นอกจากตราสัญลักษณ์ (Logo) ของสินค้าแล้ว ตราสินค้าก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่มีผลต่อการสร้างผลิต-ภัณฑ์และมีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ซึ่งทั้ง 2 อย่างจะมีข้อแตกต่างกัน แต่จะมีข้อส่งเสริมซึ่งกันและกันสำหรับการสนับสนุนให้สินค้าแต่ละตัวนั้นสามารถเข้าไปครองใจของผู้บริโภคได้
ข้อแตกต่างของตราสัญลักษณ์ และตราสินค้า
ในยุคที่ผ่านมาจะมีการตั้งชื่อสินค้าในลักษณะอ้างสรรพคุณ แต่ทว่าในปัจจุบันนี้ทางกรมทรัพย์สินทางปัญญาไม่อนุญาตให้ทำเช่นนั้น ยกเว้นบริษัทที่จดทะเบียนก่อนที่จะออกกฎหมายนี้ เช่น "เบสท์ฟู้ด" (Best food) หมายถึง อาหารดีที่สุด "เทสต์ ช้อย" (Test Choice) หรือ "กู้ดช้อย" (Good Choice) เป็นต้น ซึ่งจะมีความหมายในเรื่องของทางเลือกอาหารการกินที่อร่อย
บางกลุ่มได้นำเอาชื่อเมืองที่เป็นผู้ให้กำเนิดสินค้ามาใช้เป็นตราสินค้า เช่น "โคโลญจ์" เป็นชื่อเมืองในเยอรมัน ซึ่งผลิตน้ำหอมกันทั้งเมือง หรือ เคเอฟซี เป็นตราสินค้าไก่ทอดจากรัฐเคนตั๊กกี้ในอเมริกา การที่ตราสินค้าของผลิตภัณฑ์ต่างๆ มาจากชื่อแหล่งกำเนิดนั้น นอกจากจะจดจำได้ง่ายแล้ว ยังสามารถบ่งบอกถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ได้อีกด้วยว่าเป็นของแท้แน่นอน
อย่างไรก็ตาม ยังมีชื่อผู้ให้กำเนิดสินค้าอีกมากรายที่นำชื่อและนามสกุลตนเองมาใช้เป็นตราสินค้า เนื่องจากง่ายและสะดวกซึ่งเป็นที่นิยมทำกันทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทยอีกด้วย แต่สำหรับตราสินค้าประเภทนี้ ก็ไม่ง่ายนักที่จะเป็นที่รู้จักของผู้บริโภคได้ง่ายๆ เรียกว่าออกมาในตลาด 100 ชื่อแล้วติดอันดับอยู่ในใจของผู้บริโภคเพียง 1 ชื่อก็ถือว่าคุ้มค่าแล้ว ตัวอย่างเช่น นายหลุยส์ วิตตอง เป็นผู้นำเกี่ยวกับสินค้ากระเป๋าและเครื่องหนังระดับโลก หรืออีกท่านหนึ่งก็คือ นายเวอร์ซาเช่ เป็นนักออกแบบแฟชั่นและเป็นผู้นำเรื่องเสื้อผ้า ตราสินค้าเหล่านี้ใช้ชื่อหรือนามสกุลของผู้ก่อตั้งมาออกแบบเป็นตัวไขว้หรือขมวดอักษรไว้ หรือใช้รูปแบบง่ายๆ รวมทั้งเป็นลายเซ็น ก็สามารถขายไปทั่วโลก ทำรายได้มหาศาล และกลับกลายเป็นสินค้าของผู้มีรสนิยมสูง
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น