MBA Gossip

  • ข้าวผัดหมู - *เครื่องปรุง* 1. ข้าวสวย ¾ ถ้วยตวง 2. หมูสับ 50 กรัม 3. หมูแฮมหั่นเป็นเส้นฝอย 3 แผ่น 4. หมูยอหั่นเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า 1 ช้อนโต๊ะ 5. กระเทีย...
    7 ปีที่ผ่านมา
  • ปวดหลัง - * อาการปวดหลังร่วมกับแขนขาชาไม่มีแรง* กลั้นปัสสาวะและอุจจาระไม่ได้ ซึ่งลักษณะอาการดังกล่าวเป็นไปได้ว่าไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ ทางที่ดีควรรีบปรึก...
    7 ปีที่ผ่านมา
  • เพื่อนแพง - พุทธศักราช 2476 นาข้าวชูรวงทองเหลืองอร่ามเต็มท้องทุ่งบ้านสร้าง อำเภอหนึ่งในจังหวัดปราจีนบุรี เสียงควบขี่ไอ้เปลี่ยว ควายคู่ใจของ ไอ้ลอ (ศุกลวัฒน์ คณารศ)...
    8 ปีที่ผ่านมา
Custom Search
วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การจัดทำแมทริกซ์สรุปผลการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงกลยุทธ์

การจัดทำแมทริกซ์สรุปผลการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงกลยุทธ์  (Generating a strategic factors analysis summary (SFAS) matrix)
              แมทริกซ์สรุปผลการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงกลยุทธ์ หรือ “SFAS Matrix” เป็นตารางสรุปปัจจัยเชิงกลยุทธ์ของบริษัท โดยการรวม ปัจจัยภายนอก (External Factors) จากตาราง EFAS บทที่ 4 กับปัจจัยภายใน (Internal Factors) จากตาราง IFAS บทที่ 3 มารวมกัน มีจำนวนเกือบ 20 ปัจจัย ซึ่งมากเกินไปไม่เหมาะสมที่จะนำมาจัดทำกลยุทธ์ทั้งหมด และนี่ก็คือเหตุผลการจัดทำ SFAS Matrix 
              การจัดทำ SFAS Matrix เป็การจัดทำที่ต้องการให้ผู้ทำการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ลดจำนวนปัจจัย ที่เป็นจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาศ และอุปสรรคทั้งหมด ให้เหลือน้อยกว่า 10 ปัจจัย  ทำได้โดยหาความสำคัญหรือน้ำหนักที่มากที่สุดของแต่ละปัจจัย
               การจัดทำ SFAS Marix สามารถจัดทำตามลำดับขั้นตอนดังนี้
1         คอลัมน์ 1 ( ปัจจัยเชิงกลยุทธ์สำคัญ)  เลือกปัจจัยภายนอกที่สำคัญที่สุดจากตาราง EFAS และ
        เลือกปัจจัยภายในที่สำคัญที่สุดจากตาราง IFAS พร้อมระบุด้วยว่า เป็นปัจจัยอะไรเขียนใส่
       วงเล็บไว้ข้างหลัง
2.    คอลัมน์ 2 (น้ำหนัก) พิจารณาให้น้ำหนักความสำคัญใหม่ทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก  มากน้อย โดยกำหนดเป็นตัวเลขทศนิยมซึ่งมีค่าระหว่าง 1.0 (สำคัญมากที่สุด) จนถึง 0.0 (ไม่สำคัญ)  ผลรวมทั้งหมดจะเท่ากับ 1.0 ดังนั้นปัจจัยเชิงกลยุทธ์ที่ได้ให้ไว้ในตาราง EFAS และตาราง IFAS  บางทีอาจจะต้องปรับใหม่บางตัว
 3.    คอลัมน์ 3 (คะแนนประเมิน) ใส่คะแนนประเมินของแต่ละปัจจัย โดยพิจารณาว่าฝ่ายจัดการของบริษัทจะตอบสนองต่อปัจจัยนั้นได้อย่างไร คะแนนประเมินนี้อาจเท่าเดิมหรืออาจเปลี่ยนแปลงบ้าง
4.  คอลัมน์ 4 (คะแนนถ่วงน้ำหนัก)   คำนวณหาค่าคะแนนถ่วงน้ำหนักเช่นเดียวกับที่ทำกับตาราง EFAS และ IFAS      
5. คอลัมน์ 5 ( ช่วงระยะเวลา ) ช่วงระยะเวลาดังนี้คือ ระยะสั้น (น้อยกว่า 1 ปี) ระยะกลาว (1-3 ปี)หรือระยะยาว (3 ปี ขึ้นไป)

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ฺBreakingnews