MBA Gossip

  • ข้าวผัดหมู - *เครื่องปรุง* 1. ข้าวสวย ¾ ถ้วยตวง 2. หมูสับ 50 กรัม 3. หมูแฮมหั่นเป็นเส้นฝอย 3 แผ่น 4. หมูยอหั่นเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า 1 ช้อนโต๊ะ 5. กระเทีย...
    7 ปีที่ผ่านมา
  • ปวดหลัง - * อาการปวดหลังร่วมกับแขนขาชาไม่มีแรง* กลั้นปัสสาวะและอุจจาระไม่ได้ ซึ่งลักษณะอาการดังกล่าวเป็นไปได้ว่าไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ ทางที่ดีควรรีบปรึก...
    7 ปีที่ผ่านมา
  • เพื่อนแพง - พุทธศักราช 2476 นาข้าวชูรวงทองเหลืองอร่ามเต็มท้องทุ่งบ้านสร้าง อำเภอหนึ่งในจังหวัดปราจีนบุรี เสียงควบขี่ไอ้เปลี่ยว ควายคู่ใจของ ไอ้ลอ (ศุกลวัฒน์ คณารศ)...
    8 ปีที่ผ่านมา
Custom Search
วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management)

การจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management) หมายถึงชุดของการตัดสินใจและการ
ปฏิบัติการต่างๆ ทางด้านการจัดการซึ่งจะเป็นตัวกำหนดการดำเนินงานระยะยาวขององค์กร ประกอบด้วย การตรวจสอบสภาพแวดล้อม (environment scanning) ทั้งภายในและภายนอก การจัดทำกลยุทธ์ (Strategic formulation) ซึ่งแผนกลยุทธ์หรือแผนระยะยาว การปฏิบัติตามกลยุทธ์ (Strategy implementation) และการประเมินผลและการควบคุม (evaluation and control) การจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นการบริหารงานที่เกี่ยวข้องกับการวางแผน (planning) การจัดองค์การ (organizing) การอำนวยการ (directing) และการควบคุม (controlling) อันเกี่ยวกับการตัดสินใจและการปฏิบัติการทางด้านกลยุทธ์ของบริษัทหรืออีกนัยหนึ่ง การบริหารเชิงกลยุทธ์ (Strategic management) : เป็นขั้นตอนการบริหารและตัดสินใจเพื่อพัฒนาให้บรรลุภารกิจ (Mission) ขององค์กร  โดยสร้างความสามารถขององค์กรให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมทั้งภายนอกและภายใน
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ (Strategic Objectives) และยุทธศาสตร์ (Straegies)
                หมายถึง สิ่งที่องค์กรต้องการจะบรรลุ เช่นเดียวกับ ภารกิจ และวิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์มักกำหนดเป็นเชิงปริมาณ เพื่อให้การติดตามและการประเมินไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตัววัดที่กำหนดขึ้นเมื่อตั้งวัตถุประสงค์จึงเรียกว่า ดัชนีชี้วัด (Indicators) ซึ่งอาจมีได้หลายตัวและเมื่อเลือกตัวที่ “สำคัญ” ขึ้นมาพิจารณาก็จะกลายเป็น Key Performance Indicators หรือ KPIs
                ยุทธศาสตร์ (Strategies) คือการมุ่งเน้น หรือผลักดัน เพือให้องค์กรหรือกิจการได้บรรลุวัตถุประสงค์ วิธีการมุ่งเน้นหรือผลักดันทำได้โดยการจัดสรรทรัพยากร โดยมุ่งหวังให้งานที่มุ่งเน้นนั้น นำพาองค์กรหรือกิจการไปสู่ความสำเร็จ เช่น
  1. การมุ่งเน้นให้มีส่วนแบ่งตลาด (Market share) มากกว่าการคำนึงกำไร (Profit) ในระยะแรก
  2. เพิ่มกำลังการผลิต โดยพิจารณาเเครื่องจักรอัตโนมัติ หรือกึ่งอัตโนมัติ
  3. ให้ความสำคัญกับการพัฒนาธุรกิจ (Business Development) ทั้งในแง่ Product และ Market อย่างต่อเนื่อง

     เนื่องจากสภาวะการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้น รวมทั้งลักษณะขององค์กรที่จะต้องเปลี่ยนแปลงไปอนาคต และเงื่อนไขการแข่งขันใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น ทำให้ปัจจัยหรือสาเหตุของความสำเร็จขององค์กรธุรกิจที่เคยมีมาในอดีตจะเริ่มเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นผู้บริหารขององค์กรจำเป็นที่จะต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาตนเองตลอดเวลา การจัดการเชิงกลยุทธ์มีความสำคัญดังนี้
    1. การจัดการเชิงกลยุทธ์ เป็นการกำหนดวิสัยทัศน์ ทิศทาง ภารกิจ และวัตถุประสงค์ขององค์กรธุรกิจอย่างเป็น เพื่อให้องค์กรมีทิศทางและเป้าหมายที่ชัดเจน
    2. การจัดการเชิงกลยุทธ์ จะเป็นตัวกำหนดแนวทางในการดำเนินงานและกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร
    3. การจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นการนำวิธีการหรือแนวทางในการดำเนินงานที่ได้มาคิดค้นประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
    4. การจัดการเชิงกลยุทธ์ทำให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน
    5. การจัดการเชิงกลยุทธ์ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ขององค์กร

    หรืออีกนัยหนึ่งอาจสรุปได้ง่ายๆ ว่า การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์มีประโยชน์ (Benefits of stratefic management)  ดังนี้
    • เพื่อความอยู่รอดขององค์การ
    • เพื่อความได้เปรียบในการแข่งขันในระยะยาวขององค์การ
    • เพื่อสามารถเผชิญกับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้
    • เพื่อการมองเห็นอนาคตที่ชัดเจนขององค์การ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ฺBreakingnews