MBA Gossip

  • ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ - ปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวแบ่งออกเป็น 1ปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้ เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได ้เป็นสิ่งที่เกิดมาเมื่อคุณลืมตามองโลก ปัจจัยเสี่ยงดั...
    7 ปีที่ผ่านมา
  • ขนมฝอยทอง - ไข่เป็ด 5 ฟอง ไข่ไก่ 5 ฟอง น้ำตาลทราย 2 1/2 ถ้วยตวง น้ำลอยดอกมะลิ 1 1/2 ถ้วยตวง ไข่น้ำค้าง 2 ช้อนโต๊ะ น้ำมันพืช 1 ช้อนชา กรวยทองเหลืองหรือกรวยใบตอง ...
    7 ปีที่ผ่านมา
  • เพื่อนแพง - พุทธศักราช 2476 นาข้าวชูรวงทองเหลืองอร่ามเต็มท้องทุ่งบ้านสร้าง อำเภอหนึ่งในจังหวัดปราจีนบุรี เสียงควบขี่ไอ้เปลี่ยว ควายคู่ใจของ ไอ้ลอ (ศุกลวัฒน์ คณารศ)...
    9 ปีที่ผ่านมา
Custom Search
วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

กลยุทธ์ตรายี่ห้อ

 ในการตั้งชื่อตรายี่ห้อผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิตและผู้ขายอาจทำได้ทั้งในลักษณะตั้งชื่อเฉพาะสำหรับผลิตภัณฑ์
แต่ละชนิดที่ขายหรืออาจใช้ชื่อยี่ห้อเดียวกันกับผลิตภัณฑ์ทุกชนิดที่ขายได้    ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าชื่อยี่ห้อนั้น ๆ ติดปาก
ผู้บริโภค   ชื่อเสียงมีอยู่แล้วในตลาด  และเหมาะสมกับชนิดผลิตภัณฑ์นั้น ๆ มากน้อยเพียงใด
  อาจจำแนกกลยุทธ์
ในการตั้งชื่อตรายี่ห้อได้ 7 ลักษณะคือ
          1.  Individual brand :   เป็นตรายี่ห้อเฉพาะของผลิตภัณฑ์ใดผลิตภัณฑ์หนึ่งที่ขาย     ถ้าผู้ขายมีผลิตภัณฑ์
               หลายชนิดก็ตั้งชื่อตรายี่ห้อของแต่ละผลิตภัณฑ์ให้แตกต่างกันไป  มักใช้กับสินค้าที่มีคุณภาพและรูปแบบ
               ต่าง ๆ กัน
          2.  A blanket family brand :   ผลิตภัณฑ์ทุกตัวใช้ชื่อเดียวกัน
          3.  Separate family brand :  เป็นตรายี่ห้อของผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเดียวกันใช้ชื่อเดียวกัน  ถ้าเป็นผลิตภัณฑ์
               แต่ละชนิดก็ตั้งชื่อตรายี่ห้อให้แตกต่างกันออกไป
          4.  Company name combined with individual product name : เป็นชื่อยี่ห้อที่เกิดจากชื่อกิจกรรมรวมกับ
               ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อแสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์มาจากกิจการใด เช่น นมยี่ห้อ ซีพี - เมจิก การตั้งชื่อตรายี่ห้อ
               แบบนี้จึงเป็นการบอก (generic name) ชื่อเสียงของกิจการไว้ในผลิตภัณฑ์ และป้องกันไม่ให้ชื่อตรายี่ห้อ
               ของผลิตภัณฑ์กลายเป็นชื่อยี่ห้อทั่วไป (gemeric name)
          5.  Brand Extension เป็นการตั้งชื่อผลิตภัณฑ์ใหม่ / ผลิตภัณฑ์ที่ปรับปรุงใหม่ โดยชื่อใหม่ตั้งขึ้นมาจากการ
               ขยายจากชื่อเดิม    เช่น   บรีส - เอกเซล  ซัลซิลทรีทเมนต์         ทำให้กิจการประหยัดต้นทุนในการแนะนำ
               ผลิตภัณฑ์ใหม่สู่ตลาด     และทำให้ผู้บริโภครู้จักผลิตภัณฑ์ใหม่ได้รวดเร็วขึ้น
          6.  Multi brand  เป็นการตั้งชื่อยี่ห้อใหม่ให้กับผลิตภัณฑ์ตัวเดิม   กิจการมักใช้กลยุทธ์นี้เมื่อผลิตภัณฑ์ที่ขาย
               ได้รับผลกระทบจากผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งขัน     ถ้าใช้ผลิตภัณฑ์ในชื่อเดิมแข่งขันจะกระทบถึงภาพลักษณ์
               ของผลิตภัณฑ์ กิจการจึงจำเป็นต้องใช้ยี่ห้อใหม่เข้ามาแข่งขันแทนเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาด
          7.  Brand Repositioning  เป็นการปรับเปลี่ยนตำแหน่งของผลิตภัณฑ์เมื่อปรับปรุงใหม่  ทั้งนี้เพื่อสร้างความ
               ซื่อสัตย์ในตรายี่ห้อ  Brand Loyalty   ให้กับผลิตภัณฑ์    เพื่อให้ได้ผลกิจการควรปรับเปลี่ยนทั้งผลิตภัณฑ์
               และภาพผลิตภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์  เช่น  การเปลี่ยนสูตรใหม่   หีบห่อใหม่   ทำให้ผลิตภัณฑ์ทันสมัยและมี
               ภาพลักษณ์ดีขึ้น

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ฺBreakingnews

  • นโยบายการตั้งราคาแบ่งออกเป็น - - นโยบายราคาเพียงราคาเดียว (One Price Policy) เป็นการเสนอขายสินค้า หรือบริการในราคามาตรฐานเดียวกัน ไม่ว่าจะซื้อมากหรือน้อยก็ตาม เช่น ราคาน้ำมัน...
    5 ปีที่ผ่านมา
  • การจัดการเชิงกลยุทธ์ - 1. เป็นการกำหนดกรอบหรือทิศทางการทำงานขององค์กรให้ชัดเจน โดยการเขียนวัตถุประสงค์ของ องค์กรไว้อย่างเป็นระบบ ซึ่งจะทำให้เลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู...
    5 ปีที่ผ่านมา
  • BCG Matrix - BCG Matrix ผลิตภัณฑ์ที่มีปัญหา (Question Mark) เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการเจริญเติบโตของยอดขายสูง แต่ส่วนครองตลาดเปรียบเทียบต่ำ โดยส่วนใหญ่มักจะเป็นผลิตภัณ...
    7 ปีที่ผ่านมา
  • แนวข้อสอบเทคโนโลยีชีวภาพ - แนวข้อสอบเทคโนโลยีชีวภาพ * 1. ข้อใดหมายถึงลักษณะทางพันธุกรรม ก. ลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่ควบคุมโดยยีน ข. ลักษณะซึ่งถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปยังรุ่นต่อไป ค...
    7 ปีที่ผ่านมา