MBA Gossip

  • ข้าวผัดหมู - *เครื่องปรุง* 1. ข้าวสวย ¾ ถ้วยตวง 2. หมูสับ 50 กรัม 3. หมูแฮมหั่นเป็นเส้นฝอย 3 แผ่น 4. หมูยอหั่นเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า 1 ช้อนโต๊ะ 5. กระเทีย...
    7 ปีที่ผ่านมา
  • ปวดหลัง - * อาการปวดหลังร่วมกับแขนขาชาไม่มีแรง* กลั้นปัสสาวะและอุจจาระไม่ได้ ซึ่งลักษณะอาการดังกล่าวเป็นไปได้ว่าไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ ทางที่ดีควรรีบปรึก...
    7 ปีที่ผ่านมา
  • เพื่อนแพง - พุทธศักราช 2476 นาข้าวชูรวงทองเหลืองอร่ามเต็มท้องทุ่งบ้านสร้าง อำเภอหนึ่งในจังหวัดปราจีนบุรี เสียงควบขี่ไอ้เปลี่ยว ควายคู่ใจของ ไอ้ลอ (ศุกลวัฒน์ คณารศ)...
    8 ปีที่ผ่านมา
Custom Search
วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การจัดการทางการเงิน

การจัดการทางการเงินก็คืออิสรภาพทางการเงิน ซึ่งถ้าเป็นบุคคลก็จะหมายถึงการมีทรัพย์สิน ไม่มีหนี้สิน มีเงินลงทุนที่ให้ดอกให้ผลไว้ใช้ยามที่เราไม่ได้ทำงานหรือเกษียณแล้ว
สำหรับธุรกิจ อิสรภาพทางการเงินหมายถึงการมีกระแสเงินสดพอเพียงให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างไม่ติดขัด และเป้าหมายสูงสุดคือการไม่มีหนี้สิน กิจการเจริญเติบโต สร้างรายได้อย่างสม่ำเสมอ สามารถจ่ายเงินปันผลคืนให้กับผู้ถือหุ้นในอัตราที่ดี
ในการจัดการการเงินของธุรกิจ มีงานหลักๆ อยู่ 3 อย่างคือ การจัดหาเงินลงทุนของธุรกิจ การวางแผนและวิเคราะห์การลงทุนของกิจการ และการจัดการสภาพคล่อง ซึ่งในการจัดการจะมีงานอื่นๆ อยู่ด้วย เช่น การวางแผนภาษี การวางนโยบายเทอมการขายที่ให้กับลูกค้า ฯลฯ
การจัดหาเงินลงทุนของธุรกิจหาได้จากแหล่งใหญ่ 2 แหล่งคือ เงินทุน (Owner's Equity) และเงินกู้ยืม (Debt) จะใช้แหล่งไหนก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและอัตราเงินปันผลตอบแทน หรืออัตราดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายให้กับเจ้าของเงิน
โดยทั่วไปกิจการจะใช้เงินกู้ยืมให้มากเท่าที่จะสามารถใช้ได้ เพราะต้นทุนถูกกว่า และดอกเบี้ยจ่ายถือเป็นค่าใช้จ่ายที่นำไปลดภาระภาษีได้ ในขณะที่การออกหุ้นเพื่อระดมทุนต้องสูญเสียการควบคุมบริษัทไปบางส่วน และเงินปันผลที่จ่ายให้กับผู้ถือหุ้น บริษัทไม่สามารถนำไปหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณเงินได้เพื่อเสียภาษีได้
อย่างไรก็ดี การกู้ยืมเงินส่วนใหญ่จะมีระยะเวลาที่สั้นกว่าการใช้เงินส่วนทุน และส่วนใหญ่ต้องใช้หลักประกัน ดังนั้นจึงต้องพิจารณาด้วยว่าแหล่งเงินทุนนั้นมีระยะเวลาเหมาะสมหรือไม่ ถ้าจะนำไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนก็สามารถใช้แหล่งเงินทุนระยะสั้นได้ แต่ถ้าจะใช้ในการลงทุนซื้อทรัพย์สิน เช่น ที่ดิน หรือสร้างโรงงาน ควรใช้แหล่งเงินทุนระยะยาว เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการขาดสภาพคล่องในภายหลัง กรณีถูกดึงเงินคืน กิจการที่เริ่มต้นใหม่ๆ การคืนทุนอาจจะใช้เวลานาน และอาจจะไม่มีทรัพย์สินไปใช้เป็นหลักประกัน จึงอาจจะยังไม่สามารถกู้ยืมเงินได้ ต้องใช้เงินส่วนทุนไปก่อน จนกว่าจะแข็งแกร่งขึ้น
แหล่งเงินทุนยังแบ่งได้เป็นแหล่งเงินทุนภายนอกและทุนภายใน ทุนภายนอกคือ การกู้ยืมหรือการออกหุ้นขาย ตามที่ได้กล่าวไปแล้ว ส่วนทุนภายใน จะเป็นแหล่งที่ไม่มีต้นทุนทางการเงิน แต่อาจจะมีต้นทุนแฝงทางด้านอื่น
กล่าวโดยกว้างๆ แหล่งเงินทุนภายในจะมาจากกำไร และประสิทธิภาพของการจัดการ โดยกำไรที่ได้จากการดำเนินงาน ถ้าไม่จ่ายเป็นเงินปันผลออกไป ก็นำไปใช้ในการขยายธุรกิจได้ รวมถึงการลดความต้องการเงินทุนหมุนเวียนลง เช่น ลดปริมาณสินค้าคงคลัง หรือที่เรียกกันว่าสต็อกสินค้า ลดระยะเวลาการผลิต ให้ผลิตเสร็จเร็วขึ้น เช่นที่ญี่ปุ่นทำการผลิตแบบ Just In Time คือไม่เก็บสต็อกเลย ผลิตเสร็จก็ส่งไปให้ลูกค้า หรือการเก็บหนี้ให้เร็วขึ้น (โดยไม่ให้เสียลูกค้า) หรือการขยายเวลาจ่ายชำระค่าสินค้าหรือวัตถุดิบให้กับเจ้าหนี้การค้า (โดยไม่ให้เสียเครดิต) เป็นต้น
หน้าที่หลักอย่างที่สองคือการวางแผนและวิเคราะห์การลงทุน ธุรกิจจะมีการเติบโตต้องมีการขยายการลงทุนเพื่อเป็นการขยายรายได้ ในการวิเคราะห์ว่าจะลงทุนในโครงการไหน ต้องพิจารณาเปรียบเทียบผลตอบแทนกับต้นทุนที่ลงไป โดยสามารถใช้วิธีคิดลดกระแสเงินสด (discounted cash flow) เปรียบเทียบกับเงินลงทุนที่ต้องใช้ในปัจจุบันได้ โดยคำนวณเป็นกระแสเงินสดสุทธิในปัจจุบันหรือ net present value ถ้ากระแสเงินสดสุทธิเป็นลบ ก็เลิกคิดที่จะลงทุนไปได้เลย ถ้าเป็นบวกและมีหลายโครงการให้เลือก ก็ต้องเลือกที่เป็นบวกมากที่สุด

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ฺBreakingnews