กลยุทธ์ระดับบริษัท (corporate
level strategy) เป็นกลยุทธ์ที่องค์การต้องมีการกำหนดทิศทางการดำเนินงานของทั้งองค์การว่าจะมีการมุ่งเน้นให้เกิดการเติบโตโดยธุรกิจเพื่อสร้างความมั่นคงกับธุรกิจก่อนที่จะมีการเติบโตต่อไปในอนาคต การมุ่งเน้นการดำเนินงาน 3 แนวทาง อันเป็นกลยุทธ์แม่บท ได้แก่ กลยุทธ์การเจริญเติบโต
เป็นการขยายกิจกรรมการดำเนินงานของบริษัทเพิ่มขึ้น กลยุทธ์การคงที่
เป็นการรักษากิจกรรมการดำเนินงานของบริษัทตามเดิมต่อไปไม่เปลี่ยนแปลง และกลยุทธ์การหดตัว
เป็นการลดระดับหรือขนาดของกิจกรรมการดำเนินงานของบริษัทลง กลยุทธ์ทั้ง 3 ยังประกอบด้วยแนวทางการดำเนินงานหลายทาง
อาจกล่าวได้ว่า กลยุทธ์แม่บท
เป็นกลยุทธ์ระดับบริษัทที่มีหลักการจัดการกลยุทธ์ คือ
การระบุถึงกิจกรรมสร้างคุณค่าให้แก่ธุรกิจ และค้นหาวิถีทางเหมาะสม ในการขยายตัวหรือลดขนาด ปัจจุบันต่างรวมตัวกัน
(merger) การซื้อกิจการ (acquisition)
ฯลฯ
วิธีการดังกล่าวเสมือนเป็นกลยุทธ์ที่มีเป้าหมาย คือ
ทำให้สามารถในการทำกำไรในระยะยาวของบริษัทเป็นไปโดยสูงสุดโดยกลยุทธ์ระดับบริษัทที่มีการใช้กันอย่างกว้างขวางในธุรกิจปัจจุบันนั้นประกอบไปด้วยทางเลือกในการกำหนดทิศทางของธุรกิจสองด้าน
คือ การมุ่งเน้นที่ธุรกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง และการกระจายการลงทุนไปยังธุรกิจต่าง
ๆ
การวิเคราะห์เครือข่ายธุรกิจเพื่อการลงทุน
เป็นการวิเคราะห์ประเมินเปรียบเทียบตำแหน่งของบริษัทในอุตสาหกรรมเพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินงานของบริษัทหรือกลยุทธ์ระดับบริษัท เพื่อให้ทราบว่าตำแหน่ง SBU ของบริษัทในปัจจุบันเป็นอย่างไร และจะได้กำหนดบทบาทของแต่ละ SBU ของบริษัทได้อย่างเหมาะสม
ตลอดจนให้บริษัทได้จัดสรรงบประมาณและทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพอีกด้วย
โดยที่เครื่องมือที่นำมาใช้ ได้แก่
ตัวแบบของกลุ่มที่ปรึกษาแห่งเมืองบอสตันที่เป็นการวิเคราะห์โดยใช้ปัจจัยอัตราการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมและส่วนครองตลาดสัมพันธ์มาจัดแสดงในรูปของแมททริกซ์
เรียกว่า “growth –
share matrix” หรือ “BCG’s matrix”
มาใช้ในการวิเคราะห์
ตัวแบบของบริษัทเจอเนอรัลอิเล็กตริก
เป็นการวิเคราะห์โดยหลักของ
SWOT analysis เพื่อประเมินจุดแข็ง จุดอ่อน
โอกาส และอุปสรรค ของแต่ละ
SBU ของบริษัท
โดยใช้ปัจจัยโอกาสและอุปสรรค
ได้แก่ ขนาดของตลาด อัตราการเจริญเติบโตของตลาด ความรุนแรงของการแข่งขัน และข้อจำกัดทางด้านกฎหมาย กับปัจจัยจุดแข็งจุดอ่อน ได้แก่
ความรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรม
ส่วนครองตลาด
ความสามารถในการแข่งขันด้านราคา และการบริหารการตลาด
เป็นต้น
ตัวแบบวงจรชีวิตตลาดและความแข็งแกร่งทางแข่งขันเป็นการวิเคราะห์โดยใช้ปัจจัย คือ
ความแข็งแกร่งทางการแข่งขันและขั้นตอนของวงจรชีวิตตลาดที่มีปัจจัยหลายปัจจัยเป็นเกณฑ์การประเมิน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น