR)n

วิธีกดเครื่องคิดเลข

1. |CF|
2. |0| |ENTER| |DOWN| (ปีที่ 0)
3. |จำนวนเงิน| |ENTER| |DOWN| |DOWN| (ทำไปเรื่อยๆ สำหรับปีที่ 1,2,3,4...)
4. กด |IRR| |CPT| จะได้ IRR

การพิจารณาโครงการด้วย IRR

  • ต้องเลือกโครงการที่มี IRR สูงกว่าต้นทุนของเงินทุน
  • กรณีที่มีหลายโครงการ ต้องเลือกโครงการเดียว ให้เลือกโครงการที่ IRR สูงกว่า

เปรียบเทียบ NPV และ IRR

  • ผลของวิธี NPV ขึ้นอยู่กับอัตราผลตอบแทนที่กำหนด (ทำให้ PV ของเงินในอนาคตเปลี่ยนแปลง) หากเปลี่ยนแปลงอัตราผลตอบแทน ผลลัพธ์ก็เปลี่ยนแปลงได้
  • IRR คืออัตราส่วนลดที่ทำให้ NPV เท่ากับ 0 ผลของวิธี IRR จะไม่เปลี่ยนแปลง
  • หากเป็นโครงการที่อิสระต่อกัน เลือกได้หลายโครงการ สามารถเลือกโดยใช้ได้ทั้งสองวิธี
  • หากต้องเลือกโครงการใดโครงการหนึ่ง ให้เลือกวิธี NPV เพราะให้คำตอบได้ว่าผู้ลงทุนมั่งคั่งอย่างไร

วิธีอัตราผลตอบแทนของโครงการที่ปรับปรุงใหม่ (MIRR)

วิธีคิด
  1. วิธีนี้สมมติว่านำเงินผลตอบแทนที่ได้รับ ไปลงทุนต่อ จนถึงปีสุดท้าย โดยได้รับผลตอบแทนเท่ากับต้นทุนของเงินทุน
  2. นำผลที่คำนวณได้ตามข้อ 1 มารวมกันเป็นมูลค่า ณ ปีสุดท้าย เรียกว่า TV (Terminal Value)
  3. หาอัตราส่วนลดที่ทำให้ TV เท่ากับเงินลงทุนเริ่มแรกพอดี หมายความว่า ลงทุนไปปีแรก แล้วรอจนจบโครงการปีสุดท้ายจะได้เงินเท่ากับ TV จะต้องมีอัตราผลตอบแทนเป็นเท่าไหร่
ตัวอย่าง โครงการ S ระบะเวลาดำเนินการ 4 ปี ต้นทุนของเงินทุน 10%
ปีที่ กระแสเงินสด มูลค่าในปีสุดท้าย
0 -1000
1 500 500x(1+10%)3 = 665.50
2 400 400x(1+10%)2 = 484
3 300 300x(1+10%)1 = 330
4 100 100
Terminal Value (TV) 665.50+484+300 = 1579.50

กดเครื่องคิดเลข หา MIRR PV = -1000; FV = 1579.50; N = 4; CPT ; I/Y = 12.1% ตอบ

งบลงทุน

ระยะเวลาคืนทุน (PB)

PB = จำนวนปีก่อนคืนทุน + (กระแสเงินสดส่วนที่เหลือ/กระแสเงินสดทั้งปี)
เป็นการประเมินแบบง่ายๆ ว่า เมื่อใช้เงินลงทุนไปแล้วต้องใช้เวลากี่ปีจึงจะคืนทุน
เช่น ลงทุน 1000 บาท ได้ผลตอบแทนปีละ 200 บาท ระยะเวลาคืนทุนก็จะเท่ากับ 1000/200 = 5 ปี
ในกรณีที่เงินลงทุน มีเศษเหลือในปีสุดท้าย ให้ใช้การเทียบเป็นจำนวนเดือน
ตัวอย่าง
โครงการ S มีกระแสเงินสดดังนี้
ปีที่ 0 -1,000
ปีที่ 1 500
ปีที่ 2 400
ปีที่ 3 300
ปีที่ 4 100
จะเห็นว่า เมื่อสิ้นปีที่ 2 จะมีกระแสเงินสดรับ จากปีที่ 1 จำนวน 500 บาท และปีที่ 2 จำนวน 400 บาท รวม 900 บาท
ยังเหลือเศษอีก 1000-900 = 100 บาท

ในปีที่ 3 มีกระแสเงินสดรับ 300 บาท ในปีที่ 3 จึงใช้เวลาอีกเพียง 100/300 = 0.33 ปี

 วิธีแปลงเลขทศนิยมปี เป็นจำนวนเดือนเอาเศษคูณด้วย 12 จะได้จำนวนเดือน
0.33 x 12 = 3.96

ดังนั้น ระยะเวลาคืนทุน จึงเท่ากับ 2.33 ปี = 2 ปี 4 เดือน

ระยะเวลาคืนทุนโดยคิดเป็นมูลค่าปัจจุบัน (DPB)เป็นการคิดระยะเวลาคืนทุน คล้ายกับ PB แต่ เราจะใช้ PV ของกระแสเงินสดในอนาคตในการคำนวณ

ใช้ต้นทุนของเงินทุน WACC = 10%
ตัวอย่าง กระแสเงินสดสุทธิโครงการ S

ปี  กระแสเงินสด
ปีที่ 0  -1000
ปีที่ 1  500
ปีที่ 2  400
ปีที่ 3  300
ปีที่ 4  100

คำนวณ PV แล้ว หาก DPB
ปี กระแสเงินสด PV บวกเลข
ปีที่ 0 -1000 -1000 -1000
ปีที่ 1 500 500/(1+0.1)1 = 454.55 -1000 + 454.55 = -545.45
ปีที่ 2 400 400/(1+0.1)2 = 330.58 -545.45 + 330.58 = -214.87
ปีที่ 3 300 300/(1+0.1)3 = 225.39 -214.87 + 225.39 = 10.52 <--- คืนทุนแล้ว !!
ปีที่ 4 100 100/(1+0.1)4 = 68.30
ปีที่ 3 เหลือเศษ 214.87 บาท กระแสเงินสดปีที่ 3 = 225.39 จำนวนเดือน = (214.87/225.39)x12 = 11 เดือน
ตอบ 2 ปี 11 เดือน 

กำไรสุทธิจากการดำเนินงานหลังหักภาษี (NOPAT)

ความหมาย : กำไรที่บริษัทได้รับเมื่อไม่มีหนี้สิน และไม่มีสินทรัพย์ที่ไม่ได้ใช้ในการดำเนินงาน
ค่านี้บอกอะไร : ใช้พิจารณาผลการดำเนินงานของผู้บริหารและพนักงาน จากกำไรที่เกิดจากการดำเนินงานจริงๆ โดยไม่นำต้นทุนของเงินทุนมารวมด้วย
ข้อมูลเริ่มต้น : งบกำไรขาดทุน
สูตร : NOPAT = EBIT (1-Tax rate)
(EBIT = กำไรสุทธิก่อนดอกเบี้ยและภาษี)
วิธีจำสูตร : กำไรสุทธิก่อนดอกเบี้ยและภาษี มาหักส่วนที่เป็นภาษีออก

เงินทุนหมุนเวียนที่ใช้ในการดำเนินงานสุทธิ Net operating working capital (NOWC)

ความหมาย : เงินทุนหมุนเวียนที่ใช้ในการดำเนินงาน (operating working capital) หัก เจ้าหนี้และค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
ค่านี้บอกอะไร : บอกเราว่าบริษัทมีเงินทุนหมุนเวียนที่ใช้จ่ายได้จริงเท่าไหร่
ข้อมูลเริ่มต้น : งบดุล
สูตร : สินทรัพย์หมุนเวียน - หนีสินหมุนเวียนที่ไม่มีดอกเบี้ย
วิธีจำสูตร : เอาเฉพาะสินทรัพย์และหนี้สินระยะสั้นมาคิด

เงินทุนหมุนเวียนที่ใช้ในการดำเนินงานทั้งสิ้น Total Operating Capital

ความหมาย : เงินทุนหมุนเวียนที่ใช้ในการดำเนินงานทั้งหมด
ค่านี้บอกอะไร : บอกเราว่าบริษัทมีเงินทุนหมุนเวียนทั้งหมดเท่าไหร่
ข้อมูลเริ่มต้น : งบดุล, NOWC
สูตร : NOWC + สินทรัพย์ถาวร

กระแสเงินสดสุทธิ Net cash Flow NCF

ความหมาย : กระแสเงินสดที่ได้รับจริง (หากเป็นกำไรสุทธิ จะมีการคิดค่าเสื่อมราคา)
ค่านี้บอกอะไร : บอกเราว่าบริษัทมีกระแสเงินสดที่เป็นเงินสดจริงๆเท่าไหร่
ข้อมูลเริ่มต้น : งบกระแสเงินสด
สูตร : NI + Dep , Ni - รายได้ที่ไม่เป็นเงินสด + ค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้จ่ายเป็นเงินสด
วิธีจำสูตร : กำไรสุทธิ หักค่าเสื่อมราคา

กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน Operating Cash Flow (OCF)

ความหมาย : กระแสเงินสดที่ได้รับจริง (หากเป็นกำไรสุทธิ จะมีการคิดค่าเสื่อมราคา)
ข้อมูลเริ่มต้น : งบกระแสเงินสด
สูตร : NOPAT+ Dep
วิธีจำสูตร : NOPAT + ค่าเสื่อม

กระแสเงินสดอิสระ Free cash flow (FCF)

ความหมาย : กระแสเงินสดที่มีให้แก่ผู้ลงทุน หลังจากที่บริษัทได้ลงทุนในสินทรัพย์ถาวรและกันเงินไว้เป็นเงินทุนหมุนเวียนที่จำเป็นในการดำเนินงานแล้ว
ค่านี้บอกอะไร : เป็นเงินที่เหลือให้ผู้ลงทุน ใช้พิจารณามูลค่าหุ้นของกิจการ
ข้อมูลเริ่มต้น : งบกระแสเงินสด
สูตร : NOPAT- Net Investment in Operating Capital
วิธีจำสูตร : NOPAT หักค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน

Economic Value Added (EVA)

ความหมาย : การเพิ่มมูลค่าให้กับผู้ถือหุ้นจากการบริหารงานในรอบปีที่ผ่านมา
ค่านี้บอกอะไร : ประสิทธิภาพของผู้บริหาร
ข้อมูลเริ่มต้น : งบกระแสเงินสด
สูตร 1 : NOPAT - ต้นทุนการดำเนินกิจการหลังหักภาษี
สูตร 2 : EBIT(1-อัตราภาษี) - [(Total investor - supplid operating capital)x(อัตราต้นทุนการดำเนินกิจการหลังหักภาษี)]

MVA


ความหมาย : ผลต่างระหว่างมูลค่าตามราคาตลาดในส่วนของเจ้าของกับเงินทุนที่จัดหามาจากผู้ลงทุน
ค่านี้บอกอะไร : ความมั่งคั่งของผู้ลงทุน
ข้อมูลเริ่มต้น : ราคาหุ้นในตลาด ,งบดุล
สูตร 1 : (ราคาหุ้นในตลาด x จำนวนหุ้น) - ส่วนของเจ้าของ
วิธีจำสูตร : เอามูลค่าบริษัทในตลาดหุ้น ลบ ส่วนของเจ้าของ ตามบัญชี
การคำนวณการกู้เงินแบบผ่อนชำระเป็นรายงวด คล้ายกับการคำนวณเงินรายงวดอื่นๆ แต่จะให้ความสนใจเรื่องยอดหนี้ค้างชำระ ณ สิ้นปีที่ยังผ่อนหนี้ไม่หมด
วิธีคิดให้กดเครื่องคิดเลข 2 ครั้ง โดยครั้งแรก คำนวณหาจำนวนเงินรายงวด(PMT)ก่อน แล้วจึงใช้ PMT ที่ได้ไปหา FV ณ สิ้นปีที่โจทย์กำหนด
ตัวอย่าง สมมติว่า ท่านวางแผนจะกู้เงิน 400,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 12% ต่อปี ระยะเวลาที่กู้ 6 ปี ให้คำรวณหายอดหนี้ค้างชำระ ณ สิ้นปีที่ 2
กดเครื่องคิดเลขครั้งแรก
PV = 400,000;
I/Y = 12;
N = 6;
FV = 0;
CPT; PMT=-97,290.29;
จะได้เงินชำระรายงวด 97,290.29 บาท
ต่อมา โจทย์ถามยอดหนี้ค้างชำระ ณ สิ้นปีที่ 2 (หา FV ที่ N=2)

กดเครื่องคิดเลขครั้งที่ 2
PV = 400,000;
I/Y = 12;
N = 2;
PMT=-97,290.29;
CPT; FV=295,504.59;
ตอบ 295,504.59 บาท
วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ (External Analysis)

สภาพแวดล้อมภายนอกประกอบด้วย สภาพแวดล้อมทั่วไปและสภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน

* สภาพแวดล้อมทั่วไป (General Environment) เป็นสภาพแวดล้อมที่มีความสำคัญ แต่อาจจะไม่ใช่สิ่งแวดล้อมที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับองค์การโดยตรงแต่เป็นสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป มีตัวแบบในการพิจารณา คือ PEST Environment ได้แก่
สภาพแวดล้อมด้านการเมือง (Political Environment –P)
สภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจ (Economic Environment –E)
สภาพแวดล้อมด้านสังคม (Sociological Environment –S)
สภาพแวดล้อมด้านเทคโนโลยี (Technology Environment –T)


สภาพแวดล้อมทั่วไปสามารถส่งผลกระทบต่อองค์การได้ ยกตัวอย่างเช่น หากรัฐออกกฎหมายที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ  ก็จะส่งผลดีต่อโอกาสในการดำเนินงานขององค์การ  หรือการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่รวดเร็วอาจส่งผลให้สินค้ามีความล้าสมัยอย่างรวดเร็ว เป็นต้น

สภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน (Task Environment) ไมเคิล อี พอร์ตเตอร์ (Michael E.Poter ) ได้เสนอตัวแบบการวิเคราะห์สภาพการแข่งขัน  โดยใช้ตัวแบบที่ชื่อ The Five Compettive Force  ซึ่งจะทำให้เราทราบถึงสมรรถภาพคู่แข่งที่เข้ามาใหม่ ทราบความต้องการของลูกค้า  สามารถสร้างความร่วมมือกับผู้จัดส่งวัตถุดิบ  การระมัดระวังไม่ให้ลูกค้าหันไปให้ความสนใจสินค้าทดแทน  และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นตัวแบบที่ช่วยในการวิเคราะห์คู่แข่งได้เป็นอย่างดี

การวิเคราะห์คู่แข่งที่เข้ามาใหม่ (New Entrance) ผู้ที่เข้ามาใหม่มีความมุ่งหวังที่จะเข้ามามีส่วนร่วม  หรือมีส่วนแบ่งทางการตลาด  ดังนั้นจึงเป็นภาวะที่คุกคาม  ซึ่งจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอุปสรรคที่เข้ามาและภาวะการตอบโต้ขององค์การ  โดยสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อผู้ที่เข้ามาใหม่ ได้แก่

          Ecomies of Scale ความประหยัดที่เกิดจากการผลิตจำนวนมาก (Economies of Scale) ทำให้คู่แข่งต้องมีการผลิตที่มีขนาดใหญ่พอ  จึงจะสามารถต่อสู้กับกิจการเดิมได้

          ความแตกต่างของสินค้า Differentiation หรือ ขนาดของทุน Capital Requirement  เนื่องจากผู้ที่เข้ามาใหม่จะต้องแบกภาระต้นทุนที่สูงมากในด้านต่าง ๆ เป็นต้น  เหล่านี้เป็นตัวอย่างของอุปสรรคสำหรับผู้ที่เข้ามาใหม่  ซึ่งนักบริหารจะต้องสร้างภาวะการตอบโต้  โดยอาศัยความได้เปรียบด้านอุปสรรคของผู้เข้ามาใหม่ในด้านต่าง ๆ

การวิเคราะห์ผู้ซื้อ (Buyer) ผู้บริหารในองค์การภาครัฐ และภาคเอกชน  จะต้องให้ความสำคัญกับลูกค้า  เนื่องจากองค์การจะต้องเผชิญกับอำนาจการต่อรองของลูกค้า  ในเรื่องของปริมาณ  คุณภาพ  และราคา

การวิเคราะห์ผู้จัดส่งวัตถุดิบ (Supplier) ผู้จัดส่งวัตถุดิบจะมีความสำคัญเนื่องจากองค์การจะต้องเผชิญกับพลังการต่อรองของผู้จัดส่งวัตถุดิบเช่นเดียวกับลูกค้า  ดังนั้นผู้บริหารทั้งองค์การภาครัฐและองค์การภาคเอกชน  จะต้องปรับกลยุทธ์เพื่อรับกับพลังการต่อรองนั้น

การวิเคราะห์สินค้าทดแทน (Substitute) การมีสินค้าหรือบริการทดแทนทำให้องค์การต่าง ๆ จะต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพของสินค้า  ราคา  และบริการที่นำเสนอให้กับลูกค้า  เนื่องจากการละเลยความสำคัญดังกล่าวจะทำให้องค์การเสียเปรียบต่อคู่แข่งได้

การวิเคราะห์คู่แข่ง (Rival) คู่แข่งมีความสำคัญอย่างยิ่งที่นักบริหารจะต้องคำนึงถึง   เนื่องจากนักบริหารจะต้องใช้กลยุทธ์เพื่อสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง  การละเลยหรือไม่ให้ความสำคัญกับคู่แข่งจะหมายถึงความพ่ายแพ้

โดยสรุปแล้วการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกหรือสภาพแวดล้อมภายนอกนี้จะทำให้ทราบถึงโอกาสหรืออุปสรรคทางธุรกิจขององค์การ

โอกาส : การผสมผสานระหว่างเหตุการณ์ เวลา สถานที่ ที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นประโยชน์ต่อองค์การ มาทำให้องค์การมีสมรรถนะที่จะดำเนินการบางอย่างที่เหนือกว่าคู่แข่ง
อุปสรรค : เหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และถ้าเกิดขึ้นก็จะทำความเสียหายให้แก่องค์การ
การวิเคราะห์ภายในขององค์การนั้น  จะทำให้ทราบถึงจุดอ่อนและจุดแข็งขององค์การ  ช่วยให้ประเมินอดีตและแนวโน้มในปัจจุบัน  การวิเคราะห์ภายในสามารถทำได้โดยการวิเคราะห์ปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ (Critical success factor) การวิเคราะห์ (Value chain) และวิเคราะห์กระบวนการหลัก (Core business process) ซึ่งจะทำให้องค์การมีความสามารถหลักที่โดดเด่น (Core competency)

การวิเคราะห์ปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ (Critical success factor) สามารถทำได้โดยการวิเคราะห์ลักษณะของกิจการ  ตำแหน่งทางการแข่งขัน  สภาพแวดล้อมทั่วไป  และการพัฒนาองค์การ

การวิเคราะห์ห่วงโซ่ค่านิยม (Value chain) เป็นการพยายามเชื่อมโยงกิจกรรมหลัก และกิจกรรมย่อยขององค์การ  โดยการพยายามจัดกิจกรรมย่อยให้สนับสนุนกิจกรรมหลัก  เพื่อจะสร้างคุณค่าที่สนองตอบกับค่านิยมของลูกค้า  โดยสายงานหลักจะทำหน้าที่ในการผลิตกิจกรรมพื้นฐาน ประกอบไปด้วย  การนำเข้าวัตถุดิบ  การผลิตสินค้าและบริการ  การตลาด  และการให้บริการลูกค้า  ส่วนสายงานสนับสนุนจะทำหน้าที่ในการจัดการทรัพยากรมนุษย์  การพัฒนาเทคโนโลยี  การการจัดซื้อวัตถุดิบ  เนื่องจากการวิเคราะห์ห่วงโซ่ค่านิยม  จะทำให้องค์การได้รับรู้ถึงค่านิยมของลูกค้าได้อย่างชัดเจน    ทำให้สามารถวิเคราะห์และเชื่อมโยงค่านิยมของลูกค้า  เข้าสู่กิจกรรมทุกกิจกรรมขององค์การ

การวิเคราะห์กระบวนการหลัก (Core business process) และระบบการดำเนินงาน เป็นกระบวนการสร้างคุณค่าที่เชื่อมโยงระหว่างผู้จัดหาวัตถุดิบ  องค์การ  และลูกค้าเข้าด้วยกัน  โดยมีกระบวนการหลักขององค์การ  เพื่อพัฒนาสินค้าและบริการ  และเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า

โดยสรุปแล้วการวิเคราะห์ปัจจัยภายในหรือสภาพแวดล้อมภายในนี้จะทำให้ทราบถึงจุดแข็งหรือจุดอ่อนทางธุรกิจขององค์การ

จุดแข็ง : ลักษณะหรือองค์ประกอบขององค์การที่มีสมรรถนะเหนือกว่า
จุดอ่อน : ลักษณะหรือองค์ประกอบขององค์การที่มีสมรรถนะด้อยกว่าเมื่อเทียบกับคู่แข่ง
การจัดการเชิงกลยุทธ์จะนำไปสู่การเพิ่มโอกาสของความสำเร็จและความล้มเหลวขององค์การได้อย่างไรนั้นมีหลักสำคัญดังนี้

          1. การจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นการกำหนดวิสัยทัศน์ ทิศทาง ภารกิจ และวัตถุประสงค์ขององค์การธุรกิจอย่างเป็นระบบ  ดังนั้นการจัดการเชิงกลยุทธ์จึงเป็นสิ่งที่กำหนดทิศทางขององค์การ  และช่วยให้นักบริหารปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม  การตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงนั้น  ทำให้นักบริหารสามารถกำหนดวัตถุประสงค์และทิศทางการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม  สอดคล้องกับสภาวะความเปลี่ยนแปลงได้

          2. การจัดการเชิงกลยุทธ์ยังนำไปสู่การจัดการความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น  เนื่องจากมีการเตรียมรับกับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงไว้แล้ว  ทำให้องค์การค้นหาแนวทางที่เหมาะสมที่สุดต่อองค์การ  ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยต่าง ๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้อง  ทั้งนี้เนื่องจากการจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นการกำหนดวิธีการหรือแนวทางในการดำเนินงานและกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์การ  เพื่อให้บรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ขององค์การที่ตั้งไว้

          3. การจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นการนำแนวทางในการดำเนินองค์การที่คิดค้นสร้างสรรค์ขึ้น  และนำมาประยุกต์ใช้เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย  ดังนั้นความคิดสร้างสรรค์จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับนักบริหาร

          4. การวางแผนกลยุทธ์เป็นหน้าที่หลักของนักบริหาร  เนื่องจากต้องวางแผนประยุกต์ใช้  และกำหนดทิศทางในการดำเนินงานขององค์การ  การจัดทำและปฏิบัติให้สอดคล้องตามแผนกลยุทธ์จึงมีความสำคัญโดยเฉพาะในระยะยาว  ดังนั้นความสามารถในการกำหนดกลยุทธ์ของนักบริหาร  และความสามารถในการควบคุมให้การปฏิบัติเป็นไปตามกลยุทธ์ที่วางไว้ได้  จะเป็นสิ่งสะท้อนศักยภาพและและสะท้อนของผู้บริหารได้เป็นอย่างดี

          5. การจัดการเชิงกลยุทธ์ทำให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน จะช่วยสร้างประสิทธิภาพและศักยภาพในการแข่งขันให้แก่ธุรกิจ  และเสริมสร้างการพัฒนาขีดความสามารถทางการบริหารของนักบริหาร  รวมทั้งช่วยเตรียมความพร้อมและพัฒนาบุคลากรที่อยู่ภายในองค์การ  เนื่องจากการพัฒนาเชิงกลยุทธ์จะต้องมีการสร้างความเข้าใจและแนวทางในการเตรียมพร้อม  เพื่อรับกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นของสภาพแวดล้อมและคู่แข่ง  นอกจากนี้แล้วการจัดการเชิงกลยุทธ์ยังช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในองค์การเข้าใจในภาพรวม  โดยเฉพาะเป้าหมายในการดำเนินงานทำให้สามารถจัดลำดับการดำเนินงานตามลำดับความสำคัญเร่งด่วนได้

          6. การจัดการเชิงกลยุทธ์ช่วยให้การทำงานเกิดความสอดคล้องในการปฏิบัติหน้าที่  เนื่องจากมีการกำหนดกลยุทธ์  การประยุกต์ใช้  และการตรวจสอบควบคุมไว้อย่างชัดเจน  ทำให้เกิดความเข้าใจตรงกันและเกิดความร่วมมือ  โดยเฉพาะความเข้าใจในวัตถุประสงค์ขององค์การ  อีกทั้งจะช่วยให้มีการจัดสรรทรัพยากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับการบริหารองค์การในส่วนต่าง ๆ
หมายถึงการกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) พันธกิจ (Mission) วัตถุประสงค์ (Objective) เป้าหมาย (Goal) ขององค์การในระยะสั้นและระยะยาว จากนั้นจึงวางแผนทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้องค์การสามารถดำเนินงานตามพันธกิจ  อันนำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้

          นอกจากนี้เนื่องจากสภาพแวดล้อมทางธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  ซึ่งอาจก่อให้เกิดโอกาส  หรืออุปสรรคแก่องค์การได้  องค์การจึงจำเป็นต้องพิจารณาสภาพแวดล้อมภายในขององค์การ  เพื่อหาจุดแข็งหรือจุดอ่อนในการที่จะสามารถหลีกเลี่ยงจากอุปสรรคหรือใช้ประโยชน์จากโอกาสที่มีอยู่นั้นได้  ดังนั้นการจัดการเชิงกลยุทธ์จึงเป็นการบริหารโดยคำนึงถึง

1. ลักษณะการดำเนินงานขององค์การ
2. ลักษณะธุรกิจในอนาคต
3. สภาพแวดล้อม
4. การจัดสรรทรัพยากร
5. การปฏิบัติงานให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์
แนวคิดที่สำคัญในการจัดการเชิงกลยุทธ์

          แนวคิดพื้นฐานที่สำคัญของการจัดการเชิงกลยุทธ์ คือการกำหนดภารกิจ  วัตถุประสงค์และเป้าหมายของกิจการทั้งในระยะสั้นและระยะยาว  โดยการจัดการเชิงกลยุทธ์และการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์จะมีผลต่อการดำเนินงานในระยะยาว

          ดังนั้นองค์การจึงต้องมีการวางแผนการทำกิจกรรมต่าง ๆ  เพื่อให้การดำเนินงานตามภารกิจบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้  ทั้งนี้เพื่อให้ตอบสนองต่อกระแสการเปลี่ยนแปลง  ซึ่งอาจจะเป็นอุปสรรคและบดบังโอกาสในการก้าวหน้าขององค์การได้

          ฉะนั้นองค์การจึงต้องพิจารณาถึงจุดแข็งที่มีอยู่แล้วนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์  และพิจารณาถึงจุดอ่อนขององค์การเพื่อหาแนวทางขจัดจุดอ่อนเหล่านั้นเสีย
ในแนวคิดด้านการจัดการเชิงกลยุทธ์นั้น จะมีความแตกต่างไปจากการจัดการโดยทั่วไป ซึ่งมักจะศึกษาถึงบทบาทหน้าที่ของผู้บริหาร  ตามกระบวนการหรือขั้นตอนต่าง ๆและเน้นหนักไปที่การจัดการและการบริหารภายในองค์การ  แต่การจัดการเชิงกลยุทธ์จะให้ความสำคัญกับปัจจัยต่าง ๆ โดยเฉพาะปัจจัยภายนอกองค์การ  หรือสภาวะแวดล้อมภายนอกด้านต่าง ๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการแข่งขัน  คำนึงถึงการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในระยะยาว  และสภาวะการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรม

          การจัดการกลยุทธ์ยังคำนึงถึงความความสำคัญของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์การ (Stakeholders) และการจัดการเชิงกลยุทธ์ยังทำหน้าที่ในการเชื่อมโยงประสานหน่วยต่าง ๆ ในองค์การให้สามารถบริหารจัดการเพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์การร่วมกัน
อัตราส่วนกำไร (profitability ratios) แสดงให้เห็นประสิทธิภาพของผู้บริหารในการควบคุมต้นทุนในด้านต่างๆ เพื่อก่อให้เกิดกำไร
4.1 อัตราส่วนกำไรขั้นต้น (gross profit) แสดงให้เห็นประสิทธิภาพของผู้บริหารในการควบคุมต้นทุนการผลิต
ถ้าอัตราส่วน gross profit เพิ่มมากขึ้น แสดงว่าผู้บริหารมีประสิทธิภาพในการควบคุมต้นทุนการผลิตให้ต่ำลงได้ ต้นทุนการผลิตคือ ต้นตุนที่เกิดจากของเสียระหว่างการผลิต เวลาการผลิต การซ่อมแซมเครื่องจักรและการบำรุงรักษา ซึ่งถ้าควบคุมต้นทุนการผลิตทั้ง 3 ตัวนี้ได้ จะทำให้กำไรขั้นต้นสูงขึ้น
4.2 Net Profit เป็นประสิทธิภาพของผู้บริหารในการควบคุมต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขายและในการบริหาร เพื่อทำให้กำไรสุทธิเพิ่มมากขึ้น
ถ้า Net Profit Margin สูง แสดงว่าผู้บริหารสามารถควบคุมต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขายและค่าใช้จ่ายในการบริหารให้ต่ำลงได้ ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขาย ต้นทุนส่วนใหญ่อยู่ที่สินค้าคงคลัง
ต้นทุนในการบริหารอยู่ที่ management เรื่องของการติดต่อสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพเรื่องของการใช้แรงจูงใจ เรื่องของการมีผู้บริหารระดับกลางมากเกินไป ดังนั้นจะต้องทำให้องค์กรแบนราบลง ซึ่งถ้าองกรแบนราบลงแล้วใช้ Empowerment แล้วจะทำให้สายบังคับบัญชาสั้นลง แต่ span of control (ขนาดของการควบคุม) ก็จะกว้างขึ้น จะทำให้ประหยัดต้นทุนในการบริหารได้
4.3 ROA หรือ ROE (Return on Assets ; Return on Equity) คือการใช้สินทรัพย์ทั้งหมดให้เกิดกำไรสุทธิ จะแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของผู้บริหารในการใช้สินทรัพย์เพื่อก่อให้เกิดกำไรสุทธิ
ถ้าอัตราส่วน ROA หรือ ROI สูงแสดงว่าผู้บริหารสามารถใช้สินทรัพย์ทั้งหมดให้เกิดกำไรสุทธิได้ดี จะทำให้ ROI กับROA สูงขึ้นได้ จะต้องให้มีกำไรมากๆซึ่งจะมีกำไรได้จะต้องมาก และใช้สินทรัพย์ให้น้อยลง
4.4 ROE--Return on Equity ประสิทธิภาพของผู้บริหารในการใช้ส่วนของผู้ถือหุ้นให้เกิดกำไรมากที่สุด หรือประสิทธิภาพของผู้บริหารในการตอบแทนผู้ถือหุ้นให้ได้มากที่สุด
การจะทำให้ ROE สูงขึ้นได้โดยการทำให้กำไรสุทธิสูงแต่ส่วนผู้ถือหุ้น (equity) ต่ำโดยการกู้มาลงทุน แต่จะกู้มากก็ไม่ได้เพราะจะกระทบกับ debt ratio และ TIE

ฺBreakingnews