MBA Gossip

  • ข้าวผัดหมู - *เครื่องปรุง* 1. ข้าวสวย ¾ ถ้วยตวง 2. หมูสับ 50 กรัม 3. หมูแฮมหั่นเป็นเส้นฝอย 3 แผ่น 4. หมูยอหั่นเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า 1 ช้อนโต๊ะ 5. กระเทีย...
    7 ปีที่ผ่านมา
  • ปวดหลัง - * อาการปวดหลังร่วมกับแขนขาชาไม่มีแรง* กลั้นปัสสาวะและอุจจาระไม่ได้ ซึ่งลักษณะอาการดังกล่าวเป็นไปได้ว่าไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ ทางที่ดีควรรีบปรึก...
    7 ปีที่ผ่านมา
  • เพื่อนแพง - พุทธศักราช 2476 นาข้าวชูรวงทองเหลืองอร่ามเต็มท้องทุ่งบ้านสร้าง อำเภอหนึ่งในจังหวัดปราจีนบุรี เสียงควบขี่ไอ้เปลี่ยว ควายคู่ใจของ ไอ้ลอ (ศุกลวัฒน์ คณารศ)...
    8 ปีที่ผ่านมา
Custom Search
วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การวิเคราะห์สถานการณ์ (Situational Analysis)

หลังจากนักวางแผนได้ตรวจสอบสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกบริษัทแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการจัดการเชิงกลยุทธ์ ซึ่งเป็นการตัดสินใจวางแผนกำหนดแนวทางดำเนินงานในระยะยาว เพื่อสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขัน จึงมักเรียกว่า การวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Strategic Planning) หรือ การวางแผนระยะยาว (Long-range planning) ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับ การกำหนดพันธกิจ วัตถุประสงค์ กลยุทธ์ และนโยบายบริษัท
           ในบทนี้จะได้กล่าวถึงการจัดทำกลยุทธ์ จะเริ่มจากการวิเคราะห์สถานการณ์ (Situation analysis) หรือเรียกอีกอย่างว่า การวิเคราะห์สวอท เป็นการจัดทำแมททริกซ์สรุปผลการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงกลยุทธ์ การทบทวนพันธกิจ และวัตถุประสงค์ และการจัดทำกลยุทธ์ทางเลือก โดยใช้ TOWS Matrix ตามลำดับ

การวิเคราะห์สถานการณ์ (Situational analysis : SWOT)
          เพื่อตรวจสอบหาโอกาสและข้อกำหนด จุดแข็ง และจุดอ่อนของบริษัท อันเป็นปัจจัยภายใน บางครั้งการวิเคราะห์สถานการณ์จึงเรียกว่า “SWOT   analysis” ซึ่งจะต้องทราบว่า “สภาพบริษัทปัจจุบันเป็นอย่างไร” และ “ ทิศทางการดำเนินงานของบริษัทต่อไปจะมุ่งไปทางใด”                                                                                                                  ซึ่งสามารถหาคำตอบได้จากการศึกษา จุดแข็ง จุดอ่อน โดยการเปรียบเทียบกับคู่แข่ง และตรวจสอบสภาพแวดล้อมภายนอก เพื่อหาโอกาสและอุปสรรค
1.       จุดแข็ง (Strengths) หมายถึง ข้อได้เปรียบของบริษัทหนือคู่แข่งขันที่บริษัทสามารถนำมาใช้ในการดำเนินงาน เช่น
-          ความได้เปรียบด้านต้นทุน
-          คุณภาพด้านผลิตภัณฑ์ดีกว่าคู่แข่ง
-          การบริหารบุคลากรที่ดี
-          รูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ลอกเลียนแบบได้ยาก
-          มีชื่อเสียงดี
-          พนักงานซื่อสัตย์และจงรักภักดี ฯลฯ
2.       จุดอ่อน (Weaknesses) หมายถึง สิ่งที่บริษัทยังขาดหรือมีแต่ด้อยกว่าของคู่แข่งขันหรืออยู่
        ในสภาพที่เสียเปรียบ อันเป็นปัญหาหรืออุปสรรคในการดำเนินงาน เช่น
-          การขาดทรัพยากรด้านการเงิน
-          ส่วนแบ่งตลาดน้อยกว่า
-          การขาดประสบการณ์ด้านการบริหารในอุตสาหกรรมนั้น
-          ชื่อเสียงไม่มี เพราะเป็นบริษัทใหม่
-          โครงสร้างขององค์การใหญ่ และเชี่ยงช้าเกินไป
-          ผู้บริหารไม่มีวิสัยทัศน์
-          การวิจัยและพัฒนา (R & D) ยังล้าหลัง ฯลฯ
 3.       โอกาส (Opportunities) หมายถึง ปัจจัยหรือสถานการณ์ภายนอก ที่มีส่วนช่วยให้บริษัทสามารถใช้ความพยายามเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ หรือมากกว่าที่มุ่งหวังไว้อย่างมาก โอกาสของบริษัทที่เป็นไปได้ เช่น
-          การเพิ่มบริการให้กับกลุ่มลูกค้ามากขึ้น
-          การขยายสายผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าที่มีขอบเขตกว้างขึ้น
-          การเพิ่มบริการให้กับกลุ่มลูกค้ามากขึ้น หรือการขยายเข้าสู่ตลาดใหม่
-          การนำความรู้ความชำนาญ หรือความรู้ด้านเทคโนโลยีของบริษัทมาใช้เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ฯลฯ
 4.       อุปสรรคหรือภัยคุกคาม (Threats) หมายถึง ปัจจัยภายนอกซึ่งอาจมีผลกระทบทำให้บริษัทประสบความล้มเหลว ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ เช่น
-          ความเป็นไปได้ที่คู่แข่งหน้าใหม่ที่มีพลังจะเข้ามาเป็นคู่แข่งในอนาคต
-          การเกิดสินค้าทดแทน ทำให้สูญเสียยอดขายไป
-          การเจริญเติบโตของตลาด มีอัตราชะลอตัวลง
-          อำนาจต่อรองของลูกค้าหรือผู้จัดจำหน่ายวัตถุดิบมีมากขึ้น
-          การเปลี่ยนแปลงที่เป็นผลร้าย ทางด้านประชากรศาสตร์ ฯลฯ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ฺBreakingnews