MBA Gossip

  • ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ - ปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวแบ่งออกเป็น 1ปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้ เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได ้เป็นสิ่งที่เกิดมาเมื่อคุณลืมตามองโลก ปัจจัยเสี่ยงดั...
    8 ปีที่ผ่านมา
  • ขนมฝอยทอง - ไข่เป็ด 5 ฟอง ไข่ไก่ 5 ฟอง น้ำตาลทราย 2 1/2 ถ้วยตวง น้ำลอยดอกมะลิ 1 1/2 ถ้วยตวง ไข่น้ำค้าง 2 ช้อนโต๊ะ น้ำมันพืช 1 ช้อนชา กรวยทองเหลืองหรือกรวยใบตอง ...
    8 ปีที่ผ่านมา
  • เพื่อนแพง - พุทธศักราช 2476 นาข้าวชูรวงทองเหลืองอร่ามเต็มท้องทุ่งบ้านสร้าง อำเภอหนึ่งในจังหวัดปราจีนบุรี เสียงควบขี่ไอ้เปลี่ยว ควายคู่ใจของ ไอ้ลอ (ศุกลวัฒน์ คณารศ)...
    10 ปีที่ผ่านมา
Custom Search
วันเสาร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559

Credit balance

ระบบบัญชีลูกค้าเงินกู้เพื่อหลักทรัพย์ (margin account) ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยให้นำมาใช้แทนระบบ margin account ที่ใช้กันมาแต่เดิม ตามระบบ credit balance ผู้ลงทุนที่ต้องการกู้เงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์จะต้องนำเงินสดจำนวนหนึ่งมาวางไว้กับบริษัทนายหน้าของตน เช่น 1,000,000 บาท จากนั้นบริษัทนายหน้าก็จะกำหนดวงเงินให้ซื้อหลักทรัพย์ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับระดับ initial margin rate ที่กำหนดไว้ หาก initial margin เท่ากับ 50% วงเงินให้ซื้อหลักทรัพย์จะเท่ากับ 1,000,000 / 50% = 2,000,000 บาท ซึ่งความหมายว่า 1,000,000 บาทแรกซื้อด้วยเงินสดของผู้ลงทุนส่วนที่เกินจากนั้นอีก 1,000,000 บาทเป็นเงินที่บริษัทสมาชิกให้กู้หากผู้ลงทุนซื้อหุ้นน้อยกว่า 1,000,000 บาทที่วางไว้ เช่นซื้อหุ้นเพียง 400,000 บาท เงินสดส่วนที่เหลืออีก 600,000 บาท จะได้รับดอกเบี้ยทำนองเดียวกับการฝากเงิน หากซื้อหุ้น 1,700,000 บาท ส่วน 700,000 บาทที่เกินจากเงินสดของตน ผู้ลงทุนต้องเสียดอกเบี้ยเงินเงินกู้ให้แก่บริษัทสมาชิกผู้ให้กู้นอกจากนี้หลักทรัพย์ที่ผู้ลงทุนซื้อไว้ในบัญชี credit balance จะต้องมีการ mark to market (ปรับมูลค่าตามราคาตลาด) ทุกวัน เพื่อให้สะท้อนถึงมูลค่าที่เป็นจริงตามราคาตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป หากราคาของหลักทรัพย์ที่ซื้อไว้ปรับตัวสูงขึ้นจะมีผลให้กำลังซื้อของผู้ลงทุนรายนี้เพิ่มสูงขึ้นเท่ากับมูลค่าที่สูงขึ้นของหลักทรัพย์ แต่ถ้าหลักทรัพย์ที่ซื้อไว้นั้นมีราคาลดลง กำลังซื้อของผู้ลงทุนนั้นก็จะลดลงตามมูลค่าหลักทรัพย์ที่ลดลง
วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การจัดการด้านการดำเนินงานกับหน่วยงานและองค์การ

การจัดการด้านการดำเนินงานกับหน่วยงานและองค์การมีดังนี้
1. การจัดการด้านการดำเนินงาน เป็นหน้าที่ทางธุรกิจ การผลิตและการบริการเป็นหน่วยงานหนึ่ง
ภายในองค์การเช่นเดียวกับหน้าที่อื่น โดยการดำเนินงานด้านการปฏิบัติการจะรับผิดชอบต่อการ
เปลี่ยนแปลงปัจจัยการผลิตหรือการดำเนินงานให้เป็นสินค้าหรือบริการสำหรับลูกค้า หน้าที่นี้เป็นหน้าที่
พื้นฐานที่ทุกคนเข้าใจ
2. การจัดการด้านการดำเนินงานเกี่ยวข้องกับหน้าที่อื่น หลักการของการจัดการด้านการดำเนินงานจะ
แทรกอยู่ในทุกหน่วยงานที่มีการปฏิบัติ เช่น การเลือกที่ตั้งร้นค้า หรือการออกแบบและการจัดร้านค้า เป็น
ต้น แต่ปัญหาที่เกิดในการทำงานปัจจุบันคือ แต่ละหน่วยงานต่างถูกขีดขั้นหรือจำกัดการประสานงานด้ว ย
เขตแดนสมมติที่ทำให้การติดต่
อสื่อสาร การสร้างความเข้าใจ และประสิทธิภาพในการดำเนินงานลดลง
การพัฒนาความสัมพันธ์และการประสานงานภายในองค์การช่วยให้องค์การมีประสิทธิภาพในการ
ดำเนินงาน
3. การจัดการด้านการดำเนินงานเป็นอาวุธในการแข่งขัน การดำเนินงานที่มีระบบที่ดี ใช้ต้นทุนต่ำ
และคุณภาพสูงช่วยให้องค์การมีความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง ขณะทีการดำเนินงานที่ใช้ต้นทุนสูง มี
ข้อบกพร่องมาก หรือปฏิบัติงานไม่เป็นระบบ ย่อมส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันขององค์การ ดังนั้น
ผู้บริหารจะต้องพยายามหาแนวทางพัฒนาศักยภาพของธุรกิจผ่านระบบการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ

การบริหารการผลิต

การบริหารการผลิต หมายถึง การวางแผนและการตัดสินใจเพื่อการผลิตสินค้า
 การผลิตเป็นการสร้างสรรค์สินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความต้องการมนุษย์ ผู้ซึ่งมีความต้องการอย่างไม่สิ้นสุด แต่เนื่องจากการมีทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดนั้น จึงได้เข้ามาเป็นตัวกำหนดบทบาทในกระบวนการผลิตเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงทำให้เกิดการบริหารการผลิต เพื่อช่วยให้ผลผลิตที่ออกมามีคุณภาพ และตรงตามความต้องการของมนุษย์ อีกประการหนึ่งยังเป็นการช่วยให้เรานำเอาทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดนั้น มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอีกด้วย โดยการผลิตมีการแปรรูปปัจจัยนำเข้าต่างๆ ผ่านกระบวนการที่ทำให้ผลผลิตที่ได้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นมากกว่าปัจจัยนำเข้า ดังนั้นการผลิตจึงเป็นหนึ่งในหน้าที่หลักของการบริหารธุรกิจที่มีผลโดยตรงต่อความอยู่รอด
ขององค์การ และต้องสัมพันธ์เกี่ยวกับหน้าที่อื่น อาทิเช่น ความสัมพันธ์ในหน้าที่ของฝ่ายการตลาด ฝ่ายการเงิน และฝ่ายการผลิต ภายในองค์กรธุรกิจใดๆ ซึ่งเริ่มจากฝ่ายการตลาดมีหน้าที่ค้นหา และเสนอสิ่งที่ลูกค้าต้องการ และฝ่ายการเงินจัดสรรเงินทุนทรัพยากรมาให้ฝ่ายการผลิตใช้สร้างสิ่งที่ลูกค้าต้องการให
้เป็นรูปธรรมขึ้นมา

ฺBreakingnews

  • นโยบายการตั้งราคาแบ่งออกเป็น - - นโยบายราคาเพียงราคาเดียว (One Price Policy) เป็นการเสนอขายสินค้า หรือบริการในราคามาตรฐานเดียวกัน ไม่ว่าจะซื้อมากหรือน้อยก็ตาม เช่น ราคาน้ำมัน...
    5 ปีที่ผ่านมา
  • การจัดการเชิงกลยุทธ์ - 1. เป็นการกำหนดกรอบหรือทิศทางการทำงานขององค์กรให้ชัดเจน โดยการเขียนวัตถุประสงค์ของ องค์กรไว้อย่างเป็นระบบ ซึ่งจะทำให้เลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู...
    5 ปีที่ผ่านมา
  • BCG Matrix - BCG Matrix ผลิตภัณฑ์ที่มีปัญหา (Question Mark) เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการเจริญเติบโตของยอดขายสูง แต่ส่วนครองตลาดเปรียบเทียบต่ำ โดยส่วนใหญ่มักจะเป็นผลิตภัณ...
    8 ปีที่ผ่านมา
  • แนวข้อสอบเทคโนโลยีชีวภาพ - แนวข้อสอบเทคโนโลยีชีวภาพ * 1. ข้อใดหมายถึงลักษณะทางพันธุกรรม ก. ลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่ควบคุมโดยยีน ข. ลักษณะซึ่งถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปยังรุ่นต่อไป ค...
    8 ปีที่ผ่านมา