MBA Gossip

  • ข้าวผัดหมู - *เครื่องปรุง* 1. ข้าวสวย ¾ ถ้วยตวง 2. หมูสับ 50 กรัม 3. หมูแฮมหั่นเป็นเส้นฝอย 3 แผ่น 4. หมูยอหั่นเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า 1 ช้อนโต๊ะ 5. กระเทีย...
    7 ปีที่ผ่านมา
  • ปวดหลัง - * อาการปวดหลังร่วมกับแขนขาชาไม่มีแรง* กลั้นปัสสาวะและอุจจาระไม่ได้ ซึ่งลักษณะอาการดังกล่าวเป็นไปได้ว่าไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ ทางที่ดีควรรีบปรึก...
    7 ปีที่ผ่านมา
  • เพื่อนแพง - พุทธศักราช 2476 นาข้าวชูรวงทองเหลืองอร่ามเต็มท้องทุ่งบ้านสร้าง อำเภอหนึ่งในจังหวัดปราจีนบุรี เสียงควบขี่ไอ้เปลี่ยว ควายคู่ใจของ ไอ้ลอ (ศุกลวัฒน์ คณารศ)...
    8 ปีที่ผ่านมา
Custom Search
วันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ระยะเวลาที่ใช้ในการผลิต


ในทางเศรษฐศาสตร์แบ่งระยะเวลาที่ใช้ในการผลิตออกเป็น 2 ระยะ คือ 

1. ระยะสั้น (short run) หมายถึงระยะเวลาซึ่งผู้ผลิตไม่สามารถจะเพิ่มหรือลดปัจจัยการผลิต
คงที่ได้ จะเปลี่ยนแปลงได้เฉพาะปัจจัยผันแปรเท่านั้น ผู้ผลิตจะต้องป้อนปัจจัยผันแปรให้พอเหมาะเต็มกำลังของปัจจัยคงที่ที่มีอยู่เพื่อให้ต้น
ทุนการผลิตต่ำที่สุด เพื่อผู้ผลิตจะได้รับกำไรสูงสุด 

2. ระยะยาว (long run) หมายถึงระยะเวลาที่ปัจจัยการผลิตทุกประเภทสามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ ปัจจัยการผลิตซึ่งเคยเป็นปัจจัยคงที่ในระยะสั้นสำหรับในระยะยาวแล้วปัจจัยเหล่านี้ จะสามารถแปรเปลี่ยนไปได้ นั่นคือ ในระยะยาวปัจจัยทุกประเภทจะเป็นปัจจัยผันแปรทั้งหมด 
จากที่กล่าวมา เราไม่สามารถจะชี้ชัดลงไปได้ว่าระยะเวลานานเท่าใดจึงจะเป็นการผลิตในระยะสั้น หรือระยะเวลานานเท่าไรจึงจะเป็นการผลิตในระยะยาว ดังนั้นการแบ่งระยะเวลาที่ใช้ในการผลิต ในทางเศรษฐศาสตร์จึงไม่ได้ใช้ระยะเวลาเป็นเกณฑ์ หลักเกณฑ์ที่ใช้ก็คือประเภทของปัจจัยการผลิตที่ใช้ในการผลิต กล่าวคือ ถ้าการผลิตดังกล่าวมีปัจจัยบางประเภทเป็นปัจจัยคงที่ การผลิตนั้นก็จะเป็นการผลิตในระยะสั้น แต่ถ้าปัจจัยการผลิตนั้นเป็นปัจจัยผันแปรทั้งหมด การผลิตนั้นก็จะเป็นการผลิต ในระยะยาว เนื่องจากในระยะสั้นมีทั้งปัจจัยคงที่และปัจจัยผันแปร ดังนั้นต้นทุนการผลิตก็จะมีทั้งต้นทุน คงที่และต้นทุนผันแปร ส่วนในระยะยาวก็จะมีแต่ต้นทุนผันแปร เนื่องจากมีแต่ปัจจัยผันแปรเท่านั้น

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ฺBreakingnews